ภาวะตลาดหุ้นไทย – มกราคม 2564

SET Index ปรับตัวขึ้น +1.2% สู่ระดับ 1,466.98 จุดเนื่องจากผลการเลือกตั้งวุฒิสภาชิกในสหรัฐฯและการประกาศงบการเงินไตรมาส 4 ของกลุ่มธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยแต่การระบาดของไวรัส COVID-19 รอบ 2 ในกลุ่มแรงงานต่างด้าวในประเทศไทยรวมถึงระดับหนี้ครัวเรือนที่สูงในปี 2563 และการหดตัวของดัชนี MPI เดือนธันวาคม 2563 ของประเทศไทยยังเป็นปัจจัยที่น่ากังวลนอกจากนี้ยังมีแรงกดดันจากการที่ตลาดหลักทรัพย์ฯกำลังทบทวนหลักเกณฑ์และมาตรการเพื่อแก้ปัญหาเกี่ยวกับหลักทรัพย์ที่มี Free Float ต่ำ

พรรค Democrat ได้รับชัยชนะทั้ง 2 ที่นั่งในการเลือกตั้งวุฒิสภาชิกในรัฐ Georgia ของสหรัฐฯทำให้พรรค Democrat ครองเสียงข้างมากทั้งในสภาผู้แทนราษฎรและครองเสียงกึ่งหนึ่งในวุฒิสภา (รองประธานาธิบดีจะเป็นผู้ชี้ขาดกรณีเสียงโหวตเท่ากัน) ทำให้เกิด Blue Wave อ่อนๆและเพิ่มความคาดหวังต่อการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจชุดใหญ่วงเงินกว่า 1.9 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯแต่มาตรการนี้มีความเสี่ยงที่จะไม่ได้รับอนุมัติจากวุฒิสภาเนื่องจากต้องใช้เสียงสนับสนุนขั้นต่ำ 60 เสียงจึงต้องใช้เสียงสนับสุนนจากสว.ของพรรค Republican ประกอบด้วยนอกจากนี้ในช่วงที่ผ่านมาสส.บางรายของพรรค Democrat เริ่มแสดงความกังวลต่อวงเงินของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่อาจจะสูงเกินไปทำให้เกิดความไม่แน่นอนในเรื่องวงเงินและความล่าช้าในการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจส่งผลให้มีเงินลงทุนเริ่มเข้าลงทุนในสินทรัพย์ปลอดภัยเห็นได้จาก US Bond Yield 10 ปีลดลงต่อเนื่องสู่ 1% และค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าสู่ 90.7 จุดซึ่งเป็นกดดันทำให้ Fund Flows ในเอเชียมีความผันผวนในขณะที่ปัจจัยภายในประเทศถูกกดดันจากตัวเลขผู้ติดเชื้อ COVID-19 ที่ยังอยู่ในระดับสูงโดยเฉพาะในกลุ่มแรงงานต่างด้าวจากการตรวจหาโรคเชิงรุกนอกจากนี้หนี้ครัวเรือนปี 2020 อยู่ที่ระดับ 4.8 แสนบาท/ครัวเรือนหรือขยายตัว 42% ซึ่งถือเป็นระดับสูงสุดในรอบ 12 ปีและดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (MPI) เดือนธันวาคมหดตัว -2.44%YoY ทำให้ทั้งปี 2020 ดัชนี MPI หดตัวถึง -8.8% บ่งชี้ว่าภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทยได้รับผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญอย่างไรก็ตามรัฐบาลเริ่มทยอยผ่อนคลายมาตรการ Lockdown อย่างค่อยเป็นค่อยไปในบางจังหวัดที่เริ่มควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดได้ดีขึ้นทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจทยอยกลับมาดำเนินได้นอกจากนี้ตลาดหุ้นไทยยังมีแรงกดดันจากการที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกำลังทบทวนหลักเกณฑ์ในการคำนวณดัชนีเพื่อแก้ปัญหาเกี่ยวกับหลักทรัพย์ที่มี Free Float ต่ำโดยจะปรับจากเกณฑ์การใช้มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดในการคำนวณ (Full Market Capitalization) เป็นการใช้มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดที่ปรับด้วย Free Float (Free Float Adjusted Market Capitalization) คาดว่าจะทำให้ดัชนี SET50 และ SET100 ผันผวนเชิงลบก่อนวันที่มีผลบังคับใช้

ในช่วงเดือนมกราคมที่ผ่านมาราคาหุ้น GameStop เป็นร้านขายวิดีโอเกมส์ซึ่งจดทะเบียนอยู่ใน New York Stock Exchange (NYSE) ปรับตัวขึ้นเกือบ 900% ในเวลาเพียง 2 สัปดาห์การปรับตัวขึ้นของหุ้น GameStop เกิดจากการที่นักลงทุนรายย่อยเห็นว่ากองทุนมีการทำ Short Sell ในหุ้น GameStop ในสัดส่วนที่สูงมากจึงเห็นโอกาสในการทำกำไรจึงเข้าซื้อหุ้นและ Stock Options ของหุ้น GameStop จากการได้รับการชักชวนจากเว็บบอร์ด WallStreetBets จนราคาหุ้น GameStop ปรับตัวสูงขึ้นขัดกับปัจจัยพื้นฐานและทำให้หองทุนที่ทำ Short Sell ไว้ต้องเข้าซื้อหุ้น GameStop เพื่อนำไปส่งมอบและตัดขาดทุนรวมทั้งต้องมีการขายหุ้นบริษัทอื่นเพื่อเอาผลกำไรไปกลบขาดทุนที่เกิดขึ้นส่งผลให้ตลาดมีความผันผวนในระยะสั้นอย่างไรก็ตามด้วยปริมาณเงินจำนวนมหาศาลที่ถูกอัดฉีดเข้ามาในระบบเศรษฐกิจจากการดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายของธนาคารกลางทั่วโลกรวมถึงอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำมากทำให้ค่า PER ที่เหมาะสมของตลาดถูกปรับขึ้นสูงกว่าในอดีตรวมทั้งการพัฒนาวัคซีนก็ยังดำเนินไปอย่างต่อเนื่องทำให้แม้ตลาดหุ้นจะถูกกดดันจากปัจจัยลบระยะสั้นแต่ในระยะกลางคาดว่าตลาดหุ้นน่าจะมีแนวโน้มปรับตัวขึ้นได้

สรุปภาวะตลาดหุ้นช่วงเดือนมกราคม 2564 SET Index ปิดที่ 1,466.96 จุดปรับตัวขึ้น 17.61 จุดหรือ 1.2% จากสิ้นเดือนธันวาคม 2563 นอกจากนี้ในเดือนมกราคม 2564 กลุ่มธนาคารพาณิชย์มีการประกาศงบการเงินโดยกำไรสุทธิในไตรมาส 4 ปี 2563 ของกลุ่มฯลดลง 25% YoY แต่เพิ่มขึ้น 8% QoQ ส่งผลให้ในปี 2563 กำไรสุทธิกลุ่มธนาคารลดลง 32% โดยคาดว่าผลประกอบการของธนาคารส่วนใหญ่ผ่านจุดตํ่าสุดไปแล้วในปี 2563 หลังจากตั้งสํารองเพิ่มขึ้นเพื่อเพิ่ม LLR coverage นอกจากนี้ Credit Cost ได้ทําจุดสูงสุดไปแล้วในปี 2563 โดยกลุ่มธนาคารพาณิชย์ปรับตัวขึ้นมากกว่าตลาดในเดือนมกราคม 2564โดยกลุ่มอุตสาหกรรมหลักที่ให้ผลตอบแทนสูงที่สุด (รวมเงินปันผล) ได้แก่กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ 11.9% กลุ่มธุรกิจการเกษตร 6.0% กลุ่มยานยนต์ 5.8%ในขณะที่กลุ่มอุตสาหกรรมหลักที่ให้ผลตอบแทนต่ำที่สุด (รวมเงินปันผล) ได้แก่กลุ่มบริการรับเหมาก่อสร้าง -2.6% กลุ่มขนส่งและโลจิสติกส์ -2.2% กลุ่มปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ -1.5% ซึ่งในเดือนมกราคมนี้นักลงทุนทั่วไปในประเทศซื้อหุ้นไทยสุทธิ 27,868.51 ล้านบาทขณะที่นักลงทุนสถาบันในประเทศบัญชีหลักทรัพย์และนักลงทุนต่างชาติขายหุ้นไทยสุทธิ 16,024.75 ล้านบาท 904.81 ล้านบาทและ 10,902.95 ล้านบาทตามลำดับนักลงทุนต่างชาติมีการเพิ่มสัดส่วนการถือครองในหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์พลังงานและวัสดุก่อสร้างแต่ลดการถือครองในกลุ่ม ICT ค้าปลีกปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์และขนส่งและโลจิสติกส์