ค่าเงินบาทกับตลาดหุ้นไทย

ตั้งแต่การปล่อยลอยตัวค่าเงินบาทในปี 1997 ค่าเงินบาทมีการเคลื่อนไหวไปตามกลไกลตลาดมากขึ้น โดยค่าเงินบาทอ่อนค่าอย่างรุนแรงจาก 25 บาท ต่อดอลลาร์สหรัฐ ไปเป็น 47 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็น 88% ในปลายปี 1997 พร้อมกับSET Index ที่ปรับตัวจากระดับประมาณ 832 จุดลงมาที่ระดับ 373 จุด หรือลดลง 55% ในเวลาอันรวดเร็ว

ภาวะตลาดตราสารหนี้ไทย 27 มิถุนายน – 30 มิถุนายน 2559

ธนาคารแห่งประเทศไทยคาดว่าภาวะเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งหลังของปีจะขยายตัวดีขึ้น และมองว่าปี 2559 นี้จะสามารถเติบโตได้ตามเป้าหมายที่ 3.1% จากแรงขับเคลื่อนของภาครัฐเป็นหลัก รวมถึงสัญญาณเชิงบวกจากการลงทุนภาคเอกชนและภาคการท่องเที่ยว อย่างไรก็ดี ความเสี่ยงจากต่างประเทศมีมากขึ้น โดยเฉพาะผลกระทบจากกรณี Brexit ซึ่งยากต่อการประเมินในเวลานี้ ด้านกระทรวงพาณิชย์ รายงานดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปในเดือนมิ.ย. เพิ่มขึ้น 0.38% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ซึ่งนับเป็นการปรับขึ้นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน ขณะที่เงินเฟ้อพื้นฐานเพิ่มขึ้น 0.80%

ภาวะตลาดหุ้นไทย 27 มิถุนายน – 30 มิถุนายน 2559

ตลาดหุ้นไทยสัปดาห์สุดท้ายของเดือนมิถุนายน 2559 กลับมามีทิศทางเป็นบวกตลอดสัปดาห์ หลังจากที่ตลาดซึมซับข่าวเกี่ยวกับประชามติ Brexit เมื่อสัปดาห์ก่อน และนักลงทุนที่มีความกังวลต่อเหตุการณ์ดังกล่าวได้มีการขายหุ้นออกมาในวันศุกร์และต่อเนื่องถึงวันจันทร์แล้ว ตลาดหุ้นไทยได้รับแรงหนุนจากแรงซื้อของนักลงทุนสถาบันในประเทศ และกระแสเงินลงทุนที่ไหลกลับเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นทั่วโลก จากการคาดการณ์ว่าหากเศรษฐกิจโลกมีการชะลอตัวลง

ผลกระทบต่อ Brexit ต่อตลาดหุ้นไทย

เป็นที่ทราบกันแล้วนะครับ ว่าผลการลงประชามติของประเทศอังกฤษในประเด็นว่าต้องการให้อังกฤษอยู่ต่อ (Remain) หรือออกจาก (Leave) การเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป (EU) เมื่อวันที่ 23 มิถุนายนที่ผ่านมานั้น เป็น Leave 52% และ Remain 48% โดยมีผู้มาใช้สิทธิทั้งสิ้น 72% ซึ่งผลการลงประชามติที่ออกมานั้นนอกเหนือการคาดหมายของนักลงทุน เนื่องจากผลสำรวจการลงประชามติในสัปดาห์สุดท้ายค่อนข้างเอนเอียงไปทางที่ฝ่าย Remain จะมีมากกว่าฝ่าย Leave ทำให้นักลงทุนทั่วโลกตื่นตระหนก

ทิศทางตลาดตราสารหนี้ช่วงครึ่งหลังของปี 2559

ตลาดตราสารหนี้บ้านเราในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมาได้รับผลกระทบจากการดำเนินนโยบายทางการเงินของธนาคารกลางประเทศหลัก และสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐฯ ยุโรป ญี่ปุ่น หรือจีน รวมไปถึงแรงกดดันจากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ลดลงอย่างต่อเนื่องจนมาแตะระดับต่ำสุดในเดือนกุมภาพันธ์

ภาวะตลาดตราสารหนี้ไทย 20 มิถุนายน – 24 มิถุนายน 2559

ตลอดเกือบทั้งสัปดาห์ ภาวะตลาดตราสารหนี้ไทยค่อนข้างเงียบและมีการซื้อขายอย่างไม่มีทิศทางที่ชัดเจน ส่วนผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (MPC) ในวันพุธก็เป็นไปตามที่ตลาดคาดการณ์ กล่าวคือ มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 1.50 ต่อปี โดยคณะกรรมการฯ ประเมินว่า “แนวโน้มเศรษฐกิจยังฟื้นตัวต่อเนื่องและคาดว่าเงินเฟ้อจะกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายในช่วงครึ่งหลังของปี ในขณะที่ภาวะการเงินในปัจจุบันยังอยู่ในระดับที่ผ่อนคลายและเอื้อต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ

ภาวะตลาดหุ้นไทย 20 มิถุนายน – 24 มิถุนายน 2559

ตลาดหุ้นไทยสัปดาห์ที่สี่ของเดือนมิถุนายน 2559 มีแนวโน้มค่อย ๆ แกว่งตัวขึ้นในเกือบทั้งสัปดาห์ เนื่องจากนักลงทุนค่อนข้างมั่นใจว่าผลประชามติ Brexit จะออกมาว่าประชาชนส่วนใหญ่ต้องการให้สหราชอาณาจักรอยู่กับสหภาพยุโรปต่อไป เนื่องจากทุกสำนักสำรวจความคิดเห็นได้ผลออกมาว่าจำนวนผู้ออกเสียงให้อยู่ต่อจะมากกว่าผู้ออกเสียงให้ออกจากสหภาพยุโรปประมาณ 2-3% อย่างไรก็ตาม เมื่อผลประชามติออกมาในช่วงเช้าของวันศุกร์ว่า มีผู้ออกเสียงให้ออกจากสหภาพยุโรป 51.9% และให้อยู่ต่อ 48.1% ทำให้นักลงทุนค่อนข้างผิดหวัง

ภาวะตลาดตราสารหนี้ไทย 13 มิถุนายน – 17 มิถุนายน 2559

อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลไทยเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบแคบ ๆ ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากภาพรวมของตลาดต่างประเทศยังมีความกังวลเกี่ยวกับการลงประชามติของชาวอังกฤษในสัปดาห์หน้าที่จะตัดสินใจว่าจะออกจากสหภาพยุโรป (Brexit) หรือไม่ และข้อมูลหรือตัวเลขทางเศรษฐกิจประเทศต่าง ๆ ที่ยังไม่ฟื้นตัว ไม่ว่าจะเป็นผลการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่อัตราเดิม และคาดการณ์ว่าอาจปรับขึ้นดอกเบี้ยเพียง 1-2 ครั้งในปีนี้

ภาวะตลาดหุ้นไทย 13 มิถุนายน -17 มิถุนายน 2559

ตลาดหุ้นไทยสัปดาห์ที่สามของเดือนมิถุนายน 2559 มีการแกว่งตัวค่อนข้างแรง โดยในช่วงต้นสัปดาห์ นักลงทุนยังให้ความสำคัญกับการประชุม FOMC ซึ่งนักลงทุนค่อนข้างมั่นใจว่า Fed จะยังไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย จึงทำให้มีแรงซื้อเข้ามาในตลาดหุ้น และผลักดันให้ราคาหุ้นปรับตัวขึ้นได้ แต่เมื่อจบการประชุม FOMC ที่ไม่มีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามคาด นักลงทุนก็หันกลับมาให้ความสนใจกับประเด็น Brexit ที่มีผลโพลออกมาว่ากลุ่มที่ต้องการให้อังกฤษออกจากกลุ่มสหภาพยุโรปมีมากกว่ากลุ่มผู้สนับสนุนให้อยู่ต่อ ทำให้นักลงทุนเริ่มวิตกกังวล

ภาวะตลาดตราสารหนี้ไทย 6 มิถุนายน – 10 มิถุนายน 2559

ในสัปดาห์ที่ผ่านมาตลาดตราสารหนี้ไทยยังคงได้รับผลกระทบจาก Global Risk-off Sentiment ซึ่งต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อนหน้าที่ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ ออกมาน่าผิดหวัง และประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ ออกมาให้ความเห็นถึงการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างค่อยเป็นค่อยไปเพื่อรักษาเสถียรภาพทางการเงินและการจ้างงานในระยะยาว โดยไม่ได้มีการระบุถึงช่วงเวลาที่แน่นอนในการปรับขึ้นดอกเบี้ย นอกจากนี้ นักลงทุนในตลาดมีความกังวลเกี่ยวกับการลงประชามติของชาวอังกฤษที่จะตัดสินใจว่าจะออกจากสหภาพยุโรป (Brexit)