ภาวะตลาดตราสารหนี้ไทย (ธันวาคม 2562)

คณะกรรมการนโยบายการเงิน (FOMC) มีมติเป็นเอกฉันท์ (10-0) คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Federal Funds Rate) ที่ 1.50%-1.75% ตามที่ตลาดคาด โดยมองอัตราดอกเบี้ยในระดับดังกล่าวมีความเหมาะสมในการสนับสนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจให้ขยายตัวอย่างยั่งยืน ช่วยหนุนตลาดแรงงานให้คงความแข็งแกร่ง และหนุนให้อัตราเงินเฟ้อขยายตัวอยู่ใกล้ระดับเป้าหมายที่ 2% คณะกรรมการ FOMC จะติดตามพัฒนาการเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิด ซึ่งรวมถึงสถานการณ์เศรษฐกิจโลก และแรงกดดันเงินเฟ้อในการประเมินแนวโน้มดอกเบี้ยในระยะข้างหน้า แถลงการณ์หลังการประชุมระบุว่า นับจากการประชุมรอบก่อนตลาดแรงงานยังคงแข็งแกร่งและกิจกรรมทางเศรษฐกิจขยายตัวได้ดีในระดับปานกลาง การจ้างงานเพิ่มขึ้นได้ดีในช่วงเดือนที่ผ่านมา อัตราการว่างงานทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ ขณะเดียวกัน แม้การใช้จ่ายภาคเอกชนจะยังคงเพิ่มขึ้นแข็งแกร่ง แต่การลงทุนภาคเอกชนและการส่งออกยังคงอ่อนแอ ส่วนเงินเฟ้อทั่วไปและเงินเฟ้อพื้นฐานยังคงขยายตัวต่ำกว่าระดับเป้าหมายที่ 2% สำหรับคาดการณ์ดอกเบี้ยในระยะข้างหน้า ค่ากลาง Dot plot ล่าสุดชี้ว่าคณะกรรมการ FOMC ส่วนใหญ่ (13 จาก 17 ท่าน) มองดอกเบี้ยจะคงอยู่ที่ระดับปัจจุบัน (1.50%-1.75%) ไปจนถึงสิ้นปี 2020 ก่อนที่จะทยอยปรับขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปหลังจากนั้นเพื่อเข้าสู่ดอกเบี้ยที่เป็นกลางที่ 2.5% ในการประชุมรอบนี้ Fed คงคาดการณ์เศรษฐกิจปีนี้ที่ 2.2% และปี 2020 ที่ 2.0% ส่วนคาดการณ์เงินเฟ้อ Core PCE ปีนี้ลง -0.2ppt เป็น 1.6% แต่ยังคงคาดปี 2020 ที่ 1.9% สะท้อนเงินเฟ้อที่ยังขยายตัวต่ำกว่าเป้าที่ 2% นอกจากนี้ Fed ได้ปรับลดคาดการณ์อัตราการว่างงานปีนี้ลง -0.1ppt เป็น 3.6% และปีหน้าลง -0.2ppt เป็น 3.5% หลังตัวเลขตลาดแรงงานเดือน พ.ย. ออกมาดี

ธนาคารกลางยุโรป (ECB) คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.5% ตามคาดและคงขนาดของมาตรการซื้อสินทรัพย์ที่ 2 หมื่นล้านยูโรต่อเดือนโดยไม่มีกำหนดวันที่สิ้นสุด โดยแถลงการณ์ระบุว่าจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับปัจจุบันหรือต่ำกว่าจนกว่าอัตราเงินเฟ้อจะปรับเพิ่มขึ้นสู่ระดับเป้าหมายที่ 2.0% นอกจากนี้ ECB ได้ปรับคาดการณ์ตัวเลขเศรษฐกิจเล็กน้อยจากประมาณการครั้งก่อนในเดือนกันยายน โดยประเมินว่าเศรษฐกิจปี 2019 จะขยายตัวที่ 1.2% จากเดิม 1.1% และปี 2020 1.1% จากเดิม 1.2% และคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อปี 2019 และ 2020 ที่ 1.2% และ 1.1% ตามลำดับ พร้อมทั้งสนับสนุนให้รัฐบาลที่ยังมีขีดความสามารถในการดำเนินนโยบายการคลัง (Fiscal Space) กระตุ้นเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ECB เตรียมกลับมาพิจารณาพันธกิจของการดำเนินนโยบายการเงินเป็นครั้งแรกตั้งแต่ปี 2003

คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.25% โดยให้ความเห็นว่า ระบบการเงินโดยรวมยังมีเสถียรภาพ แต่ความเสี่ยงยังคงมีอยู่ อาทิ พฤติกรรมแสวงหาผลตอบแทนที่สูงขึ้นในภาวะดอกเบี้ยต่ำและหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง ส่วนค่าเงินบาทมีการปรับตัวสอดคล้องกับสกุลเงินในภูมิภาคมากขึ้น ทั้งนี้ กนง. จะประเมินความเสี่ยงต่อระบบเศรษฐกิจในอนาคตเพื่อประกอบการดำเนินนโยบายการเงินที่เหมาะสมในระยะต่อไป ในส่วนของการปรับประมาณการเศรษฐกิจใหม่นั้น กนง. ได้ปรับลดคาดการณ์ GDP ไทยปี 2019 ลงเหลือ 2.5% ตามที่ได้มีการส่งสัญญาณในช่วงก่อน (2.8% ในครั้งก่อน) เป็นผลมาจากมุมมองในภาคส่งออกและการลงทุนที่อ่อนแอลง นอกจากนี้ กนง. ได้ปรับลด GDP ในปี 2020 ลงเหลือ 2.8% จาก 3.3% เป็นผลจากการส่งออกที่คาดว่าจะไม่ขยายตัว และการลงทุนภาคเอกชนที่คาดว่าจะอ่อนแอลงกว่าประมาณการครั้งก่อน ด้านระดับราคาสินค้า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปถูกปรับลดคาดการณ์ลงทั้งในปี 2019 และ 2020 ลงมาอยู่ที่ 0.7% และ 0.8% ตามลำดับ ส่วนหนึ่งเป็นผลของราคาพลังงานที่มีแนวโน้มอยู่ในระดับต่ำ

ทางด้านภาวะตลาดตราสารหนี้ไทยในเดือนนี้ เส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลยังคงปรับลดลงต่อเนื่อง ตลอดทั้งเส้นปรับลดลง 0.05%-0.14% จากการคาดการณ์โอกาสในการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มเติมจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอลง ทางด้านปริมาณการซื้อขายพันธบัตรรัฐบาลของนักลงทุนต่างชาติในเดือนนี้มีปริมาณลดลงจากเดือนที่ผ่านมา โดยเป็นการซื้อสุทธิพันธบัตรระยะสั้น 2.4 พันล้านบาท ซื้อสุทธิพันธบัตรระยะยาว 1.5 พันล้านบาท เมื่อหักพันธบัตรที่ครบกำหนดอายุแล้ว คงเหลือการถือครอง 9.17 แสนล้านบาท หรือลดลงประมาณ 7 หมื่นล้านบาทจากปีก่อนหน้า

ทางด้านภาวะตลาดตราสารหนี้ไทยในเดือนนี้ ไม่ได้เคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับตลาดสหรัฐฯ แต่เคลื่อนไหวตามปัจจัยภายในมากกว่า โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นถึงระยะกลางปรับลดลง 3-17Bps จากการคาดการณ์โอกาสในการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มเติมจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอลง ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวกลับปรับเพิ่มขึ้น 5-22Bps เนื่องจากมีการจัดประมูลพันธบัตรระยะยาวในเดือนนี้หลายรุ่น ทางด้านปริมาณการซื้อขายพันธบัตรรัฐบาลของนักลงทุนต่างชาติในเดือนนี้ ได้ขายสุทธิพันธบัตรระยะสั้น 4.6 พันล้านบาท ขายสุทธิพันธบัตรระยะยาว 1.1 พันล้านบาท เมื่อหักพันธบัตรที่ครบกำหนดอายุแล้ว คงเหลือการถือครอง 9.11 แสนล้านบาท หรือลดลงประมาณ 7.5 หมื่นล้านบาท จากสิ้นปีที่ผ่านมา

ตารางเปรียบเทียบอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยและสหรัฐ

december-2020