ภาวะตลาดตราสารหนี้ไทย – สิงหาคม 2565

ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) มีมติคงนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายต่อเนื่อง ด้วยการคงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นที่
-0.1% ควบคุมอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปีที่ใกล้ศูนย์ และคงการเข้าซื้อพันธบัตรไม่จำกัดที่ 0.25% ด้านมาตรการซื้อสินทรัพย์ คณะกรรมการฯ มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงการซื้อ ETFs ไม่เกิน 12 ล้านล้านเยนและ J-REITs ไม่เกิน 1.8 แสนล้านเยนต่อปี และซื้อตราสารหนี้ภาคเอกชนในปริมาณใกล้เคียงกับช่วงก่อนโควิด-19 โดย BOJ ยืนยันคงดอกเบี้ยนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายต่อเนื่อง เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจ และเสถียรภาพในตลาดการเงิน จนกว่าเงินเฟ้อจะเข้าสู่เป้าหมายที่ 2% อย่างมีเสถียรภาพ และพร้อมดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเพิ่มเติมหากจำเป็น โดยในระยะข้างหน้าประเมินว่าอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นและระยะยาวจะยังคงอยู่ในระดับใกล้เคียงหรือต่ำกว่าปัจจุบัน ทางด้านการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ BOJ ประเมินว่าเศรษฐกิจกำลังฟื้นตัวต่อเนื่อง จากการใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นตามรายได้ยังคงเป็นปัจจัยสนับสนุนเศรษฐกิจ แม้จะเผชิญการแพร่ระบาดของโควิด-19 วิกฤตอุปทาน และผลกระทบจากสงครามรัสเซียยูเครน ที่ส่งผลกระทบให้เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มชะลอลง และเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ปรับลดคาดการณ์ GDP ญี่ปุ่นในปีนี้ลงเหลือ 2.4% จาก 2.9% อย่างไรก็ตาม ได้ปรับเพิ่มคาดการณ์ GDP ปี 2023 และ ปี 2024 ขึ้นเล็กน้อยเป็น 2.0% และ 1.3% จาก 1.9% และ 1.1% ตามลำดับ ส่วนเงินเฟ้อได้เพิ่มคาดการณ์เป็น 2.3% ในปีนี้ จากเดิมที่ 1.9% พร้อมปรับเพิ่มคาดการณ์เงินเฟ้อในปี 2023 และ 2024 เป็น 1.4% และ 1.3% ตามลำดับ จาก 1.1% จากผลของราคาสินค้านำเข้าที่เพิ่มขึ้น และการส่งผ่านต้นทุนพลังงานเป็นหลัก

ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 50bps เป็นการขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกในรอบ 11 ปีและเป็นการออกจากดอกเบี้ยติดลบในรอบ 8 ปี โดยมีมติเป็นเอกฉันท์ให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก (Deposit facility) จาก -0.50% ไปอยู่ที่ 0.00% อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ (Marginal lending facility) จาก 0.25% ไปอยู่ที่ 0.75% และอัตราดอกเบี้ย Main refinancing operations จาก 0.00% ไปอยู่ที่ 0.50% และส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่องในการประชุมต่อไป โดยจะตัดสินใจในแต่ละการประชุมบนพื้นฐานของข้อมูลขณะนั้นเป็นหลัก และอาจไม่ส่งสัญญาณล่วงหน้าถึงระดับในการปรับในรอบต่อไป นอกจากนี้ยังอนุมัติ Transmission Protection Instrument (TPI) เครื่องมือใหม่เพื่อช่วยการส่งผ่านของนโยบายการเงินอย่างราบรื่นทั่วทั้งยุโรป และเพื่อช่วยเรื่องอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่ปรับขึ้นแตกต่างกันของแต่ละประเทศ การเข้าซื้อของเครื่องมือ TPI ขึ้นอยู่กับความเสี่ยงของแต่ละประเทศ และสามารถทำได้โดยไม่มีข้อจำกัดจากการคาดการณ์ โดยจะเข้าซื้อในสินทรัพย์ที่มีอายุ 1-10 ปี

ภาวะตลาดหุ้นไทย – สิงหาคม 2565

SET index เดือนสิงหาคม 2565 ปิดที่ระดับ 1,638.93 จุด เพิ่มขึ้น 3.97% จากเดือนก่อน กลับมาทะลุ 1,600 จุด โดยนักลงทุนต่างชาติได้เข้าซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ถึง 5.7 หมื่นล้านบาท มากกว่าเดือนก่อนหน้าที่ซื้อสุทธิเพียง 4.7 พันล้าน

สำหรับปัจจัยภายในปัจจัยแรกที่สนับสนุนการปรับตัวขึ้นของตลาด คือผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่ประกาศกำไรสุทธิในไตรมาส 2 ที่ 3.41 แสนล้านบาท เติบโต 15.3% YoY 36.1% QoQ โดยกลุ่มที่มีกำไรเติบโตโดดเด่น ได้แก่ กลุ่มพลังงาน กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ กลุ่มอาหาร กลุ่มท่องเที่ยว และกลุ่มสื่อและสิ่งพิมพ์ ส่วนกลุ่มที่กำไรมีการหดตัว ได้แก่ กลุ่มเกษตร และกลุ่มเหล็ก จากผลประกอบการที่ฟื้นตัวโดดเด่น ทำให้นักวิเคราะห์มีการปรับประมาณการกำไรของปี 2565 เพิ่มขึ้นอีก 6.24% ถัดมาคือเรื่องของทิศทางอัตราดอกเบี้ยของไทยที่ กนง.ส่งสัญญาณปรับขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป ทำให้ภาพรวมนโยบายการเงินไทยถือว่าไม่ได้ตึงตัวมากจนส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษกิจ และท้ายที่สุดคือการฟื้นตัวของนักท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มฟื้นตัวได้ดีกว่าคาดในช่วงครึ่งปีหลัง หลังจากทาง ศคบ. ได้ปรับระดับโควิด-19 จากโรคติดต่อร้ายแรงเป็นเฝ้าระวัง และผ่อนคลายมาตรการกักกันต่าง ๆ ลง ทำให้แนวโน้มการฟื้นตัวของจำนวนนักท่องเที่ยวดีกว่าที่คาดการณ์ไว้ และมีโอกาสกลับไปสู่ระดับก่อนการระบาดเร็วขึ้นกว่าประมาณการเดิม คือจากปลายปี 2567 เป็นปลายปี 2566

ส่วนปัจจัยภายนอกที่สนับสนุนการฟื้นตัวของตลาด ได้แก่ ตัวเลขอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ประจำเดือนกรกฎาคม ที่8.5% ปรับตัวลดลงจาก 9.1% ในเดือนมิถุนายน ทำให้นักลงทุนคาดการณ์ว่าสถานการณ์เงินเฟ้อได้ผ่านจุดสูงสุดไปแล้ว และมองว่าการเร่งเพิ่มอัตราดอกเบี้ยของ FED ที่ 75 bps จะเป็นการเพิ่มอย่างรุนแรงครั้งสุดท้ายและจะลดระดับการเพิ่มขึ้นในการประชุมครั้งต่อ ๆ ไป อย่างไรก็ตาม จากงานสัมมนาประจำปีที่ Jackson Hole กรรมการ FED ได้แสดงความมุ่งมั่นที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไป จนกว่าจะมั่นใจว่าเงินเฟ้อจะปรับลดลงอยู่ในระดับที่เหมาะสมที่ 2% FED ยังคงเน้นย้ำความสำคัญของการรักษาเสถียรภาพราคามากกว่าผลต่อเศรษฐกิจ ทำให้ตลาดเริ่มกลับมามีความกังวลว่า FED อาจจะใช้นโยบายการเงินเข้มงวดนานกว่าที่ตลาดคาดไว้ ส่วนปัจจัยภายนอกที่สร้างความผันผวนต่อการฟื้นตัวในช่วงเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ได้แก่ ความขัดแย้งบริเวณช่องแคบไต้หวัน หลังจากนางแนนซี เพโลซี ประธานสภาผู้แทนราษฎร ของสหรัฐฯ ได้เดินทางเยือนไต้หวันโดยไม่สนใจคำเตือนของทางการจีนที่เรียกร้องให้สหรัฐฯยึดมั่นในหลักการจีนเดียว โดยทางการจีนได้ตอบโต้การเยือนไต้หวันในครั้งนี้ด้วยการซ้อมรบด้วยกระสุนจริงรอบเกาะไต้หวัน ทำให้ตลาดกังวลว่าจะไปซ้ำเติมภาวะติดขัดของห่วงโซ่อุปทาน อย่างไรก็ตาม ประเด็นความเสี่ยงดังกล่าวก็ได้คลี่คลายลงและเป็นเพียงปัจจัยระยะสั้นที่เข้ามารบกวนในช่วงเดือนที่ผ่านมา

สรุปในเดือนที่ผ่านมา หุ้นกลุ่มที่ให้ผลตอบแทนมากที่สุด คือกลุ่มพลังงาน +5.3% กลุ่มการแพทย์ +5.1% และกลุ่มผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ +4.4% โดยมีกลุ่มที่ปรับตัวลง ได้แก่ กลุ่มสื่อและสิ่งพิมพ์ -1.8% กลุ่มการเงิน -1.1% และกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง -1.0% โดยนักลงทุนต่างชาติยังคงซื้อสุทธิถึง 5.7 หมื่นล้านบาท นักลงทุนทั่วไปภายในประเทศขายสุทธิ 3.4 หมื่นล้านบาท บัญชีหลักทรัพย์ขายสุทธิ 0.3 หมื่นล้านบาท และนักลงทุนสถาบันภายในประเทศขายสุทธิ 1.9 หมื่นล้านบาท

ภาวะตลาดหุ้นไทย – กรกฎาคม 2565

SET index เดือนกรกฎาคม 2565 ปิดที่ระดับ 1,576.41 จุด เพิ่มขึ้น 0.52% จากเดือนก่อน ตลาดหุ้นไทยในช่วงครึ่งแรกของเดือนเป็นไปในทิศทางปรับลง จากความกังวลเศรษฐกิจถดถอยของกลุ่มประเทศตะวันตก การกลับมาพบผู้ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์โอมิครอนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนต้องล็อกดาวน์บางเมืองในจีน รวมทั้งปัญหาราคาพลังงานที่ยังคงอยู่ในระดับสูง กดดันให้ SET ปรับลงไปทำจุดต่ำสุดของปีที่บริเวณ 1,517 จุดก่อนที่จะค่อย ๆ ฟื้นตัวขึ้นในช่วงครึ่งหลังของเดือน โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการรายงานผลประกอบการไตรมาสที่ 2 ของบริษัทจดทะเบียนในสหรัฐที่ออกมาดีกว่าคาด การลดลงของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ รวมทั้งประธาน Fed สาขาต่าง ๆ เริ่มส่งสัญญาณชะลอการขึ้นดอกเบี้ยรุนแรง

สำหรับในช่วง 3 สัปดาห์แรกของเดือนกรกฎาคม SET index ได้ปรับลงไปทำจุดต่ำสุดของปีที่บริเวณ 1,517 จุด จากแรงกัดดันจากภายนอก ได้แก่ (1) ความกังวลต่อเศรษฐกิจถดถอยทั้งในสหรัฐอเมริกาและหลายประเทศในยุโรป โดยความกังวลได้สะท้อนออกมาที่ Bond Yield สหรัฐอเมริกา อายุ 2 ปี และ 10 ปี ที่มีลักษณะเป็น Inverted Yield Curve อันเนื่องมาจากความต้องการลงทุนในพันธบัตรระยะยาวเพื่อลดความเสี่ยงจากภาวะเศรษฐกิจที่อาจจะเข้าสู่ภาวะถดถอย (2) การกลับมาเพิ่มขึ้นของผู้ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์โอมิครอนในจีน และทำให้จีนยังคงต้อง Lockdown บางเมือง ซึ่งนำมาสู่การชะลอตัวของการบริโภค และทำให้ปัญหาห่วงโซ่อุปทานยังไม่บรรเทาลง (3) ความกังวลต่อราคาพลังงานที่ยังอยู่ในระดับสูง ซึ่งเป็นผลจากความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน โดยล่าสุดทางรัสเซียได้ลดปริมาณการส่งแก๊สผ่านทางท่อ Nord Stream ลง สร้างแรงกดดันให้ประเทศในยุโรปต้องหาแหล่งพลังงานอื่นมาทดแทนเพื่อรองรับกับหน้าหนาวที่กำลังจะมาถึง

อย่างไรก็ตาม SET index ฟื้นตัวขึ้นในช่วงครึ่งหลังของเดือน โดยมีปัจจัยภายนอกเป็นแรงสนับสนุน ทั้งผลประกอบการในไตรมาสที่ 2 ของบริษัทจดทะเบียนในสหรัฐอเมริกาที่ออกมาดีกว่าคาด การลดลงของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ นำโดยราคาน้ำมันที่แกว่งตัวในช่วงต้นเดือนที่ประมาณ $120/Barrel ได้ปรับลดลงมาอยู่ในช่วง $100/Barrel รวมทั้งประธาน Fed สาขาต่าง ๆ เริ่มส่งสัญญาณชะลอการขึ้นดอกเบี้ยรุนแรง เนื่องจากมีสัญญาณบวกจากความคาดหวังเงินเฟ้อระยะยาวผู้บริโภคในสหรัฐอเมริกาได้ปรับตัวลดลงเหลือ 2.8% ต่ำสุดในรอบ 1 ปี โดยในการประชุมครั้งล่าสุดช่วงปลายเดือน Fed ประกาศขึ้นดอกเบี้ยที่ 0.75% และนักลงทุนเริ่มมองว่าการขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างรุนแรงของ Fed ได้ผ่านไปแล้ว เนื่องจากในระยะเวลาต่อไป Fed คงไม่ขึ้นอัตราดอกเบี้ยถึงระดับ 0.75% อีก นอกจากนี้ SET index ยังได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการรายงานผลประกอบการไตรมาสที่ 2 ของไทย ซึ่งเท่าที่ประกาศออกมาส่วนใหญ่จะดีกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ โดยเฉพาะ DELTA ที่รายงานผลประกอบการดีกว่าคาดการณ์ไว้มาก ส่งผลให้ SET index สามารถกลับไปปิดที่ระดับ 1,576.41 จุด เพิ่มขึ้น 0.52% จากเดือนก่อน

สรุปในเดือนที่ผ่านมา หุ้นกลุ่มที่ให้ผลตอบแทนมากที่สุด คือ กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ +31.6% นำโดย DELTA ที่ผลประกอบการออกมาดีกว่าตลาดคาดมาก กลุ่มการแพทย์ +4.7% และกลุ่มพลังงานและสาธารณูปโภค +1.1% ในขณะที่กลุ่มที่มีการปรับตัวลดลงได้แก่ กลุ่มสื่อและสิ่งพิมพ์ -7.9% กลุ่มการท่องเที่ยวและสันทนาการ -6.3% และกลุ่มประกันภัยและประกันชีวิต -6.1% ในเดือนนี้ นักลงทุนต่างชาติกลับมาซื้อสุทธิอีกครั้ง ที่ 4.7 พันล้านบาท เทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ขายสุทธิ 2.9 หมื่นล้านบาท เช่นเดียวกับนักลงทุนทั่วไปภายในประเทศที่ซื้อสุทธิ 5.5 พันล้านบาท ในขณะที่บัญชีหลักทรัพย์ขายสุทธิ 0.4 พันล้านบาท นักลงทุนสถาบันภายในประเทศขายสุทธิ 9.8 พันล้านบาท

ภาวะตลาดตราสารหนี้ไทย – กรกฎาคม 2565

ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) มีมติคงนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายต่อเนื่อง ด้วยการคงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นที่
-0.1% ควบคุมอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปีที่ใกล้ศูนย์ และคงการเข้าซื้อพันธบัตรไม่จำกัดที่ 0.25% ด้านมาตรการซื้อสินทรัพย์ คณะกรรมการฯ มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงการซื้อ ETFs ไม่เกิน 12 ล้านล้านเยนและ J-REITs ไม่เกิน 1.8 แสนล้านเยนต่อปี และซื้อตราสารหนี้ภาคเอกชนในปริมาณใกล้เคียงกับช่วงก่อนโควิด-19 โดย BOJ ยืนยันคงดอกเบี้ยนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายต่อเนื่อง เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจ และเสถียรภาพในตลาดการเงิน จนกว่าเงินเฟ้อจะเข้าสู่เป้าหมายที่ 2% อย่างมีเสถียรภาพ และพร้อมดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเพิ่มเติมหากจำเป็น โดยในระยะข้างหน้าประเมินว่าอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นและระยะยาวจะยังคงอยู่ในระดับใกล้เคียงหรือต่ำกว่าปัจจุบัน ทางด้านการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ BOJ ประเมินว่าเศรษฐกิจกำลังฟื้นตัวต่อเนื่อง จากการใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นตามรายได้ยังคงเป็นปัจจัยสนับสนุนเศรษฐกิจ แม้จะเผชิญการแพร่ระบาดของโควิด-19 วิกฤตอุปทาน และผลกระทบจากสงครามรัสเซียยูเครน ที่ส่งผลกระทบให้เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มชะลอลง และเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ปรับลดคาดการณ์ GDP ญี่ปุ่นในปีนี้ลงเหลือ 2.4% จาก 2.9% อย่างไรก็ตาม ได้ปรับเพิ่มคาดการณ์ GDP ปี 2023 และ ปี 2024 ขึ้นเล็กน้อยเป็น 2.0% และ 1.3% จาก 1.9% และ 1.1% ตามลำดับ ส่วนเงินเฟ้อได้เพิ่มคาดการณ์เป็น 2.3% ในปีนี้ จากเดิมที่ 1.9% พร้อมปรับเพิ่มคาดการณ์เงินเฟ้อในปี 2023 และ 2024 เป็น 1.4% และ 1.3% ตามลำดับ จาก 1.1% จากผลของราคาสินค้านำเข้าที่เพิ่มขึ้น และการส่งผ่านต้นทุนพลังงานเป็นหลัก

ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 50bps เป็นการขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกในรอบ 11 ปีและเป็นการออกจากดอกเบี้ยติดลบในรอบ 8 ปี โดยมีมติเป็นเอกฉันท์ให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก (Deposit facility) จาก -0.50% ไปอยู่ที่ 0.00% อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ (Marginal lending facility) จาก 0.25% ไปอยู่ที่ 0.75% และอัตราดอกเบี้ย Main refinancing operations จาก 0.00% ไปอยู่ที่ 0.50% และส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่องในการประชุมต่อไป โดยจะตัดสินใจในแต่ละการประชุมบนพื้นฐานของข้อมูลขณะนั้นเป็นหลัก และอาจไม่ส่งสัญญาณล่วงหน้าถึงระดับในการปรับในรอบต่อไป นอกจากนี้ยังอนุมัติ Transmission Protection Instrument (TPI) เครื่องมือใหม่เพื่อช่วยการส่งผ่านของนโยบายการเงินอย่างราบรื่นทั่วทั้งยุโรป และเพื่อช่วยเรื่องอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่ปรับขึ้นแตกต่างกันของแต่ละประเทศ การเข้าซื้อของเครื่องมือ TPI ขึ้นอยู่กับความเสี่ยงของแต่ละประเทศ และสามารถทำได้โดยไม่มีข้อจำกัดจากการคาดการณ์ โดยจะเข้าซื้อในสินทรัพย์ที่มีอายุ 1-10 ปี

ภาวะตลาดตราสารหนี้ไทย – มิถุนายน 2565

การประชุมนโยบายการงินของสหรัฐฯ (FOMC) ในเดือนนี้ คณะกรรมการได้พิจารณาปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ย 0.50% ทำให้อัตราดอกเบี้ยมาอยู่ที่ 0.75%-1.00% และส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ย 0.50% ต่อเนื่องในอีกสองการประชุมข้างหน้า รวมถึงมองว่าเป็นความสำคัญที่จะปรับขึ้นดอกเบี้ยไปที่จุดสมดุล และอาจจำเป็นที่จะปรับขึ้นจนถึงจุดที่ตึงตัวได้ตามสถานการณ์ของเศรษฐกิจ อย่างไรก็ดี คณะกรรมการมีความกังวลต่อความเสี่ยงของระบบการเงินและสภาพคล่องในตลาด สุดท้ายแล้ว คณะกรรมการยังได้ให้คำมั่นถึงความพยายามในการปรับลดเงินเฟ้อเข้าสู่ระดับเป้าหมายที่ 2% อย่างมีเสถียรภาพ ในด้านกระบวนการลดขนาดงบดุล หรือ QT คณะกรรมการระบุจะเริ่มต้นในวันที่ 1 มิ.ย. ในอัตราเดือนละ USD47.5bn (แบ่งเป็น Treasury เดือนละ USD30bn และ MBS เดือนละ USD17.5bn) และจะทยอยปรับขึ้นในเวลา 3 เดือน สู่ระดับ USD95bn (แบ่งเป็น Treasury เดือนละ USD60bn และ MBS เดือนละ USD35bn) ตามแผนเดิมที่ได้ส่งสัญญาณไว้ โดยแถลงการณ์ระบุว่า FED ตั้งใจที่จะชะลอและยุติการลดขนาดงบดุลเมื่อดุลเงินสำรอง (Reserve Balance) อยู่เหนือระดับที่ FED มองว่าเป็นระดับที่เพียงพอ ทางด้านการประเมินเศรษฐกิจ คณะกรรมการมองว่า แม้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะติดลบในไตรมาสที่ 1 แต่อุปสงค์ภายในประเทศดีกว่าในไตรมาสก่อนหน้า การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวดีในไตรมาสแรก การลงทุนสินค้าคงคลังปรับลดลงหลังจากเพิ่มขึ้นสูงในไตรมาสที่ 4 ของปีที่แล้ว คณะกรรมการคาดการณ์เศรษฐกิจจะขยายตัวในไตรมาสที่ 2 รวมถึงโตต่อเนื่องสำหรับช่วงที่เหลือของปี และชะลอลงในปี 2023 และ 2024 ตามการเริ่มถอนนโยบายช่วยเหลือต่างๆ และการตึงตัวของภาคการเงิน

ธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) มีมติ 6-3 ปรับดอกเบี้ยขึ้น 25bps สู่ระดับ 1% ตามคาดการณ์ของตลาด ซึ่งนับเป็นการปรับขึ้นต่อเนื่อง 4 รอบการประชุมสู่ระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2009 โดยคณะกรรมการ 3 ท่านที่เห็นต่างมองว่าควรปรับขึ้นไป 50bps สู่ระดับ 1.25% นอกจากนี้ คณะกรรมการระบุจะเริ่มพิจารณาการขายสินทรัพย์ที่เข้าซื้อในมาตรการ QE โดยคาดจะมีรายละเอียดมากขึ้นในเดือน ส.ค. BOE มีมุมมองต่อเศรษฐกิจแย่ลงอย่างมาก ท่ามกลางการเพิ่มขึ้นมากของราคาพลังงานที่หนุนเงินเฟ้อและกดดันความสามารถในการใช้จ่ายของผู้บริโภค โดยคาดเศรษฐกิจอังกฤษจะหดตัวราว -1.0% ในไตรมาส 4/2022 และคาดเศรษฐกิจปี 2023 จะหดตัว -0.25% (ลดลงจากที่คาดขยายตัว 1.25% ในเดือน ก.พ.) และจะขยายตัวเพียง 0.25% ในปี 2024 (ลดลงจากที่คาดขยายตัว 1.0% ในเดือน ก.พ.) ทางด้านเงินเฟ้อ BOE คาดจะขยายตัวทำจุดสูงสุดเหนือระดับ 10% เล็กน้อยในไตรมาส 4 สูงสุดนับตั้งแต่ปี 1982 เพิ่มขึ้นจากที่คาดไว้เมื่อเดือน ก.พ. ว่าจะขยายตัวทำจุดสูงสุดที่ 7.25% ในไตรมาส 2 โดยเงินเฟ้อเดือน มี.ค. ขยายตัว 7.0% ซึ่ง BOE คาดจะเร่งตัวขึ้นเป็น 9.1% ในเดือน เม.ย. อย่างไรก็ดี BOE คาดเงินเฟ้อจะชะลอลงอย่างรวดเร็วหลังทำจุดสูงสุด โดยคาดจะขยายตัวลดลงเป็น 2.1% ในช่วง 2 ปีข้างหน้า (ปี 2024) และลดลงเป็น 1.3% ในช่วง 3 ปีข้างหน้า (ปี 2025) ต่ำกว่าเป้าหมายที่ 2% ทั้งนี้ คณะกรรมการ BOE มีความเห็นต่างมากขึ้นในแนวโน้มของดอกเบี้ยในระยะข้างหน้า โดยแถลงการณ์ระบุคณะกรรมการ ‘บางท่าน’ ตัดสินว่าการเพิ่มความเข้มงวดในนโยบายการเงินเพิ่มเติมอาจยังมีความเหมาะสมในเดือนข้างหน้า ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปจากเมื่อเดือน มี.ค. ที่ระบุคณะกรรมการส่วนใหญ่เห็นว่าการเพิ่มความเข้มงวดในนโยบายการเงินเพิ่มเติมอาจมีความเหมาะสม

ภาวะตลาดหุ้นไทย – มิถุนายน 2565

ในเดือนมิถุนายน 2565 SET Index ปรับตัวลดลง 5.7% สู่ระดับ 1,568.33 จุด โดยเป็นการปรับตัวลงแรงช่วง 2 สัปดาห์แรกของเดือนจากปัจจัยกดดันจากภายนอก คือ ปัญหาเงินเฟ้อ จากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาที่ยังออกมาร้อนแรงและราคาน้ำมันกลับมาเร่งตัวขึ้นมาอยู่ที่ระดับ $120 ต่อบาร์เรล ซึ่งท้ายที่สุดรายงานเงินเฟ้อของสหรัฐอเมริกาประจำเดือน พฤษภาคม 2565 ออกมาสูงถึง 8.6% YoY สูงสุดในรอบ 40 ปี และมากกว่าตลาดคาดไว้ที่ 8.3%

นอกจากแรงกดดันในเรื่องของการลดงบดุลของ Fed ที่เริ่มต้นในเดือนมิถุนายนในวงเงิน 4.75 หมื่นล้านเหรียญฯ/เดือน และจะเพิ่มเป็น 9.5 หมื่นล้านเหรียญฯ/เดือน ตั้งแต่เดือนกันยายน เป็นต้นไป ตลาดยังปรับมุมมองคาดการณ์การปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของ Fed ที่เร่งตัวขึ้นอย่างมากในรอบการประชุมที่เหลือของปี และจะสร้างแรงกดดันเพิ่มเติมในด้านสภาพคล่องที่ถูกดึงออกเร็วขึ้น โดย Fed มีการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 75 bps ในรอบประชุมมิถุนายน และคาดว่าจะปรับเพิ่มอีก 75 bps ในรอบประชุมกรกฎาคม โดยปรับจากเดิมที่ตลาดคาดว่าจะเพิ่มครั้งละ 50 bps

ส่วนปัจจัยกดดันภายใน ได้แก่ ตัวเลขเงินเฟ้อเดือนพฤษภาคมของไทยอยู่ที่ 7.1% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2552 เป็นประเด็นที่นักลงทุนเชื่อว่าจะกดดันให้ธนาคารแห่งประเทศไทยต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วงที่เหลือของปีนี้อีกอย่างน้อย 25 bps โดยในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินครั้งล่าสุด มีคณะกรรมการ 3 คน จากทั้งหมด 7 คน มีความเห็นให้ขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 25 bps นอกจากนี้ กลุ่มพลังงานซึ่งเป็นกลุ่มที่มีมูลค่าตลาดสูงสุดยังเผชิญกับความกังวลต่ออุปสงค์ที่อาจจะชะลอลงตามภาวะเศรษฐกิจ และเรื่องที่รัฐบาลขอความร่วมมือให้โรงกลั่นนำส่งกำไรส่วนเกินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน เพื่อนำเงินดังกล่าวอุดหนุนราคาเชื้อเพลิงในประเทศ

อย่างไรก็ตาม ในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของเดือน SET Index มีการฟื้นตัวขึ้นเล็กน้อย หลังจากไม่มีประเด็นสร้างความเสี่ยงตลาดเพิ่มเติม และเริ่มมีปัจจัยบวกเข้ามา ได้แก่ จีนเริ่มผ่อนคลายนโยบาย Zero Covid Strategy ลดจำนวนวันกักตัวของผู้ที่เดินทางเข้าประเทศจีน ขณะที่ปริมาณนักท่องเที่ยวต่างชาติมาไทยเริ่มเห็นสัญญาณฟื้นตัวดีกว่าที่คาดไว้ ส่งผลให้หุ้นกลุ่มการท่องเที่ยวและสันทนาการปรับตัวขึ้น โดยเฉพาะเมื่อได้ประเด็นสนับสนุนจากเรื่อง ครม.อนุมัติให้ยกเว้นการลงทะเบียน Thailand Pass ของชาวต่างชาติ และอนุมัติมาตรการภาษีแก่บริษัทเอกชน โดยให้นำค่าใช้จ่ายท่องเที่ยว อบรม สัมมนา จัดงาน ในเมืองหลักมาหักภาษี โดยหุ้นกลุ่มการท่องเที่ยวและสันทนาการที่ให้ผลตอบแทนเป็นบวกที่ 4.3% ในขณะที่หุ้นกลุ่มอื่น ๆ ให้ผลตอบแทนติดลบ นำโดยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร -12.99% กลุ่มพาณิชย์ -10.2% และกลุ่มเงินทุนและหลักทรัพย์ -9.9% ในเดือนนี้ นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 29,378 ล้านบาท บัญชีหลักทรัพย์ขายสุทธิ 3 ล้านบาท ในขณะที่นักลงทุนสถาบันภายในประเทศซื้อสุทธิ 1,878 ล้านบาท และนักลงทุนทั่วไปภายในประเทศซื้อสุทธิ 27,513 ล้านบาท

ทำความรู้จักกับเครื่องมือบริหารสภาพคล่องของกองทุนรวม

กองทุนรวมในประเทศไทยมีอัตราการเติบโตสูงขึ้นมากปัจจุบันมีมูลค่าทั้งสิ้น ประมาณ 5 ล้านล้านบาท ข้อมูล ณ วันที่ 29 เมษายน 2565 ซึ่งคิดเป็นประมาณร้อยละ 30 ของ GDP กองทุนรวมจึงมีบทบาทสำคัญต่อสภาพคล่องในระบบการเงินในประเทศรองจากเงินฝากในธนาคารพาณิชย์ ดังนั้น สำนักงาน ก.ล.ต. ซึ่งเป็นหน่วยงานกำกับดูแลด้านการลงทุนจึงได้ออกมาตรการเพื่อยกระดับการบริหารความเสี่ยงด้านสภาพคล่องของกองทุนรวมให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ใน ปี 2565 นี้

ภาวะตลาดหุ้นไทย – พฤษภาคม 2565

ในเดือนพฤษภาคม 2565 SET Index ปรับตัวลดลง 0.24% สู่ระดับ 1,663.41 จุด โดยปรับตัวลงมากในช่วงครึ่งเดือนแรก จากความกังวลเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับสูงมาก และกังวลว่า Fed จะเร่งใช้นโยบายการเงินที่ตึงตัวมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ในช่วงครึ่งเดือนหลัง SET Index มีการปรับตัวขึ้น จากการที่ Fed ประกาศจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.50% ตามที่เคยประกาศไว้ การที่จีนมีแนวโน้มจะคลายการ Lockdown การประกาศผลประกอบการไตรมาสที่ 1/2565 ของบริษัทจดทะเบียนที่ดีกว่าคาด และการที่รัฐบาลผ่อนคลายมาตรการการเดินทางเข้าประเทศมากขึ้น

ในเดือนพฤษภาคม 2565 ตลาดหุ้นไทยยังถูกกดดันจากปัจจัยภายนอกในประเด็นอัตราเงินเฟ้อที่ยังคงเพิ่มขึ้นมากในสหรัฐฯ และทำให้มีความกังวลว่า Fed จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายมากขึ้นกว่าที่คาดการณ์เดิม เป็น 0.75% ประกอบกับประเทศไทยมีวันหยุดหลายวันในช่วงครึ่งแรกของเดือน ทำให้นักลงทุนมีการขายหุ้นเพื่อถือเงินสดมากขึ้น อย่างไรก็ตาม เมื่อ Fed ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพียง 0.50% และมีโอกาสขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายครั้งละ 0.50% อีก 1-2 ครั้ง โดยไม่มีความตั้งใจจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายครั้งละ 0.75% รวมถึงการประกาศลดงบดุล (Quantitative Tightening) ลงเดือนละ $4.75 หมื่นล้านตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2565 และจะเพิ่มเป็นเดือนละ $9.5 หมื่นล้านตั้งแต่เดือนกันยายน 2565 ทำให้นักลงทุนคลายความกังวลว่า Fed จะเร่งนโยบายตึงตัวมากขึ้น และอาจจะทำให้การเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐฯชะลอตัวลงแรงได้

อย่างไรก็ตาม ในช่วงครึ่งเดือนหลัง ตลาดหุ้นมีการฟื้นตัวขึ้น จากการลดความกังวลเกี่ยวกับการที่ Fed จะเร่งการทำนโยบายการเงินตึงตัว รวมถึงการที่จีนมีแนวโน้มจะเริ่มควบคุมการระบาดของ COVID-19 ในเมืองใหญ่ ๆ ที่ถูก Lockdown ก่อนหน้าได้ และมีโอกาสจะเริ่มคลายการ Lockdown ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2565 นอกจากนี้ ปัจจัยภายในประเทศก็มีส่วนสนับสนุนการฟื้นตัวของตลาดหุ้น เมื่อการระบาดของ COVID-19 ลดความรุนแรงลงมาก ทำให้รัฐบาลมีการผ่อนคลายมาตรการด้านการท่องเที่ยวมากขึ้น ทำให้มีความคาดหวังกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจมากขึ้นในครึ่งหลังของปี รวมถึงการประกาศผลประกอบการไตรมาสที่ 1/2565 ของบริษัทจดทะเบียนที่ดีกว่าคาด โดยกำไรสุทธิมีการเติบโต 6% YoY และ 10% QoQ ทำให้นักลงทุนเริ่มกลับเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นมากขึ้น โดยเฉพาะนักลงทุนต่างชาติที่ยังเพิ่มการลงทุนในตลาดหุ้นไทยอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่เดือนพฤษภาคม ราคาน้ำมันดิบ (Brent) ยังปรับตัวขึ้น 12.7% ซึ่งมีส่วนสนับสนุนให้ราคาหุ้นกลุ่มพลังงานกลับตัวขึ้น

สรุปภาวะตลาดหุ้นช่วงเดือนพฤษภาคม 2565 SET Index ปิดที่ระดับ 1,663.41 จุด ลดลง 4.03 จุด หรือ -0.24% จากเดือนก่อนหน้า มูลค่าการซื้อขายต่อวันยังคงอยู่ในระดับที่เบาบางที่ 73,281 ล้านบาท โดยหุ้นกลุ่มหลักที่ให้ผลตอบแทนมากที่สุด คือ กลุ่มปิโตรเคมี +3.2% กลุ่มพลังงาน +3.0% และกลุ่มธุรกิจการเกษตร +2.7% ในขณะที่หุ้นกลุ่มหลักที่ให้ผลตอบแทนติดลบมากที่สุด คือ กลุ่ม ICT -9.9% กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ -4.4% และกลุ่มประกันภัยฯ -3.8% ในเดือนนี้ นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 20,284 ล้านบาท บัญชีหลักทรัพย์ซื้อสุทธิ 1,745 ล้านบาท นักลงทุนสถาบันภายในประเทศซื้อสุทธิ 4,466 ล้านบาท ในขณะที่นักลงทุนทั่วไปภายในประเทศขายสุทธิ 26,495 ล้านบาท

ภาวะตลาดตราสารหนี้ไทย – พฤษภาคม 2565

การประชุมนโยบายการงินของสหรัฐฯ (FOMC) ในเดือนนี้ คณะกรรมการได้พิจารณาปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ย 0.50% ทำให้อัตราดอกเบี้ยมาอยู่ที่ 0.75%-1.00% และส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ย 0.50% ต่อเนื่องในอีกสองการประชุมข้างหน้า รวมถึงมองว่าเป็นความสำคัญที่จะปรับขึ้นดอกเบี้ยไปที่จุดสมดุล และอาจจำเป็นที่จะปรับขึ้นจนถึงจุดที่ตึงตัวได้ตามสถานการณ์ของเศรษฐกิจ อย่างไรก็ดี คณะกรรมการมีความกังวลต่อความเสี่ยงของระบบการเงินและสภาพคล่องในตลาด สุดท้ายแล้ว คณะกรรมการยังได้ให้คำมั่นถึงความพยายามในการปรับลดเงินเฟ้อเข้าสู่ระดับเป้าหมายที่ 2% อย่างมีเสถียรภาพ ในด้านกระบวนการลดขนาดงบดุล หรือ QT คณะกรรมการระบุจะเริ่มต้นในวันที่ 1 มิ.ย. ในอัตราเดือนละ USD47.5bn (แบ่งเป็น Treasury เดือนละ USD30bn และ MBS เดือนละ USD17.5bn) และจะทยอยปรับขึ้นในเวลา 3 เดือน สู่ระดับ USD95bn (แบ่งเป็น Treasury เดือนละ USD60bn และ MBS เดือนละ USD35bn) ตามแผนเดิมที่ได้ส่งสัญญาณไว้ โดยแถลงการณ์ระบุว่า FED ตั้งใจที่จะชะลอและยุติการลดขนาดงบดุลเมื่อดุลเงินสำรอง (Reserve Balance) อยู่เหนือระดับที่ FED มองว่าเป็นระดับที่เพียงพอ ทางด้านการประเมินเศรษฐกิจ คณะกรรมการมองว่า แม้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะติดลบในไตรมาสที่ 1 แต่อุปสงค์ภายในประเทศดีกว่าในไตรมาสก่อนหน้า การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวดีในไตรมาสแรก การลงทุนสินค้าคงคลังปรับลดลงหลังจากเพิ่มขึ้นสูงในไตรมาสที่ 4 ของปีที่แล้ว คณะกรรมการคาดการณ์เศรษฐกิจจะขยายตัวในไตรมาสที่ 2 รวมถึงโตต่อเนื่องสำหรับช่วงที่เหลือของปี และชะลอลงในปี 2023 และ 2024 ตามการเริ่มถอนนโยบายช่วยเหลือต่างๆ และการตึงตัวของภาคการเงิน

ธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) มีมติ 6-3 ปรับดอกเบี้ยขึ้น 25bps สู่ระดับ 1% ตามคาดการณ์ของตลาด ซึ่งนับเป็นการปรับขึ้นต่อเนื่อง 4 รอบการประชุมสู่ระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2009 โดยคณะกรรมการ 3 ท่านที่เห็นต่างมองว่าควรปรับขึ้นไป 50bps สู่ระดับ 1.25% นอกจากนี้ คณะกรรมการระบุจะเริ่มพิจารณาการขายสินทรัพย์ที่เข้าซื้อในมาตรการ QE โดยคาดจะมีรายละเอียดมากขึ้นในเดือน ส.ค. BOE มีมุมมองต่อเศรษฐกิจแย่ลงอย่างมาก ท่ามกลางการเพิ่มขึ้นมากของราคาพลังงานที่หนุนเงินเฟ้อและกดดันความสามารถในการใช้จ่ายของผู้บริโภค โดยคาดเศรษฐกิจอังกฤษจะหดตัวราว -1.0% ในไตรมาส 4/2022 และคาดเศรษฐกิจปี 2023 จะหดตัว -0.25% (ลดลงจากที่คาดขยายตัว 1.25% ในเดือน ก.พ.) และจะขยายตัวเพียง 0.25% ในปี 2024 (ลดลงจากที่คาดขยายตัว 1.0% ในเดือน ก.พ.) ทางด้านเงินเฟ้อ BOE คาดจะขยายตัวทำจุดสูงสุดเหนือระดับ 10% เล็กน้อยในไตรมาส 4 สูงสุดนับตั้งแต่ปี 1982 เพิ่มขึ้นจากที่คาดไว้เมื่อเดือน ก.พ. ว่าจะขยายตัวทำจุดสูงสุดที่ 7.25% ในไตรมาส 2 โดยเงินเฟ้อเดือน มี.ค. ขยายตัว 7.0% ซึ่ง BOE คาดจะเร่งตัวขึ้นเป็น 9.1% ในเดือน เม.ย. อย่างไรก็ดี BOE คาดเงินเฟ้อจะชะลอลงอย่างรวดเร็วหลังทำจุดสูงสุด โดยคาดจะขยายตัวลดลงเป็น 2.1% ในช่วง 2 ปีข้างหน้า (ปี 2024) และลดลงเป็น 1.3% ในช่วง 3 ปีข้างหน้า (ปี 2025) ต่ำกว่าเป้าหมายที่ 2% ทั้งนี้ คณะกรรมการ BOE มีความเห็นต่างมากขึ้นในแนวโน้มของดอกเบี้ยในระยะข้างหน้า โดยแถลงการณ์ระบุคณะกรรมการ ‘บางท่าน’ ตัดสินว่าการเพิ่มความเข้มงวดในนโยบายการเงินเพิ่มเติมอาจยังมีความเหมาะสมในเดือนข้างหน้า ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปจากเมื่อเดือน มี.ค. ที่ระบุคณะกรรมการส่วนใหญ่เห็นว่าการเพิ่มความเข้มงวดในนโยบายการเงินเพิ่มเติมอาจมีความเหมาะสม