ภาวะตลาดหุ้นไทย – เมษายน 2564

SET Index ปรับตัวลง -0.3% สู่ระดับ 1,583.13 จุด เนื่องจากการแพร่ระบาดรอบใหม่ (Third Wave) ในประเทศไทย ขณะที่งบการเงินของหุ้นในกลุ่มธนาคารออกมาดีและปัจจัยภายนอกมีสัญญาณบวกจาก Global Indicators ที่ส่งผลดีต่อสินทรัพย์เสี่ยง

ปัจจัยภายนอกมีสัญญาณบวกจาก Global Indicators ที่ส่งผลดีต่อสินทรัพย์เสี่ยง ทั้ง US Bond Yield 10 ปี ที่ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 1.63% ณ วันที่ 30 เมษายน 2564 หลังจากปรับตัวขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 14 เดือนที่ระดับ 1.74% ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา เช่นเดียวกับค่าเงินดอลลาร์ที่ปรับตัวอ่อนค่าที่สุดในรอบ 1 เดือน

ส่วนปัจจัยภายในประเทศไทยแม้ว่างบการเงินไตรมาส 1 ปี 2564 ของบริษัทจดทะเบียนในกลุ่มธนาคารจะออกมาดี จากการตั้งสํารองและงบลงทุนที่ลดลงช่วยชดเชยการชะลอการเติบโตของสินเชื่อ อย่างไรก็ตาม ประเด็นภายในประเทศที่กดดันให้ตลาดหุ้นปรับตัวลง คือ การแพร่ระบาดระลอกใหม่ (Third Wave) ของไวรัส COVID-19 ซึ่งเริ่มแพร่กระจายจากสถานบันเทิงในกรุงเทพฯ จากนั้นได้แพร่ระบาดไปทั่วประเทศ ทำให้รัฐบาลต้องออกคำสั่งปิดสถานบันเทิงทุกแห่ง และใช้มาตรการเข้มงวดเพื่อยับยั้งการแพร่ระบาด โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ ที่ประกาศปิด 31 สถานที่เสี่ยงเป็นเวลา 2 สัปดาห์ ขณะที่ยอดผู้ติดเชื้อรายวันในการระบาดรอบนี้สูงกว่าการระบาดรอบแรกและรอบที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญ โดยจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันสูงสุดเกือบ 3,000 รายต่อวัน ทำให้เกิดความเสี่ยงที่โรงพยาบาลจะไม่สามารถรองรับผู้ป่วยเพิ่มได้ ขณะที่การฉีดวัคซีนในประเทศไทยค่อนข้างล่าช้า เนื่องจากวัคซีนที่ไทยจะได้รับส่วนใหญ่จะอยู่ในครึ่งหลังของปี โดย ณ สิ้นเดือนเมษายน ประชากรไทยได้รับการฉีดวัคซีนไปเพียง 1.6% ของประชากร ต่ำกว่าทวีปเอเชียที่ฉีดวัคซีนไปแล้ว 4.3% และทั่วโลกที่ 7.7% โดยจะส่งผลให้เศรษฐกิจของไทยฟื้นตัวได้ช้า นอกจากนี้ ความกังวลเกี่ยวกับประสิทธิภาพและผลข้างเคียงหลังการฉีดวัคซีน ก็อาจจะส่งผลกระทบต่อความเร็วในการฉีดวัคซีนด้วย ทั้งนี้ จากการเกิด Third Wave ในประเทศไทยอาจส่งผลให้มีการปรับลดประมาณการณ์ GDP ลงจากเดิมที่เคยคาดการณ์ไว้ที่ 3% เนื่องจากการฉีดวัคซีนที่ล่าช้าและการระบาดของโรคจะส่งผลกระทบต่อภาคการท่องเที่ยว โดยทำให้แผนในการเปิดรับนักท่องเที่ยวล่าช้าออกไป ทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจล่าช้าลงไปอีก

สรุปภาวะตลาดหุ้นช่วงเดือนเมษายน 2564 SET Index ปิดที่ 1,583.13 จุด ปรับตัวลง 4.08 จุดหรือ 0.3% จากสิ้นเดือนมีนาคม 2564 โดยกลุ่มอุตสาหกรรมหลักที่ให้ผลตอบแทนสูงที่สุด (รวมเงินปันผล) ได้แก่ กลุ่มวัสดุก่อสร้าง 15.7% กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ 15.6% กลุ่มปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ 7.3% ในขณะที่กลุ่มอุตสาหกรรมหลักที่ให้ผลตอบแทนต่ำที่สุด (รวมเงินปันผล) ได้แก่ กลุ่มสื่อและสิ่งพิมพ์ -7.8% กลุ่มการท่องเที่ยวและสันทนาการ -7.7% กลุ่มขนส่งและโลจิสติกส์ -7.5% ซึ่งในเดือนเมษายนที่ผ่านมา นักลงทุนทั่วไปในประเทศซื้อหุ้นไทยสุทธิ 17,987.86 ล้านบาท ขณะที่นักลงทุนสถาบันในประเทศ บัญชีหลักทรัพย์ และนักลงทุนต่างชาติขายหุ้นไทยสุทธิ 14,232.63 ล้านบาท 396.08 ล้านบาท และ 3,359.14 ล้านบาท ตามลำดับ โดยตั้งแต่ต้นปี 2564 บัญชีหลักทรัพย์และนักลงทุนทั่วไปในประเทศซื้อหุ้นไทยสุทธิ 3,479.07 ล้านบาท และ 66,548.05 ล้านบาท ตามลำดับ ขณะที่ นักลงทุนสถาบันในประเทศและนักลงทุนต่างชาติขายหุ้นไทยสุทธิ 36,998.59 ล้านบาท และ 33,028.53 ล้านบาท ตามลำดับ จะเห็นว่านักลงทุนต่างชาติขายสุทธิหุ้นไทยอย่างต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 โดยมีการเพิ่มสัดส่วนการถือครองในหุ้นกลุ่มวัสดุก่อสร้างและกลุ่มปิโตรเคมีฯ แต่ลดการถือครองในหุ้นกลุ่มธนาคาร พลังงาน อสังหาฯ และขนส่ง

ขณะที่ผลตอบแทนของดัชนี MSCI Thailand ดีกว่า MSCI APAC ex.

ภาวะตลาดตราสารหนี้ไทย – เมษายน 2564

ธนาคารกลางยุโรป (ECB) คงการผ่อนคลายทางการเงิน แต่ส่งสัญญาณเพิ่มการเข้าซื้อพันธบัตรเพื่อกดดันอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล โดยคงอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก (Deposit Facility) ที่ -0.50% อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ (Marginal Lending Facility) ที่ 0.25% และอัตราดอกเบี้ย Main Refinancing Operations ที่ 0.00% พร้อมทั้งคงวงเงินซื้อสินทรัพย์มาตรการ Asset Purchase Program (APP) ที่ 2 หมื่นล้านยูโรต่อเดือน และมาตรการ Pandemic Emergency Purchase Program (PEPP) ที่ 1.85 ล้านล้านยูโร โดย ECB ยืนยันจะซื้อสินทรัพย์ตามมาตรการ PEPP อย่างน้อยจนถึงมีนาคม 2022 ECB ส่งสัญญาณเพิ่มการเข้าซื้อพันธบัตรเพื่อกดอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล เนื่องจากกังวลว่าอัตราผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้นเร็วจะกระทบต้นทุนทางการเงินของภาคธุรกิจและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ แถลงการณ์ระบุว่า ปริมาณซื้อสินทรัพย์ในมาตรการ PEPP น้อยกว่าปกติในไตรมาสที่ 1 แต่ ECB มีแผนจะเพิ่มขนาดการซื้อสินทรัพย์อย่างมีนัยสำคัญในระยะเวลาข้างหน้า นอกจากนี้ ประธาน ECB ได้กล่าวว่า เศรษฐกิจยูโรโซนเสี่ยงหดตัวในไตรมาสที่ 1/2021 จากผลกระทบของการระบาดของโควิด-19 รอบใหม่ที่ส่งผลให้หลายประเทศในภูมิภาคกลับมาใช้มาตรการปิดเมืองอย่างเข้มข้น อย่างไรก็ตาม ECB ยังคงมีมุมมองเชิงบวกต่อแนวโน้มเศรษฐกิจในระยะข้างหน้า จากการกระจายวัคซีนของประเทศต่าง ๆ ซึ่งจะส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจค่อยๆ ฟื้นตัว โดย ECB คาดเศรษฐกิจและเงินเฟ้อปีนี้ที่ 4.0% จาก 3.9% และ 1.5% จาก 1.0% ตามลำดับ

ภาวะตลาดหุ้นไทย – มีนาคม 2564

SET Index ปรับตัวขึ้น +6% สู่ระดับ 1,587.21 จุด เนื่องจากการที่ประธานาธิบดี Joe Biden ลงนามในมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจวงเงิน 1.9 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ทำให้ตลาดพันธบัตรผันผวนจาก US Bond Yield 10 ปีที่ปรับตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ยังมีความผันผวนของราคาน้ำมันดิบ ขณะที่ปัจจัยในประเทศเริ่มดีขึ้นจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุม COVID-19

ประธานาธิบดี Joe Biden ได้ลงนามในมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ วงเงินสูงถึง 1.9 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น ขณะที่มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจดังกล่าวเป็นปัจจัยสนับสนุนให้เงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้ US Bond Yield 10 ปี ปรับตัวอย่างรวดเร็วขึ้นสู่ระดับ 1.7% ซึ่งเป็นระดับที่สูงที่สุดในรอบ 10 เดือน ทำให้เกิด Sector Rotation ขึ้นในตลาดหุ้นสหรัฐฯ โดยมีการขายทำกำไรหุ้นในกลุ่ม High PER High Growth และเข้าซื้อหุ้นในกลุ่มที่อิงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และ Low PER นอกจากนี้การที่เงินเฟ้อปรับตัวขึ้น ส่งผลให้นักลงทุนเกิดความกังวลว่า FED จะยุติการใช้มาตรการผ่อนคลาย แต่ FED ยังยืนยันว่าจะไม่ปรับขึ้นดอกเบี้ยจนถึงปี 2023 โดย FED ประเมินว่าเงินเฟ้อที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นเพียงการเร่งตัวชั่วคราวและ FED จะใช้มาตรการผ่อนคลายต่อไป และซื้อพันธบัตรตามมาตรการ QE อย่างน้อย 1.2 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ/เดือน เช่นเดียวกับแนวโน้มที่ Dovish จาก ECB ที่ส่งสัญญาณว่ามีความพร้อมในการเพิ่มวงเงินในการเข้าซื้อพันธบัตรรายสัปดาห์ (Weekly Purchase) ในกรณีที่ตลาดพันธบัตรมีความผันผวน ซึ่งการดำเนินนโยบายแบบผ่อนคลายของทั้ง FED และ ECB ยังคงเป็นปัจจัยสนับสนุนเชิงบวกต่อสินทรัพย์เสี่ยง ในส่วนของราคาน้ำมัน จากการประชุม OPEC+ มีมติเพิ่มการผลิตน้ำมันดิบเพียง 150,000 บาร์เรลต่อวันในเดือนเมษายน ต่ำกว่าตลาดคาดการณ์ที่ 1.5 ล้านบาร์เรล/วัน ประกอบกับซาอุดิอาระเบียสมัครใจที่จะปรับลดกำลังการผลิตลง 1 ล้านบาร์เรล/วันต่อเนื่องอีก 1 เดือน ขณะที่ฝั่ง Demand มีสัญญาณฟื้นตัวได้ดี เห็นได้จากการที่จีนนำเข้าน้ำมันดิบเพิ่มขึ้น +4.1%YoY ในช่วง 2 เดือนแรกของปี ส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบปรับตัวขึ้น ก่อนที่จะปรับตัวลงหลังจากยุโรปประกาศใช้มาตรการ Lockdown อีกครั้ง หลังจากตัวเลขผู้ติดเชื้อรายวันปรับตัวขึ้นอย่างรวดเร็วอีกครั้ง

ส่วนปัจจัยภายในประเทศไทย ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) มีมติผ่อนคลายมาตรการ Lockdown อย่างต่อเนื่อง โดยมีการปรับให้จังหวัดสมุทรสาครเป็นพื้นที่สีส้ม จากเดิมเป็นพื้นที่สีแดง นอกจากนี้ยังมีมติลดเวลากักตัวสำหรับบุคคลที่เดินทางเข้ามาในประเทศ ทั้งในกรณีผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว และผู้ที่ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีน ลงเหลือ 10 วัน จากเดิม 14 วัน ยกเว้นผู้ที่เดินทางมาจากประเทศที่มีเชื้อ COVID-19 กลายพันธุ์ ยังคงต้องกักตัว 14 วันตามเดิม เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2564 นอกจากนี้ ยังมีการอนุมัติมาตรการเกี่ยวกับการท่องเที่ยว ทั้งโครงการทัวร์เที่ยวไทยและโครงการเราเที่ยวด้วยกัน เฟส 3 รวมถึงพิจารณาการเปิดรับนักท่องเที่ยวที่ฉีดวัคซีนแล้วสามารถเข้าประเทศไทยได้โดยไม่ต้องกักตัว โดยนำร่องที่จังหวัดภูเก็ต เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2564 เพื่อให้เศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง ทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยโดยรวมมีสัญญาณที่ดีขึ้น

สรุปภาวะตลาดหุ้นช่วงเดือนมีนาคม 2564 SET Index ปิดที่ 1,587.21 จุดปรับตัวขึ้น 90.43 จุดหรือ 6% จากสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2564 โดยกลุ่มอุตสาหกรรมหลักที่ให้ผลตอบแทนสูงที่สุด (รวมเงินปันผล) ได้แก่ กลุ่มบริการรับเหมาก่อสร้าง 24.0% กลุ่มเงินทุนและหลักทรัพย์ 18.7% กลุ่มสื่อและสิ่งพิมพ์ 13.3% ในขณะที่กลุ่มอุตสาหกรรมหลักที่ให้ผลตอบแทนต่ำที่สุด (รวมเงินปันผล) ได้แก่ กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ -18.7% กลุ่มธุรกิจการเกษตร -6.5% กลุ่มประกันภัยและประกันชีวิต 3.3%  ซึ่งในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา  นักลงทุนสถาบันในประเทศและบัญชีหลักทรัพย์ซื้อหุ้นไทยสุทธิ 7,303.24 และ 2,373.88 ล้านบาท ตามลำดับ ขณะที่นักลงทุนต่างชาติและนักลงทุนทั่วไปในประเทศขายหุ้นไทยสุทธิ 68.37 ล้านบาท และ 9,608.74 ล้านบาท ตามลำดับ โดยตั้งแต่ต้นปี 2564 บัญชีหลักทรัพย์และนักลงทุนทั่วไปในประเทศซื้อหุ้นไทยสุทธิ 3,875.15 และ 48,560.19 ล้านบาท ตามลำดับ ขณะที่ นักลงทุนสถาบันในประเทศและนักลงทุนต่างชาติขายหุ้นไทยสุทธิ 22,765.95 ล้านบาท และ 29,669.39 ล้านบาท ตามลำดับ จะเห็นว่านักลงทุนต่างชาติขายสุทธิหุ้นไทยอย่างต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 โดยมีการเพิ่มสัดส่วนการถือครองในหุ้นกลุ่มธนาคาร วัสดุก่อสร้าง อสังหาริมทรัพย์ ICT ค้าปลีก ปิโตรเคมี และขนส่ง ขณะที่ผลตอบแทนของดัชนี MSCI Thailand ดีกว่า MSCI APAC ex.

ภาวะตลาดตราสารหนี้ไทย – มีนาคม 2564

ธนาคารกลางยุโรป (ECB) คงการผ่อนคลายทางการเงิน แต่ส่งสัญญาณเพิ่มการเข้าซื้อพันธบัตรเพื่อกดดันอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล โดยคงอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก (Deposit Facility) ที่ -0.50% อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ (Marginal Lending Facility) ที่ 0.25% และอัตราดอกเบี้ย Main Refinancing Operations ที่ 0.00% พร้อมทั้งคงวงเงินซื้อสินทรัพย์มาตรการ Asset Purchase Program (APP) ที่ 2 หมื่นล้านยูโรต่อเดือน และมาตรการ Pandemic Emergency Purchase Program (PEPP) ที่ 1.85 ล้านล้านยูโร โดย ECB ยืนยันจะซื้อสินทรัพย์ตามมาตรการ PEPP อย่างน้อยจนถึงมีนาคม 2022 ECB ส่งสัญญาณเพิ่มการเข้าซื้อพันธบัตรเพื่อกดอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล เนื่องจากกังวลว่าอัตราผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้นเร็วจะกระทบต้นทุนทางการเงินของภาคธุรกิจและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ แถลงการณ์ระบุว่า ปริมาณซื้อสินทรัพย์ในมาตรการ PEPP น้อยกว่าปกติในไตรมาสที่ 1 แต่ ECB มีแผนจะเพิ่มขนาดการซื้อสินทรัพย์อย่างมีนัยสำคัญในระยะเวลาข้างหน้า นอกจากนี้ ประธาน ECB ได้กล่าวว่า เศรษฐกิจยูโรโซนเสี่ยงหดตัวในไตรมาสที่ 1/2021 จากผลกระทบของการระบาดของโควิด-19 รอบใหม่ที่ส่งผลให้หลายประเทศในภูมิภาคกลับมาใช้มาตรการปิดเมืองอย่างเข้มข้น อย่างไรก็ตาม ECB ยังคงมีมุมมองเชิงบวกต่อแนวโน้มเศรษฐกิจในระยะข้างหน้า จากการกระจายวัคซีนของประเทศต่าง ๆ ซึ่งจะส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจค่อยๆ ฟื้นตัว โดย ECB คาดเศรษฐกิจและเงินเฟ้อปีนี้ที่ 4.0% จาก 3.9% และ 1.5% จาก 1.0% ตามลำดับ

ภาวะตลาดหุ้นไทย – กุมภาพันธ์ 2564

SET Index ปรับตัวขึ้น +2% สู่ระดับ 1,496.78 จุด เนื่องจากการเร่งกระจายวัคซีน COVID-19 ในหลายประเทศทั่วโลก ความคาดหวังเชิงบวกต่อมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจชุดใหม่ของสหรัฐฯ และการประกาศ GDP ไตรมาส 4 ปี 2563 ของประเทศไทยที่ดีกว่าที่ตลาดคาดการณ์

ในสหรัฐฯ และยุโรปมีการเร่งกระจายวัคซีนและฉีดให้แก่ประชาชนในวงกว้าง เช่น ในประเทศอังกฤษ ประชากร 20 ล้านคนหรือคิดเป็น 30% ของประชากรทั้งหมดได้รับการฉีดวัคซีนโดสแรก และประชากรกว่า 8 แสนคนได้รับการฉีดวัคซีนโดสที่สองเรียบร้อยแล้ว ถือว่าอังกฤษเป็นประเทศที่มีการกระจายวัคซีนได้ดีที่สุดในยุโรป นอกจากนี้ ในสหรัฐฯ ประชากรกว่า 50 ล้านคนหรือคิดเป็น 15% ของประชากรทั้งหมดได้รับการฉีดวัคซีนโดสแรก และประชากรกว่า 25 ล้านคนได้รับการฉีดวัคซีนโดสที่สองเรียบร้อยแล้ว โดยการเร่งฉีดวัคซีน COVID-19 ในหลายประเทศทั่วโลกเป็นการสร้างความคาดหวังเชิงบวกต่อแนวโน้มเศรษฐกิจและผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียน นอกจากนี้ ตลาดยังได้แรงหนุนจากความคาดหวังเชิงบวกจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจชุดใหม่ของสหรัฐฯ ซึ่งจะทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น แต่ตลาดยังคงมีแรงกดดันจากค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่ารุนแรง และทำจุดสูงสุดที่ 91.6 จุด ทำให้ตลาดสินทรัพย์เสี่ยงทั่วโลกเริ่มพักฐาน ก่อนปรับตัวลงหลังจาก US Bond Yield 10 ปี ดีดตัวขึ้นอย่างรวดเร็วจากระดับ 1.07% ในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์มาอยู่ที่ระดับ 1.41% ในช่วงสิ้นเดือน การปรับตัวของ Bond Yield อย่างรวดเร็วเกิดจากความคาดหวังเชิงบวกต่ออัตราเงินเฟ้อที่ถูกขับเคลื่อนด้วยราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ทำให้ตลาดมีความกังวลว่า FED จะยุติการใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย ส่งผลให้เกิด Sector Rotation โดยเงินลงทุนไหลออกจากหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี ซึ่งเป็นกลุ่มที่มี PE สูงและการเติบโตสูง เข้าสู่กลุ่มพลังงาน ธนาคาร อุตสาหกรรม ซึ่งเป็นหุ้นที่ได้ประโยชน์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม นักลงทุนคลายความกังวลเรื่องการยุติการใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายของ FED หลังประธาน FED ยืนยันว่าจะตรึงดอกเบี้ยต่ำไปอีกเป็นเวลานาน

ส่วนปัจจัยภายในประเทศไทย ได้มีการรายงานตัวเลข GDP ไตรมาส 4 ที่ -4.2%YoY ซึ่งดีกว่าที่ตลาดคาดการณ์ ส่งผลให้ GDP ของประเทศไทยปี 2563 หดตัว -6.1% โดยภาคอุตสาหกรรมและการเกษตร การส่งออกสามารถฟื้นตัวได้ดี และเห็นสัญญาณการบริโภคภาคเอกชนเริ่มฟื้นตัว แม้จะเกิดการระบาดของ COVID-19 รอบสองในเดือนธันวาคม 2563 แต่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ทำการปรับลดประมาณการคาดการณ์ GDP ปี 2564 ลงสู่ระดับ 2.5-3.5% จากการคาดการณ์ครั้งก่อนที่ระดับ 3.5-4.5% เพื่อสะท้อนผลกระทบของการระบาดรอบ 2 ของ COVID-19 แต่ประเมินผลกระทบไม่รุนแรงเท่าการระบาดในรอบแรก ขณะที่ประเด็นสำคัญของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอยู่ที่จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ และการกระจายวัคซีน โดยยังคงย้ำถึงความจำเป็นของมาตรการภาครัฐฯ ในส่วนของการควบคุมโรคระบาด COVID-19 ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) ชุดใหญ่มีมติคลาย Lockdown ตามศบค.ชุดเล็ก โดย จังหวัดสมุทรสาครยังคงเป็นพื้นที่สีแดง ที่ยังคงเข้มงวดกับร้านอาหารและปิดสถานบันเทิง แต่สำหรับพื้นที่สีส้มลดลงเหลือ 8 จังหวัด จากเดิม 20 จังหวัด เหลือเพียง กทม. สมุทรปราการ สมุทรสงคราม นนทบุรี นครปฐม ปทุมธานี ตาก และราชบุรี โดยผ่อนคลายร้านอาหารให้ดื่มสุราในร้านได้ และเปิดสถานบันเทิง โดยดื่มสุราและแสดงดนตรีสดได้ไม่เกิน 5 ทุ่มและงดเต้นรำ ซึ่งจะทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจทยอยกลับมาดำเนินต่อได้ เพิ่มความคาดหวังเชิงบวกต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย

สรุปภาวะตลาดหุ้นช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2564 SET Index ปิดที่ 1,496.78 จุดปรับตัวขึ้น 29.82 จุดหรือ 2% จากสิ้นเดือนมกราคม 2564 โดยกลุ่มอุตสาหกรรมหลักที่ให้ผลตอบแทนสูงที่สุด (รวมเงินปันผล) ได้แก่ กลุ่มธุรกิจการเกษตร 42.7% กลุ่มธุรกิจการการท่องเที่ยวและสันทนาการ 17.3% กลุ่มปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ 9.7% ในขณะที่กลุ่มอุตสาหกรรมหลักที่ให้ผลตอบแทนต่ำที่สุด (รวมเงินปันผล) ได้แก่ กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ -20.4% กลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร -1.3% กลุ่มการแพทย์ -1.2% ซึ่งในเดือนกุมภาพันธ์นี้  บัญชีหลักทรัพย์และนักลงทุนทั่วไปในประเทศซื้อหุ้นไทยสุทธิ 2,442.08 และ 30,300.43 ล้านบาท ตามลำดับ ขณะที่ นักลงทุนสถาบันในประเทศและนักลงทุนต่างชาติขายหุ้นไทยสุทธิ 14,044.44 ล้านบาท และ 18,698.06 ล้านบาท ตามลำดับ โดยตั้งแต่ต้นปี 2564 บัญชีหลักทรัพย์และนักลงทุนทั่วไปในประเทศซื้อหุ้นไทยสุทธิ 1,501.27 และ 58,168.93 ล้านบาท ตามลำดับ ขณะที่ นักลงทุนสถาบันในประเทศและนักลงทุนต่างชาติขายหุ้นไทยสุทธิ 30,069.19 ล้านบาท และ 29,601.02 ล้านบาท ตามลำดับ จะเห็นว่านักลงทุนต่างชาติขายสุทธิหุ้นไทยอย่างต่อเนื่อง โดยมีการเพิ่มสัดส่วนการถือครองในหุ้นกลุ่มธนาคาร พลังงาน อสังหาฯ ค้าปลีก ปิโตรเคมีฯ และขนส่ง แต่ลดการถือครองในกลุ่ม ICT

ภาวะตลาดตราสารหนี้ไทย – กุมภาพันธ์ 2564

ธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) มีมติเป็นเอกฉันท์คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับต่ำ 0.1% และคงวงเงินการเข้าซื้อสินทรัพย์ที่ 895 พันล้านปอนด์ ตามการคาดการณ์ของตลาด BOE มองเศรษฐกิจในระยะใกล้อ่อนแอลงจากประมาณการครั้งก่อนในเดือน พ.ย. จากการระบาดของ COVID-19 ที่รุนแรงขึ้นและนำไปสู่การกลับมาใช้มาตรการ Lockdown อีกครั้ง (เป็นครั้งที่ 3) ซึ่งส่งผลกดดันเศรษฐกิจในไตรมาส 4/2020 และต่อเนื่องมาสู่ไตรมาส 1/2021 ซึ่ง BOE คาดว่าจะหดตัว -4.2% QoQ อย่างไรก็ดีการแจกจ่ายวัคซีนคาดว่าจะทำให้มาตรการ Lockdown ผ่อนคลายลงในไตรมาส 2 รวมทั้ง ลดความกังวลของผู้คนในเรื่องไวรัส และจะทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวขึ้นกลับเข้าสู่ระดับก่อน COVID-19 อย่างรวดเร็วในช่วงที่เหลือของปี โดย BOE คาดว่าเศรษฐกิจปี 2021 จะขยายตัว 5.0% (vs.

ภาวะตลาดตราสารหนี้ไทย – มกราคม 2564

ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ส่งสัญญาณคงการผ่อนคลายนโยบายการเงินต่อเนื่องจนกว่าเสถียรภาพด้านราคาจะกลับเข้าสู่ระดับเป้าหมายที่ 2% โดยได้คงอัตราดอกเบี้ยและมาตรการซื้อสินทรัพย์ได้แก่คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ -0.1% และควบคุมอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปีใกล้ 0% รวมทั้งคงมาตรการซื้อสินทรัพย์ทั้งพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นแบบไม่จำกัดคงวงเงินการเข้าซื้อ ETFs ที่ 12 ล้านล้านเยนและ J-REITs ที่ 1.8 แสนล้านเยนซื้อตราสารหนี้เอกชนวงเงิน 20 ล้านล้านเยนถึงสิ้นเดือนกันยายน 2021 นอกจากนี้ยังขยายเวลามาตรการช่วยเหลือด้านสินเชื่อทั้งหมดออกไป 1 ปีเพื่อสนับสนุนสภาพคล่องแก่ครัวเรือนและธุรกิจBOJ มองเศรษฐกิจดีขึ้นในปี 2021 โดยขยายตัว 3.9% จากเดิมที่ 3.6% ณเดือนตุลาคมอีกทั้งปรับขึ้นคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อไม่รวมอาหารสดมาที่ 0.5% จาก 0.4% เนื่องจากมาตรการใช้จ่ายของภาครัฐที่ออกมาเพิ่มเติมเป็นรอบที่ 3 เมื่อเดือนธันวาคมมูลค่า 7.08 แสนล้านดอลลาร์ทำให้มีเม็ดเงินของภาครัฐเข้ากระตุ้นเศรษฐกิจแล้วทั้งสิ้นกว่า 3 ล้านล้านดอลลาร์และช่วยพยุงการบริโภคในประเทศขณะที่รัฐบาลส่งสัญญาณว่าจะออกมาตรการเพิ่มเติมหากมีความจำเป็น

ธนาคารกลางยุโรป (ECB) คงมาตรการผ่อนคลายทางการเงินโดยคงอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก (Deposit Facility) ที่ -0.5% อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ (Marginal Lending Facility) ที่ 0.25% และอัตราดอกเบี้ย Main Refinancing Operations ที่ 0.00% พร้อมทั้งคงวงเงินซื้อสินทรัพย์มาตรการ Asset Purchase Program ที่ 2 หมื่นล้านยูโรต่อเดือนและมาตรการ Pandemic Emergency Purchase Program (PEPP) ที่ 1.85 ล้านล้านยูโรโดย ECB ยืนยันว่าจะเข้าซื้อสินทรัพย์ตามมาตรการ PEPP อย่างน้อยจนถึงเดือนมีนาคม 2022นายคริสตินลาร์การ์ดประธาน ECB กล่าวว่าเศรษฐกิจยูโรโซนมีความเสี่ยงที่จะถดถอยซ้ำซ้อน (Double-dip Recession) ในไตรมาสที่ 4/2020 จากผลกระทบของการระบาดของโควิด-19 รอบใหม่ที่ส่งผลให้รัฐบาลของนานาประเทศในภูมิภาคกลับมาใช้มาตรการปิดเมืองอย่างเข้มขึ้นอย่างไรก็ตาม ECB ยังคงมีมุมมองเชิงบวกต่อแนวโน้มเศรษฐกิจในระยะข้างหน้าจาก (1) การกระจายวัคซีนของประเทศต่างๆซึ่งจะส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจค่อยๆฟื้นตัว (2) เม็ดเงินช่วยเหลือภายใต้กองทุนฟื้นฟูเศรษฐกิจ (3) การฟื้นตัวของภาคอุตสาหกรรมและ (4) ความไม่แน่นอนทางการเมืองสหรัฐฯลดลงทั้งนี้ลาร์การ์ดมองว่าเศรษฐกิจยูโรโซนยังมีแนวโน้มขยายตัวได้ตามเป้าที่ 3.9% ในปี 2021

ธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) มีมติเป็นเอกฉันท์ (11-0) คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับต่ำ 0-0.25% ตามการคาดการณ์ของตลาดด้านการเข้าซื้อสินทรัพย์ FED ยังคงระบุเช่นเดิมว่าจะเข้าซื้อที่อัตราปัจจุบัน 1.2 แสนล้านดอลลาร์ต่อเดือนเป็นอย่างน้อยแบ่งเป็นพันธบัตรรัฐบาลเดือนละ 8 หมื่นล้านดอลลาร์และตราสารหนี้ที่มีสินเชื่อที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกันเดือนละ 4 หมื่นล้านดอลลาร์และระบุจะเข้าซื้อจนกว่าจะเห็นพัฒนาการที่ชัดเจนว่าการจ้างงานจะกลับเข้าสู่ระดับที่คณะกรรมการประเมินว่าเป็นการจ้างงานเต็มอัตราและเงินเฟ้อเข้าสู่เป้าหมายFED ระบุแนวโน้มเศรษฐกิจโดยหลักขึ้นอยู่กับการระบาดของไวรัสรวมถึงความคืบหน้าของวัคซีนวิกฤตครั้งนี้จะยังคงกดดันกิจกรรมเศรษฐกิจการจ้างงานและเงินเฟ้อและยังคงเป็นความเสี่ยงสำคัญต่อแนวโน้มเศรษฐกิจสำหรับประเด็นการชะลอการเข้าซื้อสินทรัพย์ที่ตลาดให้ความสนใจอย่างมากโดยเฉพาะหลังการประกาศมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม 1.9 ล้านล้านดอลลาร์ของประธานาธิบดีโจไบเดนที่คาดว่าจะหนุนให้เศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างรวดเร็วจนหนุนให้เงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นแรงนั้นนายเจอโรมโพเวลประธาน FED กล่าวในแถลงการณ์หลังการประชุมว่ายังต้องใช้เวลาอีกสักระยะถึงจะเริ่มพิจารณาปรับเปลี่ยนการเข้าซื้อสินทรัพย์ได้โดยระบุว่าการมุ่งให้ความสนใจต่อประเด็นดังกล่าวนั้นเร็วเกินไป

ภาวะตลาดตราสารหนี้ไทยในเดือนนี้เส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับตัวขึ้น 1-10 Bps โดยรุ่นอายุ 15-21 ปีมีการปรับตัวขึ้นมากกว่ารุ่นอายุอื่นๆซึ่งคาดว่าได้รับผลกระทบจากการปริมาณเสนอขายพันธบัตรรัฐบาลในตลาดแรกที่มีการประมูลในเดือนนี้ในขณะที่พันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นที่มีอายุไม่เกิน 1 ปีอัตราผลตอบแทนปรับตัวขึ้นมา 3-5 Bps จากการที่นักวิเคราะห์และนักลงทุนสถาบันเริ่มมีมุมมองที่แตกต่างกันว่าผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินในเดือนกุมภาพันธ์จะคงดอกเบี้ยหรือลดดอกเบี้ยในขณะที่การซื้อขายพันธบัตรรัฐบาลของนักลงทุนต่างชาติในเดือนนี้ไม่เปลี่ยนแปลงมากนักแบ่งเป็นการขายสุทธิพันธบัตรระยะสั้น 1.9 พันล้านบาทซื้อสุทธิพันธบัตรระยะยาว 2 พันล้านบาทเมื่อหักพันธบัตรที่ครบกำหนดแล้วคงเหลือการถือครองพันธบัตรรัฐบาลรวมประมาณ 8.54 แสนล้านบาทหรือลดลงจากปีที่ผ่านมาประมาณ 3 พันล้านบาท

ตารางเปรียบเทียบอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยและสหรัฐ

ภาวะตลาดหุ้นไทย – มกราคม 2564

SET Index ปรับตัวขึ้น +1.2% สู่ระดับ 1,466.98 จุดเนื่องจากผลการเลือกตั้งวุฒิสภาชิกในสหรัฐฯและการประกาศงบการเงินไตรมาส 4 ของกลุ่มธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยแต่การระบาดของไวรัส COVID-19 รอบ 2 ในกลุ่มแรงงานต่างด้าวในประเทศไทยรวมถึงระดับหนี้ครัวเรือนที่สูงในปี 2563 และการหดตัวของดัชนี MPI เดือนธันวาคม 2563 ของประเทศไทยยังเป็นปัจจัยที่น่ากังวลนอกจากนี้ยังมีแรงกดดันจากการที่ตลาดหลักทรัพย์ฯกำลังทบทวนหลักเกณฑ์และมาตรการเพื่อแก้ปัญหาเกี่ยวกับหลักทรัพย์ที่มี Free Float ต่ำ

พรรค Democrat ได้รับชัยชนะทั้ง 2 ที่นั่งในการเลือกตั้งวุฒิสภาชิกในรัฐ Georgia ของสหรัฐฯทำให้พรรค Democrat ครองเสียงข้างมากทั้งในสภาผู้แทนราษฎรและครองเสียงกึ่งหนึ่งในวุฒิสภา (รองประธานาธิบดีจะเป็นผู้ชี้ขาดกรณีเสียงโหวตเท่ากัน) ทำให้เกิด Blue Wave อ่อนๆและเพิ่มความคาดหวังต่อการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจชุดใหญ่วงเงินกว่า 1.9 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯแต่มาตรการนี้มีความเสี่ยงที่จะไม่ได้รับอนุมัติจากวุฒิสภาเนื่องจากต้องใช้เสียงสนับสนุนขั้นต่ำ 60 เสียงจึงต้องใช้เสียงสนับสุนนจากสว.ของพรรค Republican ประกอบด้วยนอกจากนี้ในช่วงที่ผ่านมาสส.บางรายของพรรค Democrat เริ่มแสดงความกังวลต่อวงเงินของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่อาจจะสูงเกินไปทำให้เกิดความไม่แน่นอนในเรื่องวงเงินและความล่าช้าในการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจส่งผลให้มีเงินลงทุนเริ่มเข้าลงทุนในสินทรัพย์ปลอดภัยเห็นได้จาก US Bond Yield 10 ปีลดลงต่อเนื่องสู่ 1% และค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าสู่ 90.7 จุดซึ่งเป็นกดดันทำให้ Fund Flows ในเอเชียมีความผันผวนในขณะที่ปัจจัยภายในประเทศถูกกดดันจากตัวเลขผู้ติดเชื้อ COVID-19 ที่ยังอยู่ในระดับสูงโดยเฉพาะในกลุ่มแรงงานต่างด้าวจากการตรวจหาโรคเชิงรุกนอกจากนี้หนี้ครัวเรือนปี 2020 อยู่ที่ระดับ 4.8 แสนบาท/ครัวเรือนหรือขยายตัว 42% ซึ่งถือเป็นระดับสูงสุดในรอบ 12 ปีและดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (MPI) เดือนธันวาคมหดตัว -2.44%YoY ทำให้ทั้งปี 2020 ดัชนี MPI หดตัวถึง -8.8% บ่งชี้ว่าภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทยได้รับผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญอย่างไรก็ตามรัฐบาลเริ่มทยอยผ่อนคลายมาตรการ Lockdown อย่างค่อยเป็นค่อยไปในบางจังหวัดที่เริ่มควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดได้ดีขึ้นทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจทยอยกลับมาดำเนินได้นอกจากนี้ตลาดหุ้นไทยยังมีแรงกดดันจากการที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกำลังทบทวนหลักเกณฑ์ในการคำนวณดัชนีเพื่อแก้ปัญหาเกี่ยวกับหลักทรัพย์ที่มี Free Float ต่ำโดยจะปรับจากเกณฑ์การใช้มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดในการคำนวณ (Full Market Capitalization) เป็นการใช้มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดที่ปรับด้วย Free Float (Free Float Adjusted Market Capitalization) คาดว่าจะทำให้ดัชนี SET50 และ SET100 ผันผวนเชิงลบก่อนวันที่มีผลบังคับใช้

ในช่วงเดือนมกราคมที่ผ่านมาราคาหุ้น GameStop เป็นร้านขายวิดีโอเกมส์ซึ่งจดทะเบียนอยู่ใน New York Stock Exchange (NYSE) ปรับตัวขึ้นเกือบ 900% ในเวลาเพียง 2 สัปดาห์การปรับตัวขึ้นของหุ้น GameStop เกิดจากการที่นักลงทุนรายย่อยเห็นว่ากองทุนมีการทำ Short Sell ในหุ้น GameStop ในสัดส่วนที่สูงมากจึงเห็นโอกาสในการทำกำไรจึงเข้าซื้อหุ้นและ Stock Options ของหุ้น GameStop จากการได้รับการชักชวนจากเว็บบอร์ด WallStreetBets จนราคาหุ้น GameStop ปรับตัวสูงขึ้นขัดกับปัจจัยพื้นฐานและทำให้หองทุนที่ทำ Short Sell ไว้ต้องเข้าซื้อหุ้น GameStop เพื่อนำไปส่งมอบและตัดขาดทุนรวมทั้งต้องมีการขายหุ้นบริษัทอื่นเพื่อเอาผลกำไรไปกลบขาดทุนที่เกิดขึ้นส่งผลให้ตลาดมีความผันผวนในระยะสั้นอย่างไรก็ตามด้วยปริมาณเงินจำนวนมหาศาลที่ถูกอัดฉีดเข้ามาในระบบเศรษฐกิจจากการดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายของธนาคารกลางทั่วโลกรวมถึงอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำมากทำให้ค่า PER ที่เหมาะสมของตลาดถูกปรับขึ้นสูงกว่าในอดีตรวมทั้งการพัฒนาวัคซีนก็ยังดำเนินไปอย่างต่อเนื่องทำให้แม้ตลาดหุ้นจะถูกกดดันจากปัจจัยลบระยะสั้นแต่ในระยะกลางคาดว่าตลาดหุ้นน่าจะมีแนวโน้มปรับตัวขึ้นได้

สรุปภาวะตลาดหุ้นช่วงเดือนมกราคม 2564 SET Index ปิดที่ 1,466.96 จุดปรับตัวขึ้น 17.61 จุดหรือ 1.2% จากสิ้นเดือนธันวาคม 2563 นอกจากนี้ในเดือนมกราคม 2564 กลุ่มธนาคารพาณิชย์มีการประกาศงบการเงินโดยกำไรสุทธิในไตรมาส 4 ปี 2563 ของกลุ่มฯลดลง 25% YoY แต่เพิ่มขึ้น 8% QoQ ส่งผลให้ในปี 2563 กำไรสุทธิกลุ่มธนาคารลดลง 32% โดยคาดว่าผลประกอบการของธนาคารส่วนใหญ่ผ่านจุดตํ่าสุดไปแล้วในปี 2563 หลังจากตั้งสํารองเพิ่มขึ้นเพื่อเพิ่ม LLR coverage นอกจากนี้ Credit Cost ได้ทําจุดสูงสุดไปแล้วในปี 2563 โดยกลุ่มธนาคารพาณิชย์ปรับตัวขึ้นมากกว่าตลาดในเดือนมกราคม 2564โดยกลุ่มอุตสาหกรรมหลักที่ให้ผลตอบแทนสูงที่สุด (รวมเงินปันผล) ได้แก่กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ 11.9% กลุ่มธุรกิจการเกษตร 6.0% กลุ่มยานยนต์ 5.8%ในขณะที่กลุ่มอุตสาหกรรมหลักที่ให้ผลตอบแทนต่ำที่สุด (รวมเงินปันผล) ได้แก่กลุ่มบริการรับเหมาก่อสร้าง -2.6% กลุ่มขนส่งและโลจิสติกส์ -2.2% กลุ่มปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ -1.5% ซึ่งในเดือนมกราคมนี้นักลงทุนทั่วไปในประเทศซื้อหุ้นไทยสุทธิ 27,868.51 ล้านบาทขณะที่นักลงทุนสถาบันในประเทศบัญชีหลักทรัพย์และนักลงทุนต่างชาติขายหุ้นไทยสุทธิ 16,024.75 ล้านบาท 904.81 ล้านบาทและ 10,902.95 ล้านบาทตามลำดับนักลงทุนต่างชาติมีการเพิ่มสัดส่วนการถือครองในหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์พลังงานและวัสดุก่อสร้างแต่ลดการถือครองในกลุ่ม ICT ค้าปลีกปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์และขนส่งและโลจิสติกส์

ภาวะตลาดตราสารหนี้ไทย – ธันวาคม 2563

ธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) มีมติเป็นเอกฉันท์คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับต่ำ 0-0.25% ตามการคาดการณ์ของตลาด และระบุว่าจะคงอยู่ที่ระดับดังกล่าวจนกว่าตลาดแรงงานจะอยู่ในระดับที่คณะกรรมการประเมินว่าเป็นระดับการจ้างงานเต็มอัตราและเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นสู่ระดับ 2% และเกินระดับดังกล่าวพอสมควรเป็นระยะเวลาหนึ่ง โดยแนวโน้มของดอกเบี้ยหรือ Dot Plot ชี้ว่า FED จะคงดอกเบี้ยไว้ที่ระดับนี้ไปจนถึงปี 2023 เป็นอย่างน้อย ซึ่งไม่แตกต่างจาก Dot Plot ครั้งก่อนในเดือน ก.ย. ด้านการเข้าซื้อสินทรัพย์ จะเข้าซื้อที่อัตราปัจจุบัน USD120bn ต่อเดือน เป็นอย่างน้อย โดยแบ่งเป็นพันธบัตรรัฐบาล (Treasury) เดือนละ USD80bn และตราสารหนี้ที่มีสินเชื่อที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกัน ซึ่งออกโดยหน่วยงานภาครัฐ (MBS) เดือนละ USD40bn และจะเข้าซื้อจนกว่าจะเห็นพัฒนาการที่ชัดเจนว่าการจ้างงานจะกลับเข้าสู่ระดับที่คณะกรรมการประเมินว่าเป็นการจ้างงานเต็มอัตราและเงินเฟ้อเข้าสู่เป้าหมาย นอกจากนี้นาย Jerome Powell ประธาน FED กล่าวภายหลังการประชุมว่า ไม่สามารถระบุเป้าชัดเจนได้ว่าอัตราการว่างงานและอัตราเงินเฟ้อในระดับใดที่จะส่งผลให้ FED ปรับเปลี่ยนวงเงินการเข้าซื้อสินทรัพย์ต่อเดือน โดยนาย Powell ระบุเพียงว่า ยังห่างไกลจากจุดนั้น ด้านประมาณการเศรษฐกิจ FED มีมุมมองต่อเศรษฐกิจที่ดีขึ้น โดยคาดว่า GDP ปี 2020 จะหดตัว -2.4% ลดลงจากประมาณการครั้งก่อนในเดือน ก.ย. ที่คาด -3.7% และคาด GDP ปี 2021 จะพลิกกลับมาขยายตัว 4.2% เพิ่มขึ้นจาก 4.0% ในประมาณการครั้งก่อน และคาดอัตราการว่างงานจะลดลงอยู่ที่ 5.0% ณ สิ้นปี 2021 (เทียบกับ 6.7% เดือน พ.ย.)

ทางด้านคณะกรรมการนโยบายการเงินของไทย (กนง.) มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 0.50% ตามที่ตลาดคาด เพื่อช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่มีความไม่แน่นอนสูง และรักษาขีดความสามารถนโยบายการเงิน (Policy Space) ที่มีอยู่จำกัดเพื่อใช้ในยามที่เหมาะสม ทางด้านตัวเลขเศรษฐกิจ กนง. ปรับ GDP ปี 2020 ดีขึ้นเป็น -6.6% จาก -7.8% ผลจากการบริโภคและส่งออกที่ฟื้นตัว และมอง GDP ปี 2021 โตน้อยกว่าที่ประเมินไว้ในรอบก่อนที่ 3.2% จาก 3.6% เนื่องจากคาดการณ์จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าไทยที่ 5.5 ล้านคน ซึ่งน้อยกว่าประมาณการเดิม และประเมินว่าไทยจะสามารถเริ่มทยอยเปิดรับนักท่องเที่ยวได้ตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ในปี 2020 หลังมีการกระจายวัคซีน ขณะที่คาดว่าดุลบัญชีเดินสะพัดไทยในปี 2021 จะลดลงมาที่ 1.2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ จาก 1.62 หมื่นล้านดอลลาร์ในปี 2020 ซึ่งต่ำกว่าปี 2019 ที่อยู่ที่ 3.8 หมื่นล้านดอลลาร์อย่างมีนัยสำคัญ ทั้งนี้ กนง. มองว่าเศรษฐกิจไทยปี 2022 จะขยายตัวได้ 4.8% ในเบื้องต้น ธปท. ประเมินผลกระทบจากการระบาดของโควิดรอบใหม่ว่าจะส่งกระทบต่อเศรษฐกิจบ้างแต่ไม่นานนัก เนื่องจากสถานการณ์ยังควบคุมได้ แต่ยังมีความไม่แน่นอนสูงมาก นอกจากนี้ยังแสดงความกังวลต่อเงินบาทที่แข็งค่า โดยจะพิจารณามาตรการลดการแข็งค่าของเงินบาทเพิ่มเติม

ภาวะตลาดตราสารหนี้ไทยในเดือนนี้ เส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลตลอดทั้งเส้นปรับลดลงจากเดือนก่อนหน้า แม้ว่านักลงทุนต่างชาติจะเริ่มกลับมาขายสุทธิในเดือนนี้ โดยอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นทั้งในตลาดแรกและตลาดรองปรับลดลงต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้า สาเหตุหลักมาจากการคาดการณ์ของนักลงทุนในตลาดว่าคณะกรรมการนโยบายการเงินมีโอกาสปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลงอีกครั้ง เนื่องจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่กลับมารุนแรงขึ้นในไทยและในอีกหลายประเทศ ทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกมีความไม่แน่นอน โดยในสัปดาห์สุดท้ายของเดือนธันวาคม ผลการประมูลพันธบัตรรัฐบาลอายุ 14 วัน, 3 เดือน และ 6 เดือน อัตราผลตอบแทนเฉลี่ยอยู่ที่ 0.24849%, 0.18690% และ 0.23614% ตามลำดับ ลดลงจากช่วงสิ้นเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 0.36447%, 0.39705% และ 0.49629% ตามลำดับ การซื้อขายพันธบัตรรัฐบาลของนักลงทุนต่างชาติในเดือนนี้เป็นการขายสุทธิประมาณ 1.8 หมื่นล้านบาท โดยแบ่งเป็นการขายสุทธิพันธบัตรระยะสั้น 5.6 พันล้านบาท ขายสุทธิพันธบัตรระยะยาว 10.9 พันล้านบาท เมื่อหักพันธบัตรที่ครบกำหนดแล้ว คงเหลือการถือครองพันธบัตรรัฐบาลรวมประมาณ 8.6 แสนล้านบาท หรือลดลงจากปีที่ผ่านมาประมาณ 6 หมื่นล้านบาท

ตารางเปรียบเทียบอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยและสหรัฐ

ภาวะตลาดหุ้นไทย – ธันวาคม 2563

SET Index ปรับตัวขึ้น +2.9% สู่ระดับ 1,449.35 จุด เนื่องจากปัจจัยสนับสนุนหลักจากต่างประเทศ ประกอบด้วย การอนุมัติวัคซีนต้านไวรัส COVID-19 การลงนามของประธานาธิบดี Trump ในมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเฟส 4 วงเงิน 9 แสนล้านเหรียญฯ และการลงนามในงบประมาณรายจ่ายวงเงิน 1.4 ล้านล้านเหรียญฯ รวมถึงการบรรลุข้อตกลงทางการค้าระหว่าง EU และ UK กรณี Brexit แต่การระบาดของไวรัส COVID-19 รอบ 2 ในประเทศไทยยังคงเป็นปัจจัยที่น่ากังวล

การอนุมัติวัคซีนต้านไวรัส COVID-19 อย่างต่อเนื่องในหลายประเทศ โดยประเทศสหรัฐฯ ประเทศอังกฤษ ประเทศสิงคโปร์ ประเทศแคนาดา สหภาพยุโรป และประเทศบาห์เรน ได้ทำการอนุมัติให้สามารถใช้วัคซีนต้านไวรัส COVID-19 เป็นกรณีฉุกเฉินในประเทศแล้ว และหลายประเทศเริ่มกระบวนการแจกจ่าย โดยเฉพาะในประเทศสหรัฐฯ ที่ได้มีการฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชนกว่า 1 ล้านคนแล้ว และตั้งเป้าจะฉีดอีก 2 ล้านคน/วัน เพื่อบรรลุเป้าหมาย 200 ล้านคนภายในปีนี้ นอกจากนี้การที่ประธานาธิบดี Trump ลงนามในมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเฟส 4 วงเงิน 9 แสนล้านเหรียญฯ ทำให้มาตรการช่วยเหลือคนว่างงานดำเนินต่อไปได้ รวมถึงลงนามในงบประมาณรายจ่ายวงเงิน 1.4 ล้านล้านเหรียญฯ ทำให้หลีกเลี่ยงการเกิด Government Shutdown เป็นการปลดล๊อค Overhang 2 เรื่องใหญ่ นอกจากนี้ ประเทศอังกฤษและสหภาพยุโรปสามารถบรรลุข้อตกลงการค้าระหว่างกันได้สำเร็จ โดยข้อตกลงนี้ถือว่าเป็นข้อตกลงที่สมดุลและเป็นธรรม จะทำให้ประเทศอังกฤษออกจากการเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปแบบมีข้อตกลงในวันที่ 1 มกราคม (Brexit with Deals) จากปัจจัยที่กล่าวข้างต้นสะท้อนปัจจัยภายนอกที่ค่อนข้างเป็นบวก แต่ปัจจัยภายในประเทศยังคงมีความน่ากังวล เนื่องจากเกิดการระบาดรอบ 2 ของ COVID-19 ในประเทศ ที่เริ่มจากตลาดกลางกุ้งที่จังหวัดสมุทรสาคร และปัจจุบันพบแหล่งแพร่ระบาดเพิ่มอีก 2 แห่ง ได้แก่ งานบิ๊กไบค์ที่จังหวัดกระบี่ และบ่อนที่จังหวัดระยอง ทำให้การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ลุกลามไปกว่า 48 จังหวัด และยอดผู้ติดเชื้อในประเทศยังเร่งตัวขึ้นต่อเนื่อง ทำให้หลายจังหวัดดำเนินมาตรการป้องกันที่เข้มงวด แต่ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อตลาดค่อนข้างมาก คือ มาตรการต่อกรุงเทพมหานคร ซึ่งปัจจุบันมีคำสั่ง Partial Lockdown แล้ว จึงควรติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพื่อประเมินความเสี่ยงต่อการออกมาตรการเพิ่มเติมของภาครัฐ ซึ่งหากกลับมา Lockdown เต็มรูปแบบจะทำให้เศรษฐกิจมีแนวโน้มชะลอตัวลง ส่วนการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยตามที่ตลาดคาดการณ์ แต่คณะกรรมการนโยบายการเงินยังคงส่งสัญญาณ Dovish อย่างต่อเนื่อง อีกทั้งพร้อมที่จะออกมาตรการผ่อนคลายเพิ่มเติมหากจำเป็น ขณะที่คณะกรรมการนโยบายการเงินมีการปรับคาดการณ์ GDP ปี 2020 ขึ้นสู่ -6.6% จาก -7.8% จากการบริโภคภาคเอกชน และการส่งออกที่ฟื้นตัวดีกว่าคาด แต่ปรับคาดการณ์ GDP ปี 2021 ลงสู่ 3.2% จากเดิม 3.6% เนื่องจากเหตุผลหลักคือการปรับลดคาดการณ์จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในปี 2021 ลงเหลือ 5.5 ล้านคน จากการคาดการณ์เดิมที่ 9 ล้านคน และปรับลดคาดการณ์การลงทุนภาครัฐเหลือ 7.9% จากการคาดการณ์เดิมที่ 11.4% นอกจากนี้ คณะกรรมการนโยบายการเงินยังมีการประเมินว่าอาจมี Downside ต่อประมาณการจากการเกิดการะบาดของไวรัส COVID-19 รอบใหม่ ทำให้คณะกรรมการนโยบายการเงินมีแนวโน้มจะปรับดอกเบี้ยลงได้อีกในปี 2021 ทำให้ดอกเบี้ยอาจจะลดลงไปสู่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 0%

อย่างไรก็ตาม ด้วยปริมาณเงินจำนวนมหาศาลที่ถูกอัดฉีดเข้ามาในระบบเศรษฐกิจ จากการดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายของธนาคารกลางทั่วโลก รวมถึงอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำมาก ทำให้ค่า PER ที่เหมาะสมของตลาดถูกปรับขึ้นสูงกว่าในอดีต รวมทั้งการพัฒนาวัคซีนก็ยังดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง ทำให้แม้ตลาดหุ้นจะถูกกดดันจากปัจจัยลบระยะสั้น แต่ในระยะกลาง คาดว่าตลาดหุ้นน่าจะมีแนวโน้มปรับตัวขึ้นได้

สรุปภาวะตลาดหุ้นช่วงเดือนธันวาคม 2563 SET Index ปิดที่ 1,449.35 จุด ปรับตัวขึ้น 41.04 จุด หรือ 2.9% จากสิ้นเดือนพฤศจิกายน 2563 ตลาดหุ้นไทยปรับขึ้นด้วยความคาดหวังที่ล่วงหน้าไปมาก ขณะที่ปัจจัยพื้นฐานและประมาณการกำไรตลาดยังไม่ได้มีพัฒนาการเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญมากนัก ประกอบกับการเผชิญกับปัจจัยลบจากการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 รอบใหม่ และการปรับตัวขึ้นอย่างมากของหุ้น DELTA ที่ทำให้กลายเป็นหุ้นที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 3 ของตลาดหุ้นไทย ส่งผลให้ SET Index เกิดความผันผวนอย่างรุนแรงในเดือนธันวาคมโดยกลุ่มอุตสาหกรรมหลักที่ให้ผลตอบแทนสูงที่สุด (รวมเงินปันผล) ได้แก่ กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ 77.2% กลุ่มเงินทุนและหลักทรัพย์ 11.2% กลุ่มปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ 7.7% ในขณะที่กลุ่มอุตสาหกรรมหลักที่ให้ผลตอบแทนต่ำที่สุด (รวมเงินปันผล) ได้แก่ กลุ่มบริการรับเหมาก่อสร้างและกลุ่มพาณิชย์ -4.0% เท่ากัน กลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม -3.7% นอกจากนี้ ในเดือนธันวาคม นักลงทุนต่างชาติและนักลงทุนทั่วไปในประเทศซื้อหุ้นไทยสุทธิ 2,520.67 ล้านบาท และ 18,305.44 ล้านบาท ตามลำดับ โดยนักลงทุนต่างชาติมีการเพิ่มสัดส่วนการถือครองในหุ้นกลุ่มธนาคารและปิโตรเคมี แต่ลดการถือครองในกลุ่มพลังงาน อสังหาริมทรัพย์ และขนส่ง ขณะที่นักลงทุนสถาบันในประเทศและบัญชีหลักทรัพย์ขายหุ้นไทยสุทธิ 18,497.25 และ 2,328.85 ล้านบาท ตามลำดับ ทำให้ยอดการซื้อขายสะสมของปี 2563 นักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อหุ้นไทยสุทธิ 33,455.77 ล้านบาท บัญชีหลักทรัพย์ซื้อหุ้นไทยสุทธิ 14,221.33 ล้านบาท นักลงทุนต่างชาติขายหุ้นไทยสุทธิ 264,385.79 ล้านบาท และนักลงทุนทั่วไปในประเทศซื้อหุ้นไทยสุทธิ 216,708.69 ล้านบาท