นโยบายธรรมาภิบาลการลงทุน (Investment Code: I Code)
บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ทาลิส จำกัด (บลจ.ทาลิส) ให้ความสำคัญกับการทำหน้าที่จัดการลงทุนโดยตั้งอยู่บนหลักแห่งความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์ สุจริต โปร่งใส และสามารถสร้างการเจริญเติบโตที่ยั่งยืน เพื่อผลประโยชน์สูงสุดของผู้ลงทุน โดยบริษัทจัดให้มีนโยบายธรรมาภิบาลการลงทุนฉบับนี้ ซึ่งได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัท เพื่อให้ผู้บริหารและพนักงานสายงานจัดการลงทุน รวมถึงบุคคลที่เกี่ยวข้องปฏิบัติให้เป็นไปตามนโยบาย ดังนี้
บริษัทกำหนดให้มีนโยบายธรรมาภิบาลการลงทุนเพื่อให้การบริหารจัดการลงทุนเป็นไปตามกฎหมาย ข้อตกลงกับลูกค้า ด้วยความรับผิดชอบมีจริยธรรมและจรรยาบรรณ เพื่อที่จะสร้างผลตอบแทนที่ดีในระยะยาวให้แก่ลูกค้า สอดคล้องกับนโยบายการลงทุนและความเสี่ยงที่ลูกค้ายอมรับได้ โดยตั้งอยู่บนหลักแห่งความซื่อสัตย์สุจริต ความรอบคอบระมัดระวัง ด้วยทักษะความเชี่ยวชาญอย่างเต็มที่ โดยมีการกำหนดนโยบายและแนวทางปฏิบัติในการคัดเลือกหลักทรัพย์ที่ลงทุน โดยเน้นการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน (Fundamental Analysis) ของหลักทรัพย์ที่ลงทุนอย่างเข้มข้น รวมถึงพิจารณาปัจจัยในการมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม มีบรรษัทภิบาลที่ดี (“ESG”) เช่น การป้องกันการทุจริตคอร์รัปชั่น การจัดการกับการใช้ข้อมูลที่มีนัยสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงของราคาที่ยังไม่เปิดเผยต่อสาธารณชน ของบริษัทที่เลือกลงทุนร่วมด้วย
2.1 โครงสร้างองค์กร
บริษัทมีสายงานที่ดูแลงานด้านจัดการลงทุน ด้านการตลาด ด้านปฏิบัติการสนับสนุน และด้านกำกับดูแลและบริหารความเสี่ยง โดยมีขอบเขตหน้าที่รับผิดชอบของแต่ละสายงาน/ฝ่ายงานอย่างชัดเจน (Job Scope) และแต่ละสายงานจะแยกสายการบังคับบัญชาอย่างเด็ดขาดตามโครงสร้างองค์กร
หน้าที่และความรับผิดชอบตามนโยบายธรรมาภิบาลการลงทุน
2.1.1) ฝ่ายจัดการลงทุน อยู่ภายใต้การดูแลและรับผิดชอบของประธานเจ้าหน้าที่การลงทุน (Chief Investment Officer) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบงานด้านการจัดการลงทุนให้แก่กองทุนรวม กองทุนส่วนบุคคล ตามที่ได้รับอนุญาตประกอบธุรกิจจากสำนักงาน ก.ล.ต. ให้เป็นไปตามนโยบายธรรมาภิบาลการลงทุน และมีหน้าที่รายงานผลการปฏิบัติตามนโยบายให้คณะกรรมการบริษัททราบ
ทั้งนี้ สายงานจัดการลงทุนจะไม่ได้มีหน้าที่หรือส่วนร่วมในการตัดสินใจใดๆ สำหรับการลงทุนเพื่อผลประโยชน์ของบริษัท เพื่อป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้น
2.1.2) การกำหนดนโยบาย ทิศทาง และกลยุทธ์การลงทุนจะขึ้นตรงกับคณะกรรมการการลงทุน (Investment Committee: IC) ซึ่งมีหน้าที่ในการติดตามและประเมินผลการจัดการกองทุนให้เป็นไปตามนโยบายการลงทุนของกองทุน
2.1.3) กำหนดให้ฝ่ายจัดการลงทุนบริหารจัดการลงทุนเพื่อประโยชน์ที่ดีที่สุดของลูกค้า และอยู่เหนือประโยชน์อื่นของผู้ถือหุ้นหรือกลุ่มธุรกิจ โดยนำเอาปัจจัยความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม มีบรรษัทภิบาลที่ดี (ESG) การป้องกันการทุจริตคอร์รัปชั่น การใช้ข้อมูลที่มีนัยสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงของราคาที่ยังไม่เปิดเผยต่อสาธารณะ และการป้องกันพฤติกรรมการลงทุนที่สร้างให้เกิดการกระทำอันไม่เป็นธรรมในการซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัทที่ลงทุนมาประกอบการพิจารณาลงทุน
2.1.4) กำหนดให้ฝ่ายจัดการลงทุนมีกระบวนการในการปฏิบัติหน้าที่อย่างมีความรับผิดชอบ มีการติดตามการลงทุนที่มีประสิทธิภาพ ตลอดจนเข้าไปมีส่วนร่วมดูแลบริษัทที่ลงทุนให้ประกอบธุรกิจโดยมีการกำกับดูแลกิจการที่ดี มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (ESG)
2.1.5) กำหนดให้มีการสื่อสาร และปลูกฝังวัฒนธรรมที่เน้นการสร้างคุณค่าการลงทุนที่ดีที่สุดต่อลูกค้าตลอดช่วงระยะเวลาการลงทุน รวมทั้งเผยแพร่นโยบายธรรมาภิบาลการลงทุนให้ผู้เกี่ยวข้องกับกระบวนการลงทุนรับทราบ
2.1.6) กำหนดให้ฝ่ายกำกับดูแลการปฏิบัติงานและบริหารความเสี่ยง มีหน้าที่ในการกำกับดูแลและตรวจสอบการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงาน ก.ล.ต. กำหนด และรายงานตรงต่อคณะกรรมการตรวจสอบ (Audit Committee)
2.2 การจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์
2.2.1)บริษัทมีการกำหนดนโยบายต่างๆ เกี่ยวกับการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ และกำหนดระบบงานและมาตรการ ตลอดจนวิธีปฏิบัติเพื่อป้องกันและจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่เพียงพอ ซึ่งได้แก่
- มีการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการลงทุนเพื่อทรัพย์สินของบริษัทจัดการ (Proprietary Trading) โดยผู้ที่ทำหน้าที่และตัดสินการลงทุนในทรัพย์สินของบริษัทจัดการดังกล่าวเป็นฝ่ายการเงินและบัญชีของบริษัท ซึ่งไม่ได้มีการเข้าถึงหรือล่วงรู้ข้อมูลภายในของกองทุนหรือข้อมูลของสายงานจัดการลงทุน
- มีการกำหนดระเบียบบริษัทเกี่ยวกับการลงทุนในหลักทรัพย์ของพนักงาน (Staff Dealing Rules) หากมีการลงทุนในหลักทรัพย์ของพนักงานจะต้องส่งคำสั่งผ่านฝ่ายซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัท โดยให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัททำรายการของกองทุนให้ครบก่อน จึงจะทำรายการ
- บริษัทมีหลักเกณฑ์การยืมตัวพนักงาน ซึ่งเป็นไปตามคู่มือการปฏิบัติงาน (Compliance Manual) ทั้งนี้ บริษัทไม่อนุญาตให้ยืมตัวพนักงานจากฝ่ายอื่นมาปฏิบัติงานในหน่วยงานสายงานจัดการลงทุน และกรณีการขอยืมตัวและการให้ยืมตัวระหว่างหน่วยงานอื่น จะต้องมีทำบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร และต้องได้รับการอนุมัติจากผู้บังคับบัญชาของทั้งสองหน่วยงาน โดยการอนุมัตินั้นได้พิจารณาถึงการป้องกันการกระทำที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์แล้ว
- ระเบียบเกี่ยวกับ Churning ผู้จัดการกองทุนจะไม่ทำการซื้อขายเกินความจำเป็น โดยจะทำการซื้อขายด้วยความระมัดระวัง เพื่อประโยชน์ของกองทุนเป็นสำคัญ
- กรณีเรื่อง Soft Commission บริษัทอาจรับผลประโยชน์ตอบแทนเนื่องจากการที่กองทุนใช้บริการบุคคลอื่น เพื่อผลประโยชน์โดยตรงต่อกองทุนได้ และมีการเปิดเผยข้อมูลต่อผู้ลงทุนโดยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงาน ก.ล.ต. กำหนด
- หลักปฏิบัติในการทำธุรกรรมกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง การซื้อขายระหว่างกองทุนสามารถกระทำได้ ซึ่งบริษัทฯ กำหนดราคาที่เหมาะสมและให้นำไปใช้อย่างสม่ำเสมอ โดยใช้แนวทางจากประกาศแนวปฏิบัติของสำนักงาน ก.ล.ต.
2.2.2) บริษัทได้แบ่งแยกพื้นที่ของสายงานจัดการลงทุน โดยมีประตูแยกอีกชั้นหนึ่ง เฉพาะพนักงานในสายงานจัดการลงทุนจึงจะสามารถสแกนนิ้วมือเพื่อเข้าพื้นที่ห้องของสายงานจัดการลงทุนได้
2.2.3) บริษัทมีการสื่อสารและอบรมให้พนักงานเข้าใจและสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.2.4) บริษัทมีมาตรการในการติดตาม ควบคุม และตรวจสอบการปฏิบัติตามมาตรการและระบบงานที่กำหนดไว้ และมีมาตรการรองรับการชี้เบาะแส และการตรวจสอบลงโทษอย่างเพียงพอ
2.2.5) บริษัทจัดให้มีการสื่อสารให้ผู้ให้บริการที่เกี่ยวข้อง (Service Providers) เปิดเผยความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้นจากการให้บริการนั้น และมีมาตรการจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่เพียงพอ
2.2.6) บริษัทจัดให้มีการทบทวนความเหมาะสมของมาตรการและระบบงานเป็นประจำ
3.1) ฝ่ายจัดการลงทุนมีกระบวนการติดตามการดำเนินงานและวิเคราะห์ข้อมูลของบริษัทที่ลงทุนอย่างสม่ำเสมอ เพื่อพิจารณาทั้งในเรื่องปัจจัยพื้นฐานและมูลค่าที่เหมาะสมของหลักทรัพย์นั้น ๆ เช่น การทำรายงานการวิเคราะห์หลักทรัพย์ ติดตามผลประกอบการของบริษัทที่ลงทุน และต้องมีการทบทวนบทวิเคราะห์หลักทรัพย์ที่ลงทุนทุกครั้งเมื่อรับทราบข้อมูลงบการเงินใหม่หรือเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่มีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ
3.2) ฝ่ายจัดการลงทุนกำหนดปัจจัยในการพิจารณาบริษัทที่ลงทุน โดยพิจารณาความยั่งยืนของบริษัทที่ลงทุนด้วย โดยให้ครอบคลุมปัจจัย ด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดี ความรับผิดชอบต่อสังคม ด้านสิ่งแวดล้อม
3.3) ฝ่ายจัดการลงทุนมีการติดตามบริษัทที่ลงทุนอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถเห็นปัญหาของบริษัทที่ลงทุนตั้งแต่เริ่มต้นและทันเหตุการณ์ เช่น การติดตามข้อมูลข่าวสาร การทำประชุมพบปะกรรมการและฝ่ายจัดการ การใช้สิทธิออกเสียง ในการประชุมผู้ถือหุ้น
3.4) กรณีที่พบว่าบริษัทที่ลงทุนไม่ปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี หรือมีประเด็นเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม หรือมีสัญญาณของปัญหาที่อาจส่งผลต่อมูลค่าการลงทุน ฝ่ายจัดการลงทุนจะรวบรวมข้อมูลและนำเสนอที่ประชุม IC พิจารณาดำเนินการตามความเหมาะสม
4.1) บริษัทจัดให้มีแนวปฏิบัติระบุถึงเหตุการณ์และแนวทางที่จำเป็นในการเข้าไปดำเนินการกับบริษัทที่ลงทุนเพิ่มเติม เมื่อเห็นว่าการติดตามในข้อ 3 ไม่เพียงพอ เพื่อให้บริษัทสามารถมีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาและฟื้นมูลค่าการลงทุนในบริษัทที่ลงทุนนั้นได้ตั้งแต่ในระยะเริ่มต้น
4.2) บริษัทกำหนดให้เหตุการณ์ที่บริษัทควรพิจารณาเข้าไปดำเนินการกับบริษัทที่ลงทุนเพิ่มเติม ดังนี้
- 4.2.1) กลยุทธ์ ผลประกอบการ และการจัดการกับความเสี่ยง
- 4.2.2) ความเชื่อมั่นในการบริหารกิจการตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี
- 4.2.3) ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
4.3) ในการดำเนินการเพิ่มเติม ฝ่ายจัดการลงทุนจะพิจารณาเพิ่มความเข้มข้นของมาตรการที่ใช้ตามความจำเป็น เช่น
- 4.3.1) มีหนังสือถึงคณะกรรมการบริษัท เพื่อแจ้งประเด็นข้อสังเกต
- 4.3.2) เข้าพบประธานกรรมการ หรือกรรมการอื่น รวมทั้งกรรมการอิสระ
- 4.3.3) ออกข่าวให้สาธารณะทราบ ก่อนการประชุมผู้ถือหุ้น
- 4.3.4) แจ้งจุดยืนของบริษัทไปยังบริษัทที่ลงทุน และเข้าร่วมการประชุมผู้ถือหุ้น เพื่อใช้สิทธิออกเสียงดังกล่าว
- 4.3.5) ขอเพิ่มวาระในการประชุมผู้ถือหุ้น ซึ่งอาจรวมถึงการเสนอวาระเปลี่ยนกรรมการ หรือผู้บริหารระดับสูง
4.4) กรณีที่บริษัทได้รับทราบข้อมูลที่อาจมีผลกระทบต่อราคาและไม่เปิดเผยต่อสาธารณะ พนักงานดังกล่าวดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบายและมาตรการรักษาความลับของข้อมูล เพื่อป้องกันการกระทำที่อาจผิดกฎหมาย และเป็นการเอาเปรียบผู้ลงทุนรายอื่นตามที่กฎหมายกำหนด
เพื่อติดตามนโยบายของบริษัทที่สำคัญ ๆ ซึ่งอาจส่งผลถึงผลประโยชน์ของกองทุน บลจ.ทาลิส จึงกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการใช้สิทธิออกเสียงในนามกองทุน ดังนี้
5.1) บริษัทจัดให้มีนโยบายและแนวทางในการใช้สิทธิออกเสียงอย่างชัดเจน โดยแนวทางดังกล่าวได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริษัท
5.2) เปิดเผยแนวทางในการใช้สิทธิออกเสียงและการดำเนินการใช้สิทธิออกเสียงต่อผู้ลงทุนด้วยวิธีการที่เหมาะสมและมีสาระอย่างเพียงพอตามที่สำนักงาน ก.ล.ต. กำหนด
5.3) บริษัทกำหนดให้มีการเปิดเผยเกี่ยวกับการมอบหมายให้บุคคลอื่นดำเนินการใช้สิทธิออกเสียง โดยระบุเกี่ยวกับรูปแบบการใช้บริการ และข้อมูลการปฏิบัติตามในกรณีที่ใช้สิทธิออกเสียงตามคำแนะนำ
เพื่อติดตามนโยบายของบริษัทที่สำคัญ ๆ ซึ่งอาจส่งผลถึงผลประโยชน์ของกองทุน บลจ.ทาลิส จึงกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการใช้สิทธิออกเสียงในนามกองทุน ดังนี้
6.1) บริษัทมีนโยบายการร่วมมือกับผู้ลงทุนอื่น และผู้มีส่วนได้เสีย (collective engagement) ในการดำเนินการกับบริษัทที่มีข้อกังวลและยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาหลังจากเพิ่มระดับในการติดตามได้ โดยจะเปิดเผยนโยบายการร่วมมือกับผู้ลงทุนอื่นและผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อทำให้บริษัทที่ลงทุนเห็นความสำคัญของประเด็นข้อกังวลของบริษัท โดยระบุถึงประเภทของสถานการณ์ที่จะร่วมมือกับผู้ลงทุนอื่นและความพร้อมที่จะทำงานร่วมกับผู้ลงทุนอื่น ทั้งที่เป็นกลุ่มทางการและไม่เป็นทางการ
6.2) บริษัทจะต้องใช้ความระมัดระวังและปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ในกรณีที่เป็นการร่วมมือถึงขั้นตกลงร่วมมือกันบริหารกิจการ
เพื่อติดตามนโยบายของบริษัทที่สำคัญ ๆ ซึ่งอาจส่งผลถึงผลประโยชน์ของกองทุน บลจ.ทาลิส จึงกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการใช้สิทธิออกเสียงในนามกองทุน ดังนี้
7.1) ฝ่ายจัดการลงทุนจัดให้มีระบบในการจัดเก็บข้อมูลในการปฏิบัติตามนโยบายธรรมาภิบาลการลงทุนที่เหมาะสม และมีกลไกที่ดูแลให้มั่นใจได้ว่าข้อมูลที่เปิดเผยต่อลูกค้าถูกต้อง ไม่ทำให้สำคัญผิด และสร้างความน่าเชื่อถือว่าบริษัทได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบเพื่อประโยชน์ที่ดีที่สุดของลูกค้า
7.2) บริษัทจะเปิดเผยนโยบายธรรมาภิบาลการลงทุน และมาตรการตลอดจนรายงานผลการปฏิบัติตามนโยบายให้ลูกค้าทราบ ผ่านช่องทางต่างๆ เช่น รายงานประจำปี หรือ ผ่านช่องทางเว็บไซต์ของบริษัท
7.3) บริษัทกำหนดให้มีการทบทวน ปรับปรุง นโยบายธรรมาภิบาลการลงทุนอย่างสม่ำเสมอทุก 2 ปี หรือให้สอดคล้องกับแนวทางหลักธรรมาภิบาลการลงทุนของสำนักงาน ก.ล.ต. ที่ออกใหม่หรือมีการเปลี่ยนแปลง
ประกาศรับการปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลการลงทุน (I Code)
บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ทาลิส จำกัด ในฐานะผู้บริหารจัดการลงทุน ตระหนักถึงหน้าที่ที่ต้องบริหารจัดการเงินลงทุน เพื่อประโยชน์ที่ดีที่สุดของลูกค้า และด้วยหน้าที่ดังกล่าว บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ทาลิส จำกัด เชื่อว่ากิจการที่ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ทาลิส จำกัด เข้าไปลงทุน มีกลยุทธ์ การกำกับดูแลกิจการที่ดี และมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม จะนำมาซึ่งผลตอบแทนที่ดี และยั่งยืนของลูกค้า
ด้วยการลงนามท้ายหนังสือนี้ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ทาลิส จำกัด ขอประกาศความมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลการลงทุน ที่ออกโดย คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ตามที่สอดคล้องและเหมาะสมกับความรับผิดชอบ (fiduciary duty) และบทบาทหน้าที่ของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ทาลิส จำกัด ดังต่อไปนี้
- จัดให้มีนโยบายธรรมาภิบาลการลงทุนที่ชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษร
- มีการป้องกันและจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์อย่างเพียงพอเพื่อประโยชน์ที่ดีที่สุดของลูกค้า
- มีกระบวนการในการตัดสินใจและติดตามบริษัทที่ลงทุนอย่างใกล้ชิดและทันเหตุการณ์ (Actively) โดยมีประเด็นเรื่องกลยุทธ์ การกำกับดูแลกิจการที่ดี ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ของบริษัทที่ไปลงทุน เป็นส่วนหนึ่งของการตัดสินใจและติดตามด้วย
- มีการเพิ่มระดับการติดตามบริษัทที่ลงทุน กรณีเห็นว่าการติดตามในหลักปฏิบัติข้อ 3 ไม่เพียงพอ
- จัดให้มีการเปิดเผยนโยบายการใช้สิทธิออกเสียงและผลการใช้สิทธิออกเสียงต่อลูกค้า
- ร่วมมือกับผู้ลงทุนอื่นตามความเหมาะสม เพื่อให้การปฏิบัติตาม I Code เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
- เปิดเผยนโยบายธรรมาภิบาลการลงทุน และการปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลการลงทุนในเว็บไซต์ และในรายงานประจำปี (ถ้ามี) ตามแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องต่อไป
นางโชติกา สวนานนท์
ประธานกรรมการ
ประกาศ ณ วันที่ 26 มิถุนายน 2560
รายงานการปฏิบัติตามนโยบายธรรมาภิบาลการลงทุน (I-Code)
บลจ.ทาลิส ได้จัดให้มีนโยบายธรรมาภิบาลการลงทุน (Investment Governance Code : I-Code) โดยได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัท ในปี 2561 เพื่อให้ฝ่ายจัดการลงทุนใช้เป็นแนวทางในการบริหารจัดการลงทุนให้สอดคล้องกับนโยบายการลงทุนและความเสี่ยงที่ลูกค้ายอมรับได้ โดยตั้งอยู่บนหลักแห่งความซื่อสัตย์สุจริต ความรอบคอบระมัดระวัง ด้วยทักษะความเชี่ยวชาญอย่างเต็มที่ มีการกำหนดนโยบายและแนวทางปฏิบัติในการคัดเลือกหลักทรัพย์ที่ลงทุน โดยเน้นการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน (Fundamental Analysis) ของหลักทรัพย์ที่ลงทุนอย่างเข้มข้น รวมถึงพิจารณาปัจจัยในการมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม มีบรรษัทภิบาลที่ดี (ESG) ทั้งนี้ ฝ่ายจัดการลงทุนขอรายงานการปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลการลงทุนในปี 2566 ดังนี้
1. การจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์อย่างเพียงพอเพื่อประโยชน์ที่ดีที่สุดของลูกค้า
บลจ.ทาลิส มีนโยบายและมาตรการป้องกันและจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริษัท และพนักงานได้รับทราบและปฏิบัติเป็นไปตามระเบียบข้อกำหนดต่าง ๆ เพื่อดูแลและรักษาผลประโยชน์ของลูกค้าอย่างเหมาะสม เช่น การควบคุมการซื้อขายบ่อยเกินความจำเป็น (Churning Policy) การป้องกันการใช้ข้อมูลภายใน การให้และรับของขวัญของกำนัล การร้องเรียนเกี่ยวกับการทุจริตและคอร์รัปชั่น การซื้อขายหลักทรัพย์ของพนักงาน เป็นต้น
ในปีที่ผ่านมา บริษัทมีการรับผลประโยชน์ตอบแทนเนื่องจากการประกอบธุรกิจเพื่อกองทุน (Soft Commission) จากคู่ค้าหลักทรัพย์ในรูปของงานวิเคราะห์หลักทรัพย์ การรับเชิญเข้าร่วมงานสัมมนาและการจัด Company Visit การรับโปรแกรมข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับภาวะการลงทุน และการรับหุ้น IPO ที่คู่ค้าหลักทรัพย์มีการจัดสรรให้แก่ลูกค้า ทั้งนี้ การรับ Soft Commission ดังกล่าว เป็นไปเพื่อประโยชน์ของกองทุนภายใต้การจัดการลงทุนของบลจ. และเป็นไปตามนโยบายของบริษัท ทั้งนี้ บลจ. ได้เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการรับ Soft Commission ให้แก่ลูกค้ากองทุนส่วนบุคคลเป็นรายเดือน และเปิดเผยในรายงาน 6 เดือนและรายงานประจำปีของกองทุนรวมบน Website ของบริษัท
ในการทำรายการซื้อขายระหว่างกองทุน และการทำรายการซื้อขายหลักทรัพย์สวนทางกันในวันเดียวกัน บลจ.ทาลิสกำหนดให้คณะกรรมการติดตามดูแลการกระทำที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน (IOE) เข้ามาช่วยตรวจสอบและพิจารณาก่อนการทำรายการทุกครั้ง ยกเว้นรายการที่เกิดจากคำสั่งของลูกค้า เช่น การ Redemption หรือการปิดกองทุน เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ฝ่ายจัดการลงทุนต้องรายงานรายการดังกล่าวให้แก่คณะกรรมการติดตามดูแลฯ รับทราบในภายหลังด้วย
2. การตัดสินใจและติดตามบริษัทที่ลงทุนอย่างใกล้ชิดและทันเหตุการณ์
ฝ่ายจัดการลงทุนมีการติดตามการดำเนินงานและวิเคราะห์ข้อมูลของบริษัทที่ลงทุน/สนใจลงทุนอย่างสม่ำเสมอ ทั้งการเข้าเยี่ยมชมบริษัท (Company Visit) การเข้าร่วมการสัมมนา/ฟังการบรรยายของนักวิเคราะห์หลักทรัพย์จากคู่ค้าหลักทรัพย์เกี่ยวกับภาวะการลงทุน หรือการเข้าร่วมการสัมมนา/ฟังการบรรยายของผู้มีความรู้ (Industry Expert) เกี่ยวกับภาพรวมเศรษฐกิจหรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ นอกเหนือจากได้รับข้อมูลงบการเงินรายไตรมาส รวมถึงข่าวสำคัญที่เกี่ยวกับเรื่องการลงทุนต่าง ๆ ทั้งนี้ ในปี 2566 ฝ่ายจัดการลงทุนเข้าร่วมการประชุม/สัมมนา/ฟังบรรยายได้มากกว่า 300 ครั้ง ทำให้มีข้อมูลที่เพียงพอในการทบทวนหรือวิเคราะห์หลักทรัพย์และการลงทุนได้โดยสม่ำเสมอและทันต่อเหตุการณ์
ในการวิเคราะห์หลักทรัพย์นั้น บลจ.ได้นำข้อควรพิจารณาเกี่ยวกับประเด็นการกำกับดูแลกิจการ ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (ESG) เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการวิเคราะห์ด้วย เพื่อประกอบการพิจารณาว่ากองทุนควรที่จะลงทุนในบริษัทนั้น ๆ หรือไม่ หากผู้จัดการกองทุน/ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุนพบความเสี่ยงเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว ผู้จัดการกองทุน/ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุนก็จะนำประเด็นเหล่านี้ไปสอบถาม/ขอข้อมูลเพิ่มเติมกับผู้บริหารของบริษัทเมื่อมีโอกาสเข้าพบ และอาจจะมีข้อเสนอแนะแก่บริษัทเกี่ยวกับประเด็นความเสี่ยงดังกล่าวด้วย
ทั้งนี้ หากบริษัทใดมีปัญหาเกี่ยวกับประเด็น ESG ที่ชัดเจน ผู้จัดการกองทุนจะพิจารณาหยุดการลงทุนหรือถอนการลงทุนจากบริษัทเหล่านั้น
3. การเพิ่มระดับในการติดตามบริษัทที่ลงทุน เมื่อเห็นว่าการติดตามในข้อที่ 2 ไม่เพียงพอ (Escalating Investee Companies)
นอกจากการหยุดลงทุนและถอนการลงทุนแล้ว บลจ.อาจจะพิจารณาเข้าพบผู้บริหารของบริษัทจดทะเบียนดังกล่าว เพื่อฟังคำชี้แจงและแสดงความห่วงใย ต่อประเด็นปัญหาดังกล่าว
4. เปิดเผยนโยบายการใช้สิทธิออกเสียงและผลการใช้สิทธิออกเสียง
บลจ.มีนโยบายที่ชัดเจนในการเข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้น เพื่อใช้สิทธิออกเสียงตามแนวทางการใช้สิทธิออกเสียงของ บลจ. ซึ่งในปี 2566 บลจ.มีการเข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้นทั้งสิ้น 82 ครั้ง และได้เปิดเผยรายงานการใช้สิทธิออกเสียงบนเว็บไซต์ของบริษัท
ในการใช้สิทธิออกเสียงในการประชุมผู้ถือหุ้นของ บลจ.ทาลิส จะยึดตามแนวทางการใช้สิทธิออกเสียงที่ได้รับการอนุมติจากคณะกรรมการบริษัท และ บลจ.ทาลิส ได้ประกาศแนวทางดังกล่าวบนเว็บไซต์ของบริษัท สำหรับการใช้สิทธิออกเสียงฯ ในเรื่องที่นอกเหนือจากแนวทางฯ ที่ได้รับการอนุมัติ จะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการติดตามดูแลการกระทำที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนก่อนทุกครั้ง
5. ร่วมมือกับผู้ลงทุนอื่นตามความเหมาะสม (Collective engagement)
ในปี 2566 ฝ่ายจัดการลงทุนได้รับฟัง ประชุม และแสดงความคิดเห็น ร่วมกับองค์กรภายนอก ได้แก่
1. ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ร่วมกับสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI): เข้าร่วมอบรมเกี่ยวกับแนวทางการเปิดเผยข้อมูลด้าน ESG ตามหลักมาตรฐานสากล
2. Walk Free Organization หรือ กลุ่มสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศที่มุ่งเน้นการขจัดทาสยุคใหม่: ได้เข้าร่วมอบรมและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับแรงงานทาสยุคใหม่สำหรับอุตสาหกรรมในประเทศไทย ซึ่งหัวข้อดังกล่าวเป็นหนึ่งในประเด็น ESG ด้านความรับผิดชอบต่อสังคม (Social)
3. ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย: เข้าร่วมการอบรมและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ระหว่างนักวิเคราะห์และนักลงทุน เกี่ยวกับการวิเคราะห์บริษัทจดทะเบียนในด้าน ESG ทั้งการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน และการประเมินมูลค่าบริษัท
ในส่วนของบริษัทจดทะเบียน ระหว่างการเยี่ยมชมบริษัท Prima Marine (PRM) เราได้รับข้อมูลเกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำอับเฉาเรือ (Ballast Water Management) ซึ่งเป็นกระบวนการที่เรือดูดน้ำเข้ามาจากท่าเรือหนึ่งเพื่อรักษาความสมดุลและความมั่นคง น้ำที่ดูดเข้ามานี้มักมีสิ่งมีชีวิตทางทะเลหลากหลายชนิดอยู่ เมื่อเรือแล่นไปถึงท่าเรือถัดไป น้ำเหล่านี้จะถูกปล่อยออก สิ่งมีชีวิตเหล่านี้อาจไม่ใช่สิ่งมีชีวิตท้องถิ่น และอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบนิเวศน์
เราได้มีโอกาสพบผู้บริหาร CPAXT เกี่ยวกับประเด็นการนำเข้าหมูเถื่อน ซึ่งทางบริษัทยืนยันว่าไม่มีความเกี่ยวข้องแต่อย่างใดและบริษัทไม่สนับสนุนกิจกรรมใด ๆ ที่ผิดกฎหมาย ซึ่งในอนาคต บริษัทจะเข้มงวดในการคัดเลือก Supplier มากยิ่งขึ้น โดยจะทำงานร่วมกับบริษัทขนาดใหญ่ที่มีชื่อเสียงและบริษัทจดทะเบียนเท่านั้นในการนำเข้าสินค้า
นอกจากนี้ ฝ่ายจัดการกองทุนได้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับประเด็น ESG กับบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนอื่น ๆ ที่เป็นสมาชิกในสมาคมบริษัทจัดการลงทุนอีกด้วย
6. การเปิดเผยนโยบายธรรมาภิบาลการลงทุนและการปฏิบัติตามนโยบายต่อลูกค้าอย่างสม่ำเสมอ
บริษัทจัดให้มีการเปิดเผยรายงานผลการปฏิบัติตามนโยบายธรรมาภิบาลการลงทุน ให้ลูกค้าทราบทางเว็บไซต์ของบริษัท ภายใน 4 เดือนนับแต่วันสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชีของบริษัท
บลจ.ทาลิส ได้จัดให้มีนโยบายธรรมาภิบาลการลงทุน (Investment Governance Code : I-Code) โดยได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัท ในปี 2565 เพื่อให้ฝ่ายจัดการลงทุนใช้เป็นแนวทางในการบริหารจัดการลงทุนให้สอดคล้องกับนโยบายการลงทุนและความเสี่ยงที่ลูกค้ายอมรับได้ โดยตั้งอยู่บนหลักแห่งความซื่อสัตย์สุจริต ความรอบคอบระมัดระวัง ด้วยทักษะความเชี่ยวชาญอย่างเต็มที่มีการกำหนดนโยบายและแนวทางปฏิบัติในการคัดเลือกหลักทรัพย์ที่ลงทุน โดยเน้นการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน (Fundamental Analysis) ของหลักทรัพย์ที่ลงทุนอย่างเข้มข้น รวมถึงพิจารณาปัจจัยในการมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม มีบรรษัทภิบาลที่ดี (ESG) ทั้งนี้ ฝ่ายจัดการลงทุนขอรายงานการปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลการลงทุนในปี 2565 ดังนี้
1. การจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์อย่างเพียงพอเพื่อประโยชน์ที่ดีที่สุดของลูกค้า
บลจ.ทาลิส มีนโยบายและมาตรการป้องกันและจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริษัท และพนักงานได้รับทราบและปฏิบัติเป็นไปตามระเบียบข้อกำหนดต่าง ๆ เพื่อดูแลและรักษาผลประโยชน์ของลูกค้าอย่างเหมาะสม เช่น การควบคุมการซื้อขายบ่อยเกินความจำเป็น (Churning Policy) การป้องกันการใช้ข้อมูลภายใน การให้และรับของขวัญของกำนัล การร้องเรียนเกี่ยวกับการทุจริตและคอร์รัปชัน การซื้อขายหลักทรัพย์ของพนักงาน เป็นต้น
ในปีที่ผ่านมาบริษัทมีการรับผลประโยชน์ตอบแทนเนื่องจากการประกอบธุรกิจเพื่อกองทุน (Soft Commission) จากคู่ค้าหลักทรัพย์ในรูปของงานวิเคราะห์หลักทรัพย์ การรับเชิญเข้าร่วมงานสัมมนาและการจัด Company Visit การรับโปรแกรมข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับภาวะการลงทุนและการรับหุ้น IPO ที่คู่ค้าหลักทรัพย์มีการจัดสรรให้แก่ลูกค้า ทั้งนี้ การรับ Soft Commission ดังกล่าว เป็นไปเพื่อประโยชน์ของกองทุนภายใต้การจัดการลงทุนของบลจ. และเป็นไปตามนโยบายของบริษัท ทั้งนี้ บลจ. ได้เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการรับ Soft Commission ให้แก่ลูกค้ากองทุนส่วนบุคคลเป็นรายเดือน และเปิดเผยในรายงาน 6 เดือนและรายงานประจำปีของกองทุนรวมบน Website ของบริษัทในการทำรายการซื้อขายระหว่างกองทุน และการทำรายการซื้อขายหลักทรัพย์สวนทางกันในวันเดียวกัน บลจ.ทาลิสกำหนดให้คณะกรรมการติดตามดูแลการกระทำที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน (IOE) เข้ามาช่วยตรวจสอบและพิจารณาก่อนการทำรายการทุกครั้ง ยกเว้นรายการที่เกิดจากการ Redemption หรือการปิดกองทุน อย่างไรก็ตาม ฝ่ายจัดการลงทุนต้องรายงานรายการดังกล่าวให้แก่คณะกรรมการติดตามดูแลฯ รับทราบในภายหลังด้วย
2. การตัดสินใจและติดตามบริษัทที่ลงทุนอย่างใกล้ชิดและทันเหตุการณ์
ฝ่ายจัดการลงทุนมีการติดตามการดำเนินงานและวิเคราะห์ข้อมูลของบริษัทที่ลงทุน/สนใจลงทุนอย่างสม่ำเสมอ ทั้งการเข้าเยี่ยมชมบริษัท (Company Visit) การเข้าร่วมการสัมมนา/ฟังการบรรยายของนักวิเคราะห์หลักทรัพย์จากคู่ค้าหลักทรัพย์เกี่ยวกับภาวะการลงทุน หรือการเข้าร่วมการสัมมนา/ฟังการบรรยายของผู้มีความรู้ (Industry Expert) เกี่ยวกับภาพรวมเศรษฐกิจหรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ นอกเหนือจากได้รับข้อมูลงบการเงินรายไตรมาส รวมถึงข่าวสำคัญที่เกี่ยวกับเรื่องการลงทุนต่าง ๆ ทั้งนี้ ในปี 2565 ฝ่ายจัดการลงทุนเข้าร่วมการประชุม/สัมมนา/ฟังบรรยายได้มากกว่า 440 ครั้ง ทำให้มีข้อมูลที่เพียงพอในการทบทวนหรือวิเคราะห์หลักทรัพย์และการลงทุนได้โดยสม่ำเสมอและทันต่อเหตุการณ์ ในการวิเคราะห์หลักทรัพย์นั้น บลจ.ได้นำข้อควรพิจารณาเกี่ยวกับประเด็นการกำกับดูแลกิจการ ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (ESG) เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการวิเคราะห์ด้วย เพื่อประกอบการพิจารณาว่ากองทุนควรที่จะลงทุนในบริษัทนั้น ๆ หรือไม่ หากผู้จัดการกองทุน/ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุนพบความเสี่ยงเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว ผู้จัดการกองทุน/ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุนก็จะนำประเด็นเหล่านี้ไปสอบถาม/ขอข้อมูลเพิ่มเติมกับผู้บริหารของบริษัทเมื่อมีโอกาสเข้าพบ และอาจจะมีข้อเสนอแนะแก่บริษัทเกี่ยวกับประเด็นความเสี่ยงดังกล่าวด้วย
ทั้งนี้ หากบริษัทใดมีปัญหาเกี่ยวกับประเด็น ESG ที่ชัดเจน ผู้จัดการกองทุนจะพิจารณาหยุดการลงทุนหรือถอนการลงทุนจากบริษัทเหล่านั้น
3.การเพิ่มระดับในการติดตามบริษัทที่ลงทุน เมื่อเห็นว่าการติดตามในข้อที่ 2 ไม่เพียงพอ (Escalating Investee Companies)
นอกจากการหยุดลงทุนและถอนการลงทุนแล้ว บลจ.อาจจะพิจารณาเข้าพบผู้บริหารของบริษัทจดทะเบียนดังกล่าว เพื่อฟังคำชี้แจงและแสดงความห่วงใย ต่อประเด็นปัญหาดังกล่าว
4. เปิดเผยนโยบายการใช้สิทธิออกเสียงและผลการใช้สิทธิออกเสียง
บลจ.มีนโยบายที่ชัดเจนในการเข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้น เพื่อใช้สิทธิออกเสียงตามแนวทางการใช้สิทธิออกเสียงของ บลจ. ซึ่งในปี 2565 บลจ.มีการเข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้นทั้งสิ้น 75 ครั้ง และได้เปิดเผยรายงานการใช้สิทธิออกเสียงบนเว็บไซต์ของบริษัท
ในการใช้สิทธิออกเสียงในการประชุมผู้ถือหุ้นของ บลจ.ทาลิส จะยึดตามแนวทางการใช้สิทธิออกเสียงที่ได้รับการอนุมติจากคณะกรรมการบริษัท และ บลจ.ทาลิส ได้ประกาศแนวทางดังกล่าวบนเว็บไซต์ของบริษัท สำหรับการใช้สิทธิออกเสียงฯ
ในเรื่องที่นอกเหนือจากแนวทางฯ ที่ได้รับการอนุมัติ จะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการติดตามดูแลการกระทำที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนก่อนทุกครั้ง
5. ร่วมมือกับผู้ลงทุนอื่นตามความเหมาะสม (Collective engagement)
ในปี 2565 ไม่มีกรณีใดที่ฝ่ายจัดการลงทุนได้ร่วมกับองค์กรภายนอกเพื่อรับฟัง ประชุม หรือแสดงความคิดเห็นกับบริษัทจดทะเบียนฯ เกี่ยวกับประเด็น ESG อย่างไรก็ตาม ฝ่ายจัดการกองทุนได้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับประเด็น ESG
กับบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนอื่น ๆ ที่เป็นสมาชิกในสมาคมบริษัทจัดการลงทุนด้วย
6. การเปิดเผยนโยบายธรรมาภิบาลการลงทุนและการปฏิบัติตามนโยบายต่อลูกค้าอย่างสม่ำเสมอ
บริษัทจัดให้มีการเปิดเผยรายงานผลการปฏิบัติตามนโยบายธรรมาภิบาลการลงทุน ให้ลูกค้าทราบทางเว็บไซต์ของบริษัท ภายใน 4 เดือนนับแต่วันสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชีของบริษัท
บลจ.ทาลิส ได้จัดให้มีนโยบายธรรมาภิบาลการลงทุน (Investment Governance Code : I-Code) โดยได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัท ในปี 2561 เพื่อให้ฝ่ายจัดการลงทุนใช้เป็นแนวทางในการบริหารจัดการลงทุนให้สอดคล้องกับนโยบายการลงทุนและความเสี่ยงที่ลูกค้ายอมรับได้ โดยตั้งอยู่บนหลักแห่งความซื่อสัตย์สุจริต ความรอบคอบระมัดระวัง ด้วยทักษะความเชี่ยวชาญอย่างเต็มที่ มีการกำหนดนโยบายและแนวทางปฏิบัติในการคัดเลือกหลักทรัพย์ที่ลงทุน โดยเน้นการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน (Fundamental Analysis) ของหลักทรัพย์ที่ลงทุนอย่างเข้มข้น รวมถึงพิจารณาปัจจัยในการมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม มีบรรษัทภิบาลที่ดี (ESG) ทั้งนี้ ฝ่ายจัดการลงทุนขอรายงานการปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลการลงทุนในปี 2564 ดังนี้
1. การจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์อย่างเพียงพอเพื่อประโยชน์ที่ดีที่สุดของลูกค้า
บลจ.ทาลิส มีนโยบายและมาตรการป้องกันและจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริษัท และพนักงานได้รับทราบและปฏิบัติเป็นไปตามระเบียบข้อกำหนดต่าง ๆ เพื่อดูแลและรักษาผลประโยชน์ของลูกค้าอย่างเหมาะสม เช่น การควบคุมการซื้อขายบ่อยเกินความจำเป็น (Churning Policy) การป้องกันการใช้ข้อมูลภายใน การให้และรับของขวัญของกำนัล การร้องเรียนเกี่ยวกับการทุจริตและคอร์รัปชั่น การซื้อขายหลักทรัพย์ของพนักงาน เป็นต้น
ในปีที่ผ่านมา บริษัทมีการรับผลประโยชน์ตอบแทนเนื่องจากการประกอบธุรกิจเพื่อกองทุน (Soft Commission) จากคู่ค้าหลักทรัพย์ในรูปของงานวิเคราะห์หลักทรัพย์ การรับเชิญเข้าร่วมงานสัมมนาและการจัด Company Visit การรับโปรแกรมข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับภาวะการลงทุน และการรับหุ้น IPO ที่คู่ค้าหลักทรัพย์มีการจัดสรรให้แก่ลูกค้า ทั้งนี้ การรับ Soft Commission ดังกล่าว เป็นไปเพื่อประโยชน์ของกองทุนภายใต้การจัดการลงทุนของบลจ. และเป็นไปตามนโยบายของบริษัท ทั้งนี้ บลจ. ได้เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการรับ Soft Commission ให้แก่ลูกค้ากองทุนส่วนบุคคลเป็นรายเดือน และเปิดเผยในรายงาน 6 เดือนและรายงานประจำปีของกองทุนรวมบน Website ของบริษัท
ในการทำรายการซื้อขายระหว่างกองทุน และการทำรายการซื้อขายหลักทรัพย์สวนทางกันในวันเดียวกัน บลจ.ทาลิสกำหนดให้คณะกรรมการติดตามดูแลการกระทำที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน (IOE) เข้ามาช่วยตรวจสอบและพิจารณาก่อนการทำรายการทุกครั้ง ยกเว้นรายการที่เกิดจากการ Redemption หรือการปิดกองทุน อย่างไรก็ตาม ฝ่ายจัดการลงทุนต้องรายงานรายการดังกล่าวให้แก่คณะกรรมการติดตามดูแลฯ รับทราบในภายหลังด้วย
2. การตัดสินใจและติดตามบริษัทที่ลงทุนอย่างใกล้ชิดและทันเหตุการณ์
ฝ่ายจัดการลงทุนมีการติดตามการดำเนินงานและวิเคราะห์ข้อมูลของบริษัทที่ลงทุน/สนใจลงทุนอย่างสม่ำเสมอ ทั้งการเข้าเยี่ยมชมบริษัท (Company Visit) การเข้าร่วมการสัมมนา/ฟังการบรรยายของนักวิเคราะห์หลักทรัพย์จากคู่ค้าหลักทรัพย์เกี่ยวกับภาวะการลงทุน หรือการเข้าร่วมการสัมมนา/ฟังการบรรยายของผู้มีความรู้ (Industry Expert) เกี่ยวกับภาพรวมเศรษฐกิจหรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ นอกเหนือจากได้รับข้อมูลงบการเงินรายไตรมาส รวมถึงข่าวสำคัญที่เกี่ยวกับเรื่องการลงทุนต่าง ๆ และเนื่องจากสถานการณ์ COVID-19 ทำให้บริษัทต่าง ๆ มีการ Work from Home จำนวนมาก และการจัดการประชุม/สัมมนา/การบรรยายเปลี่ยนไปเป็นรูปแบบของ Online Meeting เป็นส่วนใหญ่ ดังนั้น ในปี 2564 ฝ่ายจัดการลงทุนสามารถเข้าร่วมการประชุม/สัมมนา/ฟังบรรยายได้มากกว่า 600 ครั้ง ทำให้มีข้อมูลที่เพียงพอในการทบทวนหรือวิเคราะห์หลักทรัพย์และการลงทุนได้โดยสม่ำเสมอและทันต่อเหตุการณ์ แม้ในช่วงสถานการณ์ COVID-19
ในการวิเคราะห์หลักทรัพย์นั้น บลจ.ได้นำข้อควรพิจารณาเกี่ยวกับประเด็นการกำกับดูแลกิจการ ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (ESG) เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการวิเคราะห์ด้วย เพื่อประกอบการพิจารณาว่ากองทุนควรที่จะลงทุนในบริษัทนั้น ๆ หรือไม่ หากผู้จัดการกองทุน/ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุนพบความเสี่ยงเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว ผู้จัดการกองทุน/ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุนก็จะนำประเด็นเหล่านี้ไปสอบถาม/ขอข้อมูลเพิ่มเติมกับผู้บริหารของบริษัทเมื่อมีโอกาสเข้าพบ และอาจจะมีข้อเสนอแนะแก่บริษัทเกี่ยวกับประเด็นความเสี่ยงดังกล่าวด้วย
ทั้งนี้ หากบริษัทใดมีปัญหาเกี่ยวกับประเด็น ESG ที่ชัดเจน ผู้จัดการกองทุนจะพิจารณาหยุดการลงทุนหรือถอนการลงทุนจากบริษัทเหล่านั้น
3. การเพิ่มระดับในการติดตามบริษัทที่ลงทุน เมื่อเห็นว่าการติดตามในข้อที่ 2 ไม่เพียงพอ (Escalating Investee Companies)
นอกจากการหยุดลงทุนและถอนการลงทุนแล้ว บลจ.อาจจะพิจารณาเข้าพบผู้บริหารของบริษัทจดทะเบียนดังกล่าว เพื่อฟังคำชี้แจงและแสดงความห่วงใย ต่อประเด็นปัญหาดังกล่าว
4. เปิดเผยนโยบายการใช้สิทธิออกเสียงและผลการใช้สิทธิออกเสียง
บลจ.มีนโยบายที่ชัดเจนในการเข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้น เพื่อใช้สิทธิออกเสียงตามแนวทางการใช้สิทธิออกเสียงของ บลจ. ซึ่งในปี 2564 บลจ.มีการเข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้นทั้งสิ้น 72 ครั้ง และได้เปิดเผยรายงานการใช้สิทธิออกเสียงบนเว็บไซต์ของบริษัท
ในการใช้สิทธิออกเสียงในการประชุมผู้ถือหุ้นของ บลจ.ทาลิส จะยึดตามแนวทางการใช้สิทธิออกเสียงที่ได้รับการอนุมติจากคณะกรรมการบริษัท และ บลจ.ทาลิส ได้ประกาศแนวทางดังกล่าวบนเว็บไซต์ของบริษัท สำหรับการใช้สิทธิออกเสียงฯ ในเรื่องที่นอกเหนือจากแนวทางฯ ที่ได้รับการอนุมัติ จะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการติดตามดูแลการกระทำที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนก่อนทุกครั้ง
5. ร่วมมือกับผู้ลงทุนอื่นตามความเหมาะสม (Collective engagement)
ในปี 2564 ไม่มีกรณีใดที่ฝ่ายจัดการลงทุนได้ร่วมกับองค์กรภายนอกเพื่อรับฟัง ประชุม หรือแสดงความคิดเห็นกับบริษัทจดทะเบียนฯ เกี่ยวกับประเด็น ESG
6. การเปิดเผยนโยบายธรรมาภิบาลการลงทุนและการปฏิบัติตามนโยบายต่อลูกค้าอย่างสม่ำเสมอ
บริษัทจัดให้มีการเปิดเผยรายงานผลการปฏิบัติตามนโยบายธรรมาภิบาลการลงทุน ให้ลูกค้าทราบทางเว็บไซต์ของบริษัท ภายใน 4 เดือนนับแต่วันสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชีของบริษัท
บลจ.ทาลิส ได้จัดให้มีนโยบายธรรมาภิบาลการลงทุน (Investment Governance Code : I-Code) โดยได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัท ในปี 2561 เพื่อให้ฝ่ายจัดการลงทุนใช้เป็นแนวทางในการบริหารจัดการลงทุนให้สอดคล้องกับนโยบายการลงทุนและความเสี่ยงที่ลูกค้ายอมรับได้ โดยตั้งอยู่บนหลักแห่งความซื่อสัตย์สุจริต ความรอบคอบระมัดระวัง ด้วยทักษะความเชี่ยวชาญอย่างเต็มที่ มีการกำหนดนโยบายและแนวทางปฏิบัติในการคัดเลือกหลักทรัพย์ที่ลงทุน โดยเน้นการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน (Fundamental Analysis) ของหลักทรัพย์ที่ลงทุนอย่างเข้มข้น รวมถึงพิจารณาปัจจัยในการมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม มีบรรษัทภิบาลที่ดี (“ESG”) ทั้งนี้ ฝ่ายจัดการลงทุนขอรายงานการปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลการลงทุนในปี 2563 ดังนี้
1. การจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์อย่างเพียงพอเพื่อประโยชน์ที่ดีที่สุดของลูกค้า
บลจ.ทาลิส มีนโยบายและมาตรการป้องกันและจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริษัท และพนักงานได้รับทราบและปฏิบัติเป็นไปตามระเบียบข้อกำหนดต่าง ๆ เพื่อดูแลและรักษาผลประโยชน์ของลูกค้าอย่างเหมาะสม เช่น การควบคุมการซื้อขายบ่อยเกินความจำเป็น (Churning Policy) การป้องกันการใช้ข้อมูลภายใน การให้และรับของขวัญของกำนัล การร้องเรียนเกี่ยวกับการทุจริตและคอร์รัปชั่น การซื้อขายหลักทรัพย์ของพนักงาน เป็นต้น
ในปีที่ผ่านมา บริษัทมีการรับผลประโยชน์ตอบแทนเนื่องจากการประกอบธุรกิจเพื่อกองทุน (Soft Commission) จากคู่ค้าหลักทรัพย์ในรูปของงานวิเคราะห์หลักทรัพย์ การรับเชิญเข้าร่วมงานสัมมนาและการจัด Company Visit การรับโปรแกรมข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับภาวะการลงทุน และการรับหุ้น IPO ที่คู่ค้าหลักทรัพย์มีการจัดสรรให้แก่ลูกค้า ทั้งนี้ การรับ Soft Commission ดังกล่าว เป็นไปเพื่อประโยชน์ของกองทุนภายใต้การจัดการลงทุนของบลจ. และเป็นไปตามนโยบายของบริษัท ทั้งนี้ บลจ. ได้เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการรับ Soft Commission ให้แก่ลูกค้ากองทุนส่วนบุคคลเป็นรายเดือน และเปิดเผยในรายงาน 6 เดือนและรายงานประจำปีของกองทุนรวม บน Website ของบริษัท
2. การตัดสินใจและติดตามบริษัทที่ลงทุนอย่างใกล้ชิดและทันเหตุการณ์
ฝ่ายจัดการลงทุนมีการติดตามการดำเนินงานและวิเคราะห์ข้อมูลของบริษัทที่ลงทุน/สนใจลงทุนอย่างสม่ำเสมอ ทั้งการเข้าเยี่ยมชมบริษัท (Company Visit) การเข้าร่วมการสัมมนา/ฟังการบรรยายของนักวิเคราะห์หลักทรัพย์จากคู่ค้าหลักทรัพย์เกี่ยวกับภาวะการลงทุน หรือการเข้าร่วมการสัมมนา/ฟังการบรรยายของผู้มีความรู้ (Industry Expert) เกี่ยวกับภาพรวมเศรษฐกิจหรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ นอกเหนือจากได้รับข้อมูลงบการเงินรายไตรมาส รวมถึงข่าวสำคัญที่เกี่ยวกับเรื่องการลงทุนต่าง ๆ และเนื่องจากสถานการณ์ COVID-19 ทำให้บริษัทต่าง ๆ มีการ Work from Home จำนวนมาก และการจัดการประชุม/สัมมนา/การบรรยายเปลี่ยนไปเป็นรูปแบบของ Online Meeting เป็นส่วนใหญ่ ดังนั้น ในปี 2563 ฝ่ายจัดการลงทุนสามารถเข้าร่วมการประชุม/สัมมนา/ฟังบรรยายได้มากกว่า 1,000 ครั้ง ทำให้มีข้อมูลที่เพียงพอในการทบทวนหรือวิเคราะห์หลักทรัพย์และการลงทุนได้โดยสม่ำเสมอและทันต่อเหตุการณ์ แม้ในช่วงสถานการณ์ COVID-19
ในการวิเคราะห์หลักทรัพย์นั้น บลจ.ได้นำข้อควรพิจารณาเกี่ยวกับประเด็นการกำกับดูแลกิจการ ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (ESG) เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการวิเคราะห์ด้วย เพื่อประกอบการพิจารณาว่ากองทุนควรที่จะลงทุนในบริษัทนั้น ๆ หรือไม่ หากผู้จัดการกองทุน/ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุนพบความเสี่ยงเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว ผู้จัดการกองทุน/ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุนก็จะนำประเด็นเหล่านี้ไปสอบถาม/ขอข้อมูลเพิ่มเติมกับผู้บริหารของบริษัทเมื่อมีโอกาสเข้าพบ และอาจจะมีข้อเสนอแนะแก่บริษัทเกี่ยวกับประเด็นความเสี่ยงดังกล่าวด้วย
ทั้งนี้ หากบริษัทใดมีปัญหาเกี่ยวกับประเด็น ESG ที่ชัดเจน ผู้จัดการกองทุนจะพิจารณาหยุดการลงทุนหรือถอนการลงทุนจากบริษัทเหล่านั้น
3. การเพิ่มระดับในการติดตามบริษัทที่ลงทุน เมื่อเห็นว่าการติดตามในข้อที่ 2 ไม่เพียงพอ (Escalating Investee Companies)
นอกจากการหยุดลงทุนและถอนการลงทุนแล้ว บลจ.อาจจะพิจารณาเข้าพบผู้บริหารของบริษัทจดทะเบียนดังกล่าว เพื่อฟังคำชี้แจงและแสดงความห่วงใย ต่อประเด็นปัญหาดังกล่าว
4. เปิดเผยนโยบายการใช้สิทธิออกเสียงและผลการใช้สิทธิออกเสียง
บลจ.มีนโยบายที่ชัดเจนในการเข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้น เพื่อใช้สิทธิออกเสียงตามแนวทางการใช้สิทธิออกเสียงของ บลจ. ซึ่งในปี 2563 บลจ.มีการเข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้นทั้งสิ้น 45 ครั้ง และได้เปิดเผยรายงานการใช้สิทธิออกเสียงบนเว็บไซต์ของบริษัท
5. ร่วมมือกับผู้ลงทุนอื่นตามความเหมาะสม (Collective engagement)
ในปี 2563 ฝ่ายจัดการลงทุนร่วมกับสมาคมจัดการลงทุนได้เข้าร่วมประชุมเพื่อรับฟังข้อมูลและแสดงความคิดเห็นกับบริษัทจดทะเบียนแห่งหนึ่ง ที่มีการออกนโยบายช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับสัมปทานจากบริษัทที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ที่มีความเสี่ยงว่าจะเอื้อประโยชน์ต่อผู้รับสัมปทานรายใดมากเป็นพิเศษ
6. การเปิดเผยนโยบายธรรมาภิบาลการลงทุนและการปฏิบัติตามนโยบายต่อลูกค้าอย่างสม่ำเสมอ
บริษัทจัดให้มีการเปิดเผยรายงานผลการปฏิบัติตามนโยบายธรรมาภิบาลการลงทุน ให้ลูกค้าทราบทางเว็บไซต์ของบริษัท ภายใน 4 เดือนนับแต่วันสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชีของบริษัท
บลจ.ทาลิส ได้จัดให้มีนโยบายธรรมาภิบาลการลงทุน (Investment Governance Code : I-Code) โดยได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัท ในปี 2561 เพื่อให้ฝ่ายจัดการลงทุนใช้เป็นแนวทางในการบริหารจัดการลงทุนให้สอดคล้องกับนโยบายการลงทุนและความเสี่ยงที่ลูกค้ายอมรับได้ โดยตั้งอยู่บนหลักแห่งความซื่อสัตย์สุจริต ความรอบคอบระมัดระวัง ด้วยทักษะความเชี่ยวชาญอย่างเต็มที่ มีการกำหนดนโยบายและแนวทางปฏิบัติในการคัดเลือกหลักทรัพย์ที่ลงทุน โดยเน้นการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน (Fundamental Analysis) ของหลักทรัพย์ที่ลงทุนอย่างเข้มข้น รวมถึงพิจารณาปัจจัยในการมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม มีบรรษัทภิบาลที่ดี (“ESG”) ทั้งนี้ ฝ่ายจัดการลงทุนขอรายงานการปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลการลงทุนในปี 2562 ดังนี้
1. การจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์อย่างเพียงพอเพื่อประโยชน์ที่ดีที่สุดของลูกค้า
บลจ.ทาลิส มีนโยบายและมาตรการป้องกันและจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริษัท และพนักงานได้รับทราบและปฏิบัติเป็นไปตามระเบียบข้อกำหนดต่าง ๆ เพื่อดูแลและรักษาผลประโยชน์ของลูกค้าอย่างเหมาะสม เช่น การควบคุมการซื้อขายบ่อยเกินความจำเป็น (Churning Policy) การป้องกันการใช้ข้อมูลภายใน การให้และรับของขวัญของกำนัล การร้องเรียนเกี่ยวกับการทุจริตและคอร์รัปชั่น การซื้อขายหลักทรัพย์ของพนักงาน
ในปีที่ผ่านมา บริษัทมีการรับผลประโยชน์ตอบแทนเนื่องจากการประกอบธุรกิจเพื่อกองทุน (Soft Commission) จากคู่ค้าหลักทรัพย์ในรูปของงานวิเคราะห์หลักทรัพย์ การรับเชิญเข้าร่วมงานสัมมนาและการจัด Company Visit การรับโปรแกรมข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับภาวะการลงทุน และการรับหุ้น IPO ที่คู่ค้าหลักทรัพย์มีการจัดสรรให้แก่ลูกค้า ทั้งนี้ การรับ Soft Commission ดังกล่าว เป็นไปเพื่อประโยชน์ของกองทุนภายใต้การจัดการลงทุนของบลจ. และเป็นไปตามนโยบายของบริษัท ทั้งนี้ บลจ. ได้เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการรับ Soft Commission ให้แก่ลูกค้ากองทุนส่วนบุคคลเป็นรายเดือน และเปิดเผยในรายงาน 6 เดือน และรายงานประจำปีของกองทุน บน Website ของบริษัท
สำหรับการทำธุรกรรมกับบุคคลที่เกี่ยวข้องของกองทุนส่วนบุคคลนั้น ในปีที่ผ่านมา กองทุนได้เข้าลงทุนในตราสารหนี้ และหุ้นสามัญของบริษัทที่ผู้บริหารท่านหนึ่งของ บลจ. เป็นกรรมการอิสระในบริษัททั้งสองแห่ง ซึ่งลูกค้าได้ตกลงยินยอมให้บริษัทจัดการดำเนินการได้ ทั้งนี้ ในการเข้าลงทุนในหลักทรัพย์ของทั้งสองบริษัทนี้ ผู้จัดการกองทุนได้มีการวิเคราะห์ข้อมูลตามหลักปัจจัยพื้นฐานเกี่ยวกับบริษัททั้งสองแห่งเช่นเดียวกับการเข้าลงทุนในบริษัทอื่น และมีการเปิดเผยข้อมูลการลงทุนนี้แก่ลูกค้ากองทุนส่วนบุคคลเป็นรายเดือนทุกครั้งที่มีรายการซื้อขายเกิดขึ้น
2. การตัดสินใจและติดตามบริษัทที่ลงทุนอย่างใกล้ชิดและทันเหตุการณ์
ฝ่ายจัดการลงทุนมีการติดตามการดำเนินงานและวิเคราะห์ข้อมูลของบริษัทที่ลงทุน/สนใจลงทุนอย่างสม่ำเสมอ โดยในปีที่ผ่านมา ผู้จัดการกองทุนหรือผู้ช่วยผู้จัดการกองทุนได้เข้าเยี่ยมชมบริษัท (Company Visit) หรือเข้าร่วมการสัมมนาเกี่ยวกับภาวะการลงทุน หรือเข้าฟังการบรรยายของนักวิเคราะห์หลักทรัพย์จากคู่ค้าหลักทรัพย์เกี่ยวกับภาวะการลงทุน มากกว่า 600 ครั้ง รวมทั้งมีการทบทวนข้อมูลการวิเคราะห์หลักทรัพย์และการลงทุนทุกครั้งที่ได้รับข้อมูลใหม่ จากการเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ที่กล่าวข้างต้นหรือการเปิดเผยงบการเงินรายไตรมาส รวมถึงเมื่อมีข่าวสำคัญที่เกี่ยวกับเรื่องการลงทุนด้วย
ในการวิเคราะห์หลักทรัพย์นั้น บลจ.ได้นำข้อควรพิจารณาเกี่ยวกับประเด็นการกำกับดูแลกิจการ ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (ESG) เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการวิเคราะห์ด้วย เพื่อประกอบการพิจารณาว่ากองทุนควรที่จะลงทุนในบริษัทนั้น ๆ หรือไม่ หากผู้จัดการกองทุน/ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุนพบความเสี่ยงเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว ผู้จัดการกองทุน/ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุนก็จะนำประเด็นเหล่านี้ไปสอบถาม/ขอข้อมูลเพิ่มเติมกับผู้บริหารของบริษัทเมื่อมีโอกาสเข้าพบ และอาจจะมีข้อเสนอแนะแก่บริษัทเกี่ยวกับประเด็นความเสี่ยงดังกล่าวด้วย
อย่างไรก็ตาม หากบริษัทใดมีปัญหาเกี่ยวกับประเด็น ESG ผู้จัดการกองทุนจะพิจารณาหยุดการลงทุนหรือถอนการลงทุนจากบริษัทเหล่านั้น โดยในปีที่ผ่านมา บริษัทได้หยุดการลงทุนและถอนการลงทุนจากบริษัทจดทะเบียนแห่งหนึ่งที่ผู้บริหารถูกกล่าวหาว่ามีการช่วยเหลือให้เจ้าหน้าที่ของรัฐมีการรับสินบนจากคู่ค้ารายหนึ่ง แม้ว่าการกล่าวหานี้จะเป็นช่วงเริ่มต้นและยังไม่มีการตัดสินความผิดในชั้นศาลก็ตาม
3. การเพิ่มระดับในการติดตามบริษัทที่ลงทุน เมื่อเห็นว่าการติดตามในข้อที่ 2 ไม่เพียงพอ (Escalating Investee Companies)
นอกจากการหยุดลงทุนและถอนการลงทุนแล้ว บลจ.ได้เข้าพบผู้บริหารของบริษัทจดทะเบียนดังกล่าว เพื่อฟังคำชี้แจงและแสดงความห่วงใย ต่อประเด็นปัญหาดังกล่าว
4. เปิดเผยนโยบายการใช้สิทธิออกเสียงและผลการใช้สิทธิออกเสียง
บลจ.มีนโยบายที่ชัดเจนในการเข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้น เพื่อใช้สิทธิออกเสียงตามแนวทางการใช้สิทธิออกเสียงของ บลจ. ซึ่งในปี 2562 บลจ.มีการเข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้นทั้งสิ้น 52 ครั้ง และได้เปิดเผยรายงานการใช้สิทธิออกเสียงบนเว็บไซต์ของบริษัท
5. ร่วมมือกับผู้ลงทุนอื่นตามความเหมาะสม (Collective engagement)
ในปีที่ผ่านมา บลจ.ได้ร่วมกับสมาคมจัดการลงทุนในการประชุมเกี่ยวกับประเด็น ESG และสมาคมจัดการลงทุนมีการส่งตัวแทนเข้าพบกรรมการ/ผู้บริหารของบริษัทจดทะเบียน 2 แห่งเพื่อแสดงความห่วงใย รับฟังและเสนอแนะแนวทางเกี่ยวกับปัญหาการใช้ข้อมูลภายในในการซื้อขายหลักทรัพย์และการให้สินบน แม้ว่า บลจ.จะไม่ได้ลงทุนในทุกบริษัทก็ตาม
6. การเปิดเผยนโยบายธรรมาภิบาลการลงทุนและการปฏิบัติตามนโยบายต่อลูกค้าอย่างสม่ำเสมอ
บริษัทจัดให้มีการเปิดเผยรายงานผลการปฏิบัติตามนโยบายธรรมาภิบาลการลงทุน ให้ลูกค้าทราบทางเว็บไซต์ของบริษัท ภายใน 4 เดือนนับแต่วันสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชีของบริษัท
บลจ.ทาลิส ได้จัดให้มีนโยบายธรรมาภิบาลการลงทุน (Investment Governance Code : I-Code) โดยได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัท ในปี 2561 เพื่อให้ฝ่ายจัดการลงทุนใช้เป็นแนวทางในการบริหารจัดการลงทุนให้สอดคล้องกับนโยบายการลงทุนและความเสี่ยงที่ลูกค้ายอมรับได้ โดยตั้งอยู่บนหลักแห่งความซื่อสัตย์สุจริต ความรอบคอบระมัดระวัง ด้วยทักษะความเชี่ยวชาญอย่างเต็มที่ มีการกำหนดนโยบายและแนวทางปฏิบัติในการคัดเลือกหลักทรัพย์ที่ลงทุน โดยเน้นการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน (Fundamental Analysis) ของหลักทรัพย์ที่ลงทุนอย่างเข้มข้น รวมถึงพิจารณาปัจจัยในการมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม มีบรรษัทภิบาลที่ดี (“ESG”) ทั้งนี้ ฝ่ายจัดการลงทุนขอรายงานการปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลการลงทุนในปี 2561 ดังนี้
1. การจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์อย่างเพียงพอเพื่อประโยชน์ที่ดีที่สุดของลูกค้า
บลจ.ทาลิส มีนโยบายและมาตรการป้องกันและจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริษัท และพนักงานได้รับทราบและปฏิบัติเป็นไปตามระเบียบข้อกำหนดต่าง ๆ เพื่อดูแลและรักษาผลประโยชน์ของลูกค้าอย่างเหมาะสม เช่น การควบคุมการซื้อขายบ่อยเกินความจำเป็น (Churning Policy) การป้องกันการใช้ข้อมูลภายใน การให้และรับของขวัญของกำนับ การร้องเรียนเกี่ยวกับการทุจริตและคอร์รัปชั่น การซื้อขายหลักทรัพย์ของพนักงาน
ในปีที่ผ่านมา บริษัทมีการรับผลประโยชน์ตอบแทนเนื่องจากการประกอบธุรกิจเพื่อกองทุน (Soft Commission) จากคู่ค้าหลักทรัพย์ในรูปของงานวิเคราะห์หลักทรัพย์ การรับเชิญเข้าร่วมงานสัมมนาหรือ Company Visit การรับโปรแกรมข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับภาวะการลงทุน และการรับหุ้น IPO ที่คู่ค้าหลักทรัพย์มีการจัดสรรให้แก่ลูกค้า ทั้งนี้ การรับ Soft Commission ดังกล่าว เป็นไปเพื่อประโยชน์ของกองทุนภายใต้การจัดการลงทุนของบลจ. และเป็นไปตามนโยบายของบริษัท ทั้งนี้ บลจ. ได้เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการรับ Soft Commission ให้แก่ลูกค้ากองทุนส่วนบุคคลเป็นรายเดือน และเปิดเผยในรายงาน 6 เดือน และรายงานประจำปีของกองทุน บน Website ของบริษัท
สำหรับการทำธุรกรรมกับบุคคลที่เกี่ยวข้องของกองทุนส่วนบุคคลนั้น ในปีที่ผ่านมา กองทุนได้เข้าลงทุนในตราสารหนี้ และหุ้นสามัญของบริษัทที่ผู้บริหารท่านหนึ่งของ บลจ. เป็นกรรมการอิสระในบริษัททั้งสองแห่ง ซึ่งลูกค้าได้ตกลงยินยอมให้บริษัทจัดการดำเนินการได้ ทั้งนี้ ในการเข้าลงทุนในหลักทรัพย์ของทั้งสองบริษัทนี้ ผู้จัดการกองทุนได้มีการวิเคราะห์ข้อมูลตามหลักปัจจัยพื้นฐานเกี่ยวกับบริษัททั้งสองแห่งเช่นเดียวกับการเข้าลงทุนในบริษัทอื่น และมีการเปิดเผยข้อมูลการลงทุนนี้แก่ลูกค้ากองทุนส่วนบุคคลเป็นรายเดือนทุกครั้งที่มีรายการซื้อขายเกิดขึ้น
2. การตัดสินใจและติดตามบริษัทที่ลงทุนอย่างใกล้ชิดและทันเหตุการณ์
ฝ่ายจัดการลงทุนมีการติดตามการดำเนินงานและวิเคราะห์ข้อมูลของบริษัทที่ลงทุน/สนใจลงทุนอย่างสม่ำเสมอ โดยในปีที่ผ่านมา ผู้จัดการกองทุนหรือผู้ช่วยผู้จัดการกองทุนได้เข้าเยี่ยมชมบริษัท (Company Visit) หรือเข้าร่วมการสัมมนาเกี่ยวกับภาวะการลงทุน หรือเข้าฟังการบรรยายของนักวิเคราะห์หลักทรัพย์จากคู่ค้าหลักทรัพย์เกี่ยวกับภาวะการลงทุน มากกว่า 400 ครั้ง รวมทั้งมีการทบทวนข้อมูลการวิเคราะห์หลักทรัพย์และการลงทุนทุกครั้งที่ได้รับข้อมูลใหม่ จากการเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ที่กล่าวข้างต้นหรือการเปิดเผยงบการเงินรายไตรมาส รวมถึงเมื่อมีข่าวสำคัญที่เกี่ยวกับเรื่องการลงทุนด้วย
ในการวิเคราะห์หลักทรัพย์นั้น บลจ.ได้นำข้อควรพิจารณาเกี่ยวกับประเด็นการกำกับดูแลกิจการ ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (ESG) เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการวิเคราะห์ด้วย เพื่อประกอบการพิจารณาว่ากองทุนควรที่จะลงทุนในบริษัทนั้น ๆ หรือไม่ หากผู้จัดการกองทุน/ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุนพบความเสี่ยงเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว ผู้จัดการกองทุน/ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุนก็จะนำประเด็นเหล่านี้ไปสอบถาม/ขอข้อมูลเพิ่มเติมกับผู้บริหารของบริษัทเมื่อมีโอกาสเข้าพบ และอาจจะมีข้อเสนอแนะแก่บริษัทเกี่ยวกับประเด็นความเสี่ยงดังกล่าวด้วย
อย่างไรก็ตาม หากบริษัทใดมีปัญหาเกี่ยวกับประเด็น ESG ผู้จัดการกองทุนจะพิจารณาหยุดการลงทุนหรือถอนการลงทุนจากบริษัทเหล่านั้น อย่างไรก็ตาม ในปีที่ผ่านมา ไม่มีบริษัทใดใน Universe การลงทุนของบลจ.ที่มีการกระทำที่ไม่เหมาะสมเกี่ยวกับประเด็น ESG
3. การเพิ่มระดับในการติดตามบริษัทที่ลงทุน เมื่อเห็นว่าการติดตามในข้อที่ 2 ไม่เพียงพอ (Escalating Investee Companies)
เนื่องจากในปีที่ผ่านมา ไม่มีบริษัทใดใน Universe การลงทุนของบลจ.ที่มีการกระทำที่ไม่เหมาะสมเกี่ยวกับประเด็น ESG บลจ.จึงไม่มีการดำเนินงานเพิ่มเติมเกี่ยวกับการติดตามบริษัทที่ลงทุน
4. เปิดเผยนโยบายการใช้สิทธิออกเสียงและผลการใช้สิทธิออกเสียง
บลจ.มีนโยบายที่ชัดเจนในการเข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้น เพื่อใช้สิทธิออกเสียงตามแนวทางการใช้สิทธิออกเสียงของ บลจ. ซึ่งในปี 2561 บลจ.มีการเข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้นทั้งสิ้น 47 บริษัท และได้เปิดเผยรายงานการใช้สิทธิออกเสียงบนเว็บไซต์ของบริษัท
5. ร่วมมือกับผู้ลงทุนอื่นตามความเหมาะสม (Collective engagement)
เนื่องจากในปีที่ผ่านมา ไม่มีบริษัทใดใน Universe การลงทุนของบลจ.ที่มีการกระทำที่ไม่เหมาะสมเกี่ยวกับประเด็น ESG บลจ.จึงไม่มีการร่วมมือกับบุคคลอื่นเพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้
6. การเปิดเผยนโยบายธรรมาภิบาลการลงทุนและการปฏิบัติตามนโยบายต่อลูกค้าอย่างสม่ำเสมอ
บริษัทจัดให้มีการเปิดเผยรายงานผลการปฏิบัติตามนโยบายธรรมาภิบาลการลงทุน ให้ลูกค้าทราบทางเว็บไซต์ของบริษัท ภายใน 4 เดือนนับแต่วันสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชีของบริษัท