ภาวะตลาดหุ้นต่างประเทศ

22 - 26 กุมภาพันธ์ 2559

ในช่วงสองเดือนแรกของปี 2559 ตลาดหุ้นหลักๆในต่างประเทศปรับตัวลดลง โดยเฉพาะตลาดหุ้นจีนซึ่งปรับตัวลงกว่า 20% ทั้งตลาด Shanghai และตลาด Shenzhen

ตัวเลขของประเทศหลักๆที่ออกมาตั้งแต่ต้นปี ยังมีความน่ากังวลและส่งสัญญาณถึงการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะตัวเลขคาดการณ์การเติบโต ตัวเลขส่งออก และดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ หรือ PMI

จีนประกาศการเติบโต 6.8% y/y ในไตรมาสที่ 4/2558 และเติบโต 6.9% สำหรับทั้งปี ต่ำกว่าคาดการณ์ของภาครัฐที่ 7% และอัตราการเติบโต 7.3% ในปี 2557 (นับว่าเป็นการเติบโตในอัตราที่ต่ำที่สุดของจีนในรอบ 25 ปี) สำหรับปี 2559 คณะกรรมการการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติจีน คาดการเติบโตของเศรษฐกิจที่อัตรา 6.5%-7% PMI การผลิตอย่างเป็นทางการของจีน (Official manufacturing PMI) ที่ประกาศออกมาในเดือนมกราคม อยู่ในระดับที่ต่ำที่สุดในรอบ 3 ปีครึ่ง ที่ระดับ 49.4 และส่งออกลดลง 11.2% ในเดือนเดียวกัน

ญี่ปุ่นเห็นการหดตัวของเศรษฐกิจในไตรมาสสุดท้ายของปีที่แล้วในอัตรา 1.4% ต่อปี และตัวเลขส่งออกเดือนมกราคมติดลบ 12.9% ลดลงในอัตราที่มากที่สุดตั้งแต่ปี 2552 การส่งออกของญี่ปุ่นนั้นได้ปรับตัวลดลงมา 4 เดือนติดต่อกันจากราคาน้ำมันและราคาเหล็กที่ปรับตัวลง การส่งออกไปยังประเทศอื่นในเอเชียของญี่ปุ่น ซึ่งเท่ากับกว่าครึ่งของการส่ง ลดลง 17.8% ในเดือนมกราคม

ในด้านของ Eurozone ตัวเลข PMI ลดลงจาก 54.3 ในเดือนธันวาคม 2558 เหลือ 53.6 ในเดือนมกราคม เยอรมันปรับลดคาดการณ์เติบโตเศรษฐกิจเหลือ 1.7% จาก 1.8% เนื่องจากความกังวลต่อการเติบโตของประเทศในกลุ่ม Emerging Market ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกของประเทศ นอกจากนี้ มีความกังวลถึงโอกาสการผิดนัดชำระหนี้ของธนาคาร Deutsche Bank ทั้งนี้ มีข่าวดีอยู่บ้าง จากการที่ S&P ปรับ credit rating ของ Greece ขึ้นเป็น B- จาก CCC+ จากความสำเร็จในการเพิ่มทุนและปรับโครงสร้างของภาคธนาคาร

สหรัฐประกาศ GDP เติบโต 0.7% ในไตรมาส 4 เทียบกับ 2% ใน 3Q/2558 จากความผันผวนของตลาดการเงินโลก ราคาโภคภัณฑ์ที่ตำต่ำ และความไม่แน่นอนที่มีแนวโน้มสูงขึ้น นาง Janet Yellen ประธาน Fed จึงกล่าวว่าอาจมีความล่าช้าในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย แม้ว่าตลาดแรงงานของสหรัฐจะยังคงแข็งแกร่ง โดยธนาคารกลางสหรัฐยังคงมีความตั้งใจที่จะปรับดอกเบี้ยขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป

ด้วยแนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก จึงมีการใช้มาตรกระตุ้นเศรษฐกิจเช่น ดอกเบี้ยติดลบโดยธนาคารกลางญี่ปุ่น มาตรการลดข้อกำหนดในการวางเงินดาวน์ของผู้ซื้อบ้านของจีน ในส่วนของทาง ECB ได้ส่งสัญญาณถึงการใช้มาตรการเพิ่มเติมเช่น การลดดอกเบี้ย การอัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจเพิ่มมากขึ้น

การคาดการณ์ทิศทางการเศรษฐกิจโลกและตลาดทุนเป็นสิ่งที่ยาก (แม้สำหรับนักเศรษฐศาสตร์เอง) ด้วยตัวแปลที่มีอยู่มากมาย การที่เศรษฐกิจและตลาดทุนอาจะไม่เคลื่อนไหวในทิศทางทางเดียวกัน (จากปัจจัยเรื่องความคาดหวัง และระดับราคาของตลาด) ดังนั้น เราจึงแนะนำให้นักลงทุนให้ความสำคัญกับการลงทุนระยะยาว การกระจายความเสี่ยงที่เพียงพอ การลงทุนอย่างสม่ำเสมอ (dollar cost averaging) และผลประกอบการของกิจการที่ลงทุน ท่ามกลางสภาวะการลงทุนที่มีความผันผวนและไม่แน่นอน

STOCK MARKETS
YEAR TO DATE RETURN 2016
DOW JONES -4.68%
S&P500 -5.09%
NASDAQ -8.76%
S&P -0.71%
MEX IPC (MEXICO) 1.82%
IBOVESPA (BRAZIL) -1.28%
EMEA
YEAR TO DATE RETURN 2016
Euro Stoxx -9.56%
FTSA 100 (UK) -1.63%
CAC 40 (FRANCE) -5.98%
DAX (GERMANNY) -11.61%
IBEX 35 (SPAIN) -10.75%
FTSE MIB (ITALY) -17.72%
AEX (NETHERLAND) -2.90%
OMX STKH30 (SWEDEN) -5.07%
SWISS MKT -10.41%
ASIA/PACIFIC
YEAR TO DATE RETURN 2016
TOPIX -16.09%
NIKKEI 225 -15.70%
JPX Nikkei 400 -15.71%
HANG SENG -12.75%
CSI 300 -22.85%
Shanghai Comp -24.04%
Shenzhen Comp -28.83%
Taiwan TAIEX 0.88%
KOSPI (KOREA) -2.28%
S&P / ASX 200 (AUTRALIA) -6.90%
FTSE Straits Times (SINGAPORE) -7.37%
FTSE Malay KLCI -1.88%
SET THAI 3.80%
Jakarta Comp (INDONESIA) 3.89%

Source: Bloomberg as of Feb 29, 2016 (Including dividends)