ภาวะตลาดตราสารหนี้ไทย 25 เมษายน – 4 พฤษภาคม 2559

ในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของเดือนเมษายน ธนาคารกลางญี่ปุ่นมีมติคงอัตราดอกเบี้ยและคงปริมาณการทำ QE ส่วนเศรษฐกิจสหรัฐฯ GDP ในไตรมาสแรกของปี 2016 ขยายตัวได้เพียง 0.5% ต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ โดยปัจจัยหลักมาจากการลงทุนภาคเอกชนที่หดตัวและการบริโภคภายในประเทศที่อยู่ในระดับต่ำ และการประชุม FOMC ซึ่งผลการประชุมมีมติคงอัตราดอกเบี้ยตามที่ตลาดคาดการณ์ นอกจากนี้ในช่วงสัปดาห์แรกของเดือนพฤษภาคม ธนาคารกลางออสเตรเลียประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงซึ่งช่วยกดดันภาพรวมตลาดดอกเบี้ยของเอเชียให้ต่ำลง

ภาวะตลาดตราสารหนี้ไทย 11–22 เมษายน 2559

ในช่วงที่ผ่านมา ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักยกเว้นปอนด์ หลังธนาคารกลางยุโรป (ECB) มีมติคงนโยบายและมาตรการทางการเงินต่าง ๆ ตามเดิม แต่ระบุถึงโอกาสกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมหากจาเป็น นอกจากนี้นักลงทุนในตลาดยังคาดการณ์ว่า ธนาคารกลางญี่ปุ่นอาจผ่อนคลายนโยบายการเงินเพิ่มเติม ผ่านการใช้อัตราดอกเบี้ยติดลบกับโครงการปล่อยสินเชื่อให้แก่สถาบันการเงินต่าง ๆ

ภาวะตลาดตราสารหนี้ไทย 11-apr-22-apr-2559

ความเห็นของประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่ว่าเฟดควรดำเนินการอย่างระมัดระวังในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนั้น ทำให้ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี (10-Year US Treasury) ยังคงลดลงต่อมาอยู่ที่ 1.72% ต่อปี ณ วันศุกร์ที่ผ่านมา เมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อนที่ 1.79% ต่อปี

ภาวะตลาดตราสารหนี้ไทย 28 มีนาคม – 1 เมษายน 2559

ในช่วงกลางสัปดาห์ที่ผ่านมา ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้มีแถลงการณ์ถึงมุมมองเศรษฐกิจและนโยบายการเงิน ซึ่งยืนยันถึงการชะลอการขึ้นดอกเบี้ยในอัตราที่ช้าลงกว่าที่คาดไว้ตอนประชุมเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ทำให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนค่าลงมาเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักอื่น ๆ รวมถึงอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี (10-Year US Treasury) ลดลงเหลือ 1.79% ต่อปี เมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อนที่ 1.91% ต่อปี ตลาดพันธบัตรในเอเชียรวมถึงไทยจึงได้รับอานิสงส์ไปด้วย โดยปริมาณการซื้อขายพันธบัตรไทยในรอบสัปดาห์

ภาวะตลาดตราสารหนี้ไทย 21 – 25 มีนาคม 2559

คณะกรรมการนโยบายการเงินมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 1.50 ต่อปี ในวันพุธที่ผ่านมา โดยประเมินว่าเศรษฐกิจไทยยังคงฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป จากแรงสนับสนุนการใช้จ่ายของภาครัฐ การท่องเที่ยว และการลงทุนภาคเอกชนที่เพิ่มขึ้นในบางกลุ่มธุรกิจ แต่ในภาพรวมมีสัญญาณอ่อนแรงลงหลังจากผลชั่วคราวของมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายหมดลง ขณะที่มูลค่าการส่งออกสินค้ายังหดตัวสูงและมีแนวโน้มฟื้นตัวช้าจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าหลัก การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการค้าโลก และปัญหาความสามารถในการแข่งขันของไทย

ภาวะตลาดตราสารหนี้ไทย 14 – 18 มีนาคม 2559

ในสัปดาห์ที่ผ่านมา สำนักบริหารหนี้สาธารณะได้ออกแผนการประมูลพันธบัตรรัฐบาลสาหรับไตรมาสที่ 3 ของปีงบประมาณ 2559 ยอดรวมประมาณ 1.2 แสนล้านบาท ซึ่งมีปริมาณใกล้เคียงกับ 2 ไตรมาสก่อนหน้า ในขณะที่ปัจจัยจากตลาดต่างประเทศ ได้แก่ ผลการประชุมของธนาคารกลางญี่ปุ่นที่ยังคงใช้มาตรการทางการเงินในเชิงผ่อนคลาย และธนาคารกลางสหรัฐซึ่งคงดอกเบี้ยนโยบายและลดการคาดการณ์การปรับขึ้นดอกเบี้ยในปีนี้จาก 4 ครั้งลงเหลือ 2 ครั้ง นำไปสู่ค่าเงินสหรัฐฯ อ่อนค่าลงและ US Treasury Yield ลดลง

ภาวะตลาดตราสารหนี้ไทย 7 – 11 มีนาคม 2559

ช่วงต้นสัปดาห์พันธบัตร On-the-run ที่อายุน้อยกว่า 10 ปีไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก ในวันพุธมีการประมูลพันธบัตรรัฐบาลรุ่นที่อายุยาวที่สุด คือ 50 ปี อัตราผลตอบแทนเฉลี่ยอยู่ที่ 3.2490% ต่อปี ซึ่งลดลงประมาณ 0.25% จาก Indicative Yield ของวันก่อนหน้า ครั้งนี้เป็นการประมูลครั้งที่สองของพันธบัตรรุ่นนี้นับแต่ต้นปี โดยในครั้งแรกนั้นประมูลเมื่อกลางเดือนมกราคมและให้อัตราผลตอบแทนเฉลี่ยอยู่ที่ 3.7590% ต่อปี ในวันศุกร์ธนาคารแห่งประเทศไทยได้เข้ามาดำเนินการผ่านตลาดการเงิน

ภาวะตลาดตราสารหนี้ไทย 22 – 26 กุมภาพันธ์ 2559

นับตั้งแต่ต้นปี 2559 อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับลดลงในทุกช่วงอายุตราสาร โดยพันธบัตรระยะสั้นที่อายุน้อยกว่า 1 ปี ปรับลดลง 5-10 bps, พันธบัตรอายุ 1-10 ปีขึ้นไป ปรับลดลง 9-48 bps และพันธบัตรอายุ 10 ปีขึ้นไป ปรับลดลง 20-45 bps โดยมีสาเหตุหลักมาจากปัจจัยทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศ อันได้แก่ ความผันผวนในตลาดการเงินของประเทศจีน ราคาน้ำมันที่ปรับลดลง และทิศทางการดำเนินนโยบายการเงินของประเทศอุตสาหกรรมหลักที่แตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อเงินทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศและอัตราแลกเปลี่ยน

ภาวะตลาดตราสารหนี้ไทย 29 กุมภาพันธ์ – 4 มีนาคม 2559

ผลจาการประมูลพันธบัตรรัฐบาลรุ่นอายุประมาณ 10 ปี (On-the-run Government Bond) จำนวน 13,000 ล้านบาท ซึ่งมีนักลงทุนสนใจมากและมีเพียงหนึ่งรายที่ได้ไปทั้งจำนวน ทำให้ Sentiment ของตลาด Bond ในสัปดาห์แรกของเดือนมีนาคม โดยเฉพาะในช่วงปลายสัปดาห์กลับมาสู่การปรับตัวลดลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอีกครั้ง ซึ่งลดลงไปกว่าระดับต่ำสุดของเดือนกุมภาพันธ์ โดยในครั้งนั้นเกิดจากการที่นักลงทุนสถาบันปรับเปลี่ยนมุมมองในการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของ Fed ว่ามีโอกาสชะลอไปอยู่ในช่วงครึ่งหลังของปี

ภาวะตลาดตราสารหนี้ไทย 22 – 26 กุมภาพันธ์ 2559

นับตั้งแต่ต้นปี 2559 อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับลดลงในทุกช่วงอายุตราสาร โดยพันธบัตรระยะสั้นที่อายุน้อยกว่า 1 ปี ปรับลดลง 5-10 bps, พันธบัตรอายุ 1-10 ปีขึ้นไป ปรับลดลง 9-48 bps และพันธบัตรอายุ 10 ปีขึ้นไป ปรับลดลง 20-45 bps โดยมีสาเหตุหลักมาจากปัจจัยทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศ อันได้แก่ ความผันผวนในตลาดการเงินของประเทศจีน ราคาน้ำมันที่ปรับลดลง และทิศทางการดำเนินนโยบายการเงินของประเทศอุตสาหกรรมหลักที่แตกต่างกัน