ในช่วงที่ผ่านมา ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักยกเว้นปอนด์ หลังธนาคารกลางยุโรป (ECB) มีมติคงนโยบายและมาตรการทางการเงินต่าง ๆ ตามเดิม แต่ระบุถึงโอกาสกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมหากจาเป็น นอกจากนี้นักลงทุนในตลาดยังคาดการณ์ว่า ธนาคารกลางญี่ปุ่นอาจผ่อนคลายนโยบายการเงินเพิ่มเติม ผ่านการใช้อัตราดอกเบี้ยติดลบกับโครงการปล่อยสินเชื่อให้แก่สถาบันการเงินต่าง ๆ
ทางด้านตลาดพันธบัตรของไทย ในช่วงต้นสัปดาห์ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลโดยเฉพาะช่วงอายุ 5 ปีขึ้นไป ปรับลดลงเพียงเล็กน้อย หลังจากนั้น กลับมีแรงขายทำกำไรจากนักลงทุนสถาบัน ซึ่งสอดคล้องกับทิศทางของอัตราผลตอบแทนพันธรัฐบาลสหรัฐ (US Treasury) ที่ปรับตัวขึ้น โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปีปรับตัวขึ้นไปที่ 1.89% ต่อปี จาก 1.72% ต่อปี (ณ วันที่ 8/04/59) ในขณะที่พันธบัตร 10 ปีของไทยปรับตัวขึ้นจาก 1.54% ต่อปี ซึ่งเป็นระดับต่าสุดในเดือนเมษายน มาปิดที่ 1.81% ต่อปี ส่วนมูลค่าการซื้อขายตลอดช่วงเวลา 11-22 เม.ย. 59 นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิในพันธบัตรอายุมากกว่า 1 ปี จำนวน 3.8 พันล้านบาท และขายสุทธิในพันธบัตรอายุน้อยกว่า 1 ปี จำนวน 7.6 พันล้านบาท
ทางด้านการประมูลพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้น อัตราผลตอบแทนโดยรวมปรับลดลง 1-4 bps โดยตั๋วเงินคลังอายุ 28 อัตราผลตอบแทนเฉลี่ยอยู่ที่ 1.32880% ส่วนพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยอายุ 14 วัน 91 วัน และ 182 อัตราผลตอบแทนเฉลี่ยอยู่ที่ 1.34075%, 1.33130% และ 1.33749 ต่อปี ตามลำดับ นอกจากนี้ ยังมีการประมูลพันธบัตรรัฐบาลรุ่นอายุประมาณ 10 ปี อัตราผลตอบแทนเฉลี่ยอยู่ที่ 1.6891% ต่อปี ซึ่งใกล้เคียงกับในตลาดรอง และพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยรุ่นอายุประมาณ 2 ปี ที่ได้รับความสนใจน้อยกว่า อัตราผลตอบแทนเฉลี่ย 1.3622% ต่อปี และ Bid-coverage ratio เพียง 1.26 เท่า