ภาวะตลาดตราสารหนี้ไทย 11 กรกฎาคม – 15 กรกฎาคม 2559

ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมาอัตราผลตอบแทนในตราสารหนี้ไทยมีการเปลี่ยนแปลงทั้งเพิ่มขึ้นและลดลงอยู่ในช่วงแคบ ๆ 0.01-0.05% ต่อปี อัตราที่ปรับขึ้นได้รับอิทธิพลจากตลาดสหรัฐฯ ที่พันธบัตรอายุ 10 ปีปรับตัวขึ้นมาแตะที่ระดับ 1.60% ผลจากตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญหลายตัวออกมาดี เช่น จำนวนผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกทรงตัว / ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ในเดือนมิ.ย. เพิ่มขึ้น 0.5% ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนพ.ค. 2558 / ตัวเลขการเริ่มสร้างบ้านและการอนุญาตก่อสร้างในเดือนมิ.ย. เพิ่มขึ้นเกินคาด ทำให้ตลาดสัญญาล่วงหน้าอัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯ ส่งสัญญาณบ่งชี้ว่า นักลงทุนคาดว่ามีโอกาสเกือบ 50% ที่ FED จะปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายในเดือนธันวาคม และยังคงคาดการณ์แนวโน้มของดอลลาร์สหรัฐฯ ในทางบวกต่อไป ในขณะที่ธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยและคงวงเงินในโครงการซื้อพันธบัตรตามมาตรการ QE ในการประชุมครั้งแรกหลังเหตุการณ์ Brexit ซึ่งสวนทางกับกระแสการคาดการณ์ในตลาด

ส่วนการประมูลพันธบัตรรัฐบาลไทยรุ่นอายุ 6 ปีในช่วงกลางสัปดาห์ซึ่งได้รับการตอบรับดี อัตราผลตอบแทนอยู่ในช่วง 1.72-1.735% ต่อปี เฉลี่ยที่ 1.7272%, Bid-coverage ratio 2.47 เท่า และการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางมาเลเซียซึ่งสร้างความประหลาดใจให้กับตลาด ทำให้อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลไทยปรับลดลงมาได้บ้างจากแรงซื้อที่กลับเข้ามา สำหรับการประมูลพันธบัตรระยะสั้น อัตราผลตอบแทนปรับลดลงเล็กน้อย จากความต้องการพักเงินระยะสั้นก่อนช่วงวันหยุดยาว รวมถึงเงินไหลเข้าจากนักลงทุนต่างชาติ โดยตลอดทั้งสัปดาห์นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิจำนวน 5.97 พันล้านบาท ในจำนวนนี้เป็นการซื้อสุทธิพันธบัตรระยะสั้นถึง 6.08 พันล้านบาท

ภาวะตลาดตราสารหนี้ไทย 4 กรกฎาคม – 8 กรกฎาคม 2559

ผลจากเหตุการณ์ Brexit ทำให้นักลงทุนในตลาดทุนต่างคาดหวังว่า มีโอกาสที่ธนาคารกลางของประเทศต่าง ๆ จะมีนโยบายทางการเงินหรือเครื่องมือผ่อนคลายทางการเงินรอบใหม่ ทำให้ราคาสินทรัพย์ในเกือบทุกตลาดกลับมายืนที่ระดับก่อนเหตุการณ์ Brexit ได้ ทางด้านความเคลื่อนไหวของตลาดตราสารหนี้สหรัฐฯ ซึ่งมีอิทธิพลต่อตลาดเกิดใหม่หรือตลาดเอเชีย อัตราผลตอบแทนของ US Treasury 10-Year ปรับลดลงสู่ระดับต่ำสุดของปีที่ 1.37% ต่อปี ในวันศุกร์ที่ผ่านมา แม้ว่าจะมีตัวเลขเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งประกาศออกมาในวันศุกร์

ภาวะตลาดตราสารหนี้ไทย 27 มิถุนายน – 30 มิถุนายน 2559

ธนาคารแห่งประเทศไทยคาดว่าภาวะเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งหลังของปีจะขยายตัวดีขึ้น และมองว่าปี 2559 นี้จะสามารถเติบโตได้ตามเป้าหมายที่ 3.1% จากแรงขับเคลื่อนของภาครัฐเป็นหลัก รวมถึงสัญญาณเชิงบวกจากการลงทุนภาคเอกชนและภาคการท่องเที่ยว อย่างไรก็ดี ความเสี่ยงจากต่างประเทศมีมากขึ้น โดยเฉพาะผลกระทบจากกรณี Brexit ซึ่งยากต่อการประเมินในเวลานี้ ด้านกระทรวงพาณิชย์ รายงานดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปในเดือนมิ.ย. เพิ่มขึ้น 0.38% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ซึ่งนับเป็นการปรับขึ้นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน ขณะที่เงินเฟ้อพื้นฐานเพิ่มขึ้น 0.80%

ภาวะตลาดตราสารหนี้ไทย 20 มิถุนายน – 24 มิถุนายน 2559

ตลอดเกือบทั้งสัปดาห์ ภาวะตลาดตราสารหนี้ไทยค่อนข้างเงียบและมีการซื้อขายอย่างไม่มีทิศทางที่ชัดเจน ส่วนผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (MPC) ในวันพุธก็เป็นไปตามที่ตลาดคาดการณ์ กล่าวคือ มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 1.50 ต่อปี โดยคณะกรรมการฯ ประเมินว่า “แนวโน้มเศรษฐกิจยังฟื้นตัวต่อเนื่องและคาดว่าเงินเฟ้อจะกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายในช่วงครึ่งหลังของปี ในขณะที่ภาวะการเงินในปัจจุบันยังอยู่ในระดับที่ผ่อนคลายและเอื้อต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ

ภาวะตลาดตราสารหนี้ไทย 13 มิถุนายน – 17 มิถุนายน 2559

อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลไทยเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบแคบ ๆ ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากภาพรวมของตลาดต่างประเทศยังมีความกังวลเกี่ยวกับการลงประชามติของชาวอังกฤษในสัปดาห์หน้าที่จะตัดสินใจว่าจะออกจากสหภาพยุโรป (Brexit) หรือไม่ และข้อมูลหรือตัวเลขทางเศรษฐกิจประเทศต่าง ๆ ที่ยังไม่ฟื้นตัว ไม่ว่าจะเป็นผลการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่อัตราเดิม และคาดการณ์ว่าอาจปรับขึ้นดอกเบี้ยเพียง 1-2 ครั้งในปีนี้

ภาวะตลาดตราสารหนี้ไทย 6 มิถุนายน – 10 มิถุนายน 2559

ในสัปดาห์ที่ผ่านมาตลาดตราสารหนี้ไทยยังคงได้รับผลกระทบจาก Global Risk-off Sentiment ซึ่งต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อนหน้าที่ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ ออกมาน่าผิดหวัง และประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ ออกมาให้ความเห็นถึงการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างค่อยเป็นค่อยไปเพื่อรักษาเสถียรภาพทางการเงินและการจ้างงานในระยะยาว โดยไม่ได้มีการระบุถึงช่วงเวลาที่แน่นอนในการปรับขึ้นดอกเบี้ย นอกจากนี้ นักลงทุนในตลาดมีความกังวลเกี่ยวกับการลงประชามติของชาวอังกฤษที่จะตัดสินใจว่าจะออกจากสหภาพยุโรป (Brexit)

ภาวะตลาดตราสารหนี้ไทย 30 พฤษภาคม – 3 มิถุนายน 2559

ในช่วงต้นสัปดาห์ หลังจากข่าวที่ประธานธนาคารกลางสหรัฐ ออกมาให้ความเห็นในเชิงที่มีแนวโน้มการขึ้นดอกเบี้ยในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าหากเศรษฐกิจสหรัฐฯ สามารถขยายตัวตามที่ประเมินไว้และมีการจ้างงานแข็งแกร่งต่อเนื่อง ทำให้ตลาดมองไปถึงโอกาสการขึ้นดอกเบี้ยอีกครั้งในเดือน มิ.ย.หรือ ก.ค. นี้ และนำมาซึ่งค่าเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ส่งผลให้นักลงทุนสถาบันขายพันธบัตรออกมาเพื่อปรับสถานะในทุกช่วงอายุ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยจึงปรับขึ้นโดยเฉพาะรุ่นอายุ 5-15 ปี ปรับขึ้น 0.17-0.25% ต่อปี

ภาวะตลาดตราสารหนี้ไทย 23 พฤษภาคม – 27 พฤษภาคม 2559

ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมามีรายงานตัวเลขเศรษฐกิจของไทยออกมาไม่ดี โดยกระทรวงพาณิชย์รายงานการส่งออกในเดือนเมษายนมีมูลค่า 15,545 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัว 8.0% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยปัจจัยหลักมาจากราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลกที่ลดลง การหดตัวของการส่งออกรถยนต์ ชิ้นส่วนประกอบและเครื่องคอมพิวเตอร์ รวมทั้งเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่ชะลอตัว ส่งผลให้ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมามูลค่าการส่งออกหดตัว 1.24% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า

ภาวะตลาดตราสารหนี้ไทย 16 พฤษภาคม – 19 พฤษภาคม 2559

ในช่วงต้นสัปดาห์ มีการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรกของปี 2559 ที่ขยายตัวได้ร้อยละ 3.2 เมื่อเทียบกับร้อยละ 2.8 ในไตรมาสก่อนหน้าและเป็นการขยายตัวในอัตราสูงสุดในรอบ 12 ไตรมาส ประกอบกับค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงมาก หลังรายงานการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ ระบุข้อความว่าเศรษฐกิจอเมริกามีแนวโน้มการเติบโตอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมสำหรับการขึ้นดอกเบี้ยในเดือนมิถุนายนนี้ ทำให้นักลงทุนต่างชาติและนักลงทุนสถาบันต่างมีความต้องการขายพันธบัตร อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลจึงปรับขึ้นในทุกช่วงอายุ

ภาวะตลาดตราสารหนี้ไทย 9-13 พฤษภาคม 2559

ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลของไทยไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงนัก โดยซื้อขายอยู่ในช่วง +/- 2 bps เมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อนหน้า ไม่มีการเคลื่อนไหวของนักลงทุนสถาบันมากนักซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากการรอผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินในวันพุธที่ 11 พฤษภาคม อย่างไรก็ตาม ผลการประชุมที่มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 1.50 ต่อปีนั้น ไปเป็นตามที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ได้คาดการณ์ไว้