ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ส่งสัญญาณคงการผ่อนคลายนโยบายการเงินต่อเนื่องจนกว่าเสถียรภาพด้านราคาจะกลับเข้าสู่ระดับเป้าหมายที่ 2% โดยได้คงอัตราดอกเบี้ยและมาตรการซื้อสินทรัพย์ได้แก่คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ -0.1% และควบคุมอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปีใกล้ 0% รวมทั้งคงมาตรการซื้อสินทรัพย์ทั้งพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นแบบไม่จำกัดคงวงเงินการเข้าซื้อ ETFs ที่ 12 ล้านล้านเยนและ J-REITs ที่ 1.8 แสนล้านเยนซื้อตราสารหนี้เอกชนวงเงิน 20 ล้านล้านเยนถึงสิ้นเดือนกันยายน 2021 นอกจากนี้ยังขยายเวลามาตรการช่วยเหลือด้านสินเชื่อทั้งหมดออกไป 1 ปีเพื่อสนับสนุนสภาพคล่องแก่ครัวเรือนและธุรกิจBOJ มองเศรษฐกิจดีขึ้นในปี 2021 โดยขยายตัว 3.9% จากเดิมที่ 3.6% ณเดือนตุลาคมอีกทั้งปรับขึ้นคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อไม่รวมอาหารสดมาที่ 0.5% จาก 0.4% เนื่องจากมาตรการใช้จ่ายของภาครัฐที่ออกมาเพิ่มเติมเป็นรอบที่ 3 เมื่อเดือนธันวาคมมูลค่า 7.08 แสนล้านดอลลาร์ทำให้มีเม็ดเงินของภาครัฐเข้ากระตุ้นเศรษฐกิจแล้วทั้งสิ้นกว่า 3 ล้านล้านดอลลาร์และช่วยพยุงการบริโภคในประเทศขณะที่รัฐบาลส่งสัญญาณว่าจะออกมาตรการเพิ่มเติมหากมีความจำเป็น
ธนาคารกลางยุโรป (ECB) คงมาตรการผ่อนคลายทางการเงินโดยคงอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก (Deposit Facility) ที่ -0.5% อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ (Marginal Lending Facility) ที่ 0.25% และอัตราดอกเบี้ย Main Refinancing Operations ที่ 0.00% พร้อมทั้งคงวงเงินซื้อสินทรัพย์มาตรการ Asset Purchase Program ที่ 2 หมื่นล้านยูโรต่อเดือนและมาตรการ Pandemic Emergency Purchase Program (PEPP) ที่ 1.85 ล้านล้านยูโรโดย ECB ยืนยันว่าจะเข้าซื้อสินทรัพย์ตามมาตรการ PEPP อย่างน้อยจนถึงเดือนมีนาคม 2022นายคริสตินลาร์การ์ดประธาน ECB กล่าวว่าเศรษฐกิจยูโรโซนมีความเสี่ยงที่จะถดถอยซ้ำซ้อน (Double-dip Recession) ในไตรมาสที่ 4/2020 จากผลกระทบของการระบาดของโควิด-19 รอบใหม่ที่ส่งผลให้รัฐบาลของนานาประเทศในภูมิภาคกลับมาใช้มาตรการปิดเมืองอย่างเข้มขึ้นอย่างไรก็ตาม ECB ยังคงมีมุมมองเชิงบวกต่อแนวโน้มเศรษฐกิจในระยะข้างหน้าจาก (1) การกระจายวัคซีนของประเทศต่างๆซึ่งจะส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจค่อยๆฟื้นตัว (2) เม็ดเงินช่วยเหลือภายใต้กองทุนฟื้นฟูเศรษฐกิจ (3) การฟื้นตัวของภาคอุตสาหกรรมและ (4) ความไม่แน่นอนทางการเมืองสหรัฐฯลดลงทั้งนี้ลาร์การ์ดมองว่าเศรษฐกิจยูโรโซนยังมีแนวโน้มขยายตัวได้ตามเป้าที่ 3.9% ในปี 2021
ธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) มีมติเป็นเอกฉันท์ (11-0) คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับต่ำ 0-0.25% ตามการคาดการณ์ของตลาดด้านการเข้าซื้อสินทรัพย์ FED ยังคงระบุเช่นเดิมว่าจะเข้าซื้อที่อัตราปัจจุบัน 1.2 แสนล้านดอลลาร์ต่อเดือนเป็นอย่างน้อยแบ่งเป็นพันธบัตรรัฐบาลเดือนละ 8 หมื่นล้านดอลลาร์และตราสารหนี้ที่มีสินเชื่อที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกันเดือนละ 4 หมื่นล้านดอลลาร์และระบุจะเข้าซื้อจนกว่าจะเห็นพัฒนาการที่ชัดเจนว่าการจ้างงานจะกลับเข้าสู่ระดับที่คณะกรรมการประเมินว่าเป็นการจ้างงานเต็มอัตราและเงินเฟ้อเข้าสู่เป้าหมายFED ระบุแนวโน้มเศรษฐกิจโดยหลักขึ้นอยู่กับการระบาดของไวรัสรวมถึงความคืบหน้าของวัคซีนวิกฤตครั้งนี้จะยังคงกดดันกิจกรรมเศรษฐกิจการจ้างงานและเงินเฟ้อและยังคงเป็นความเสี่ยงสำคัญต่อแนวโน้มเศรษฐกิจสำหรับประเด็นการชะลอการเข้าซื้อสินทรัพย์ที่ตลาดให้ความสนใจอย่างมากโดยเฉพาะหลังการประกาศมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม 1.9 ล้านล้านดอลลาร์ของประธานาธิบดีโจไบเดนที่คาดว่าจะหนุนให้เศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างรวดเร็วจนหนุนให้เงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นแรงนั้นนายเจอโรมโพเวลประธาน FED กล่าวในแถลงการณ์หลังการประชุมว่ายังต้องใช้เวลาอีกสักระยะถึงจะเริ่มพิจารณาปรับเปลี่ยนการเข้าซื้อสินทรัพย์ได้โดยระบุว่าการมุ่งให้ความสนใจต่อประเด็นดังกล่าวนั้นเร็วเกินไป
ภาวะตลาดตราสารหนี้ไทยในเดือนนี้เส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับตัวขึ้น 1-10 Bps โดยรุ่นอายุ 15-21 ปีมีการปรับตัวขึ้นมากกว่ารุ่นอายุอื่นๆซึ่งคาดว่าได้รับผลกระทบจากการปริมาณเสนอขายพันธบัตรรัฐบาลในตลาดแรกที่มีการประมูลในเดือนนี้ในขณะที่พันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นที่มีอายุไม่เกิน 1 ปีอัตราผลตอบแทนปรับตัวขึ้นมา 3-5 Bps จากการที่นักวิเคราะห์และนักลงทุนสถาบันเริ่มมีมุมมองที่แตกต่างกันว่าผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินในเดือนกุมภาพันธ์จะคงดอกเบี้ยหรือลดดอกเบี้ยในขณะที่การซื้อขายพันธบัตรรัฐบาลของนักลงทุนต่างชาติในเดือนนี้ไม่เปลี่ยนแปลงมากนักแบ่งเป็นการขายสุทธิพันธบัตรระยะสั้น 1.9 พันล้านบาทซื้อสุทธิพันธบัตรระยะยาว 2 พันล้านบาทเมื่อหักพันธบัตรที่ครบกำหนดแล้วคงเหลือการถือครองพันธบัตรรัฐบาลรวมประมาณ 8.54 แสนล้านบาทหรือลดลงจากปีที่ผ่านมาประมาณ 3 พันล้านบาท
ตารางเปรียบเทียบอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยและสหรัฐ