ภาวะตลาดตราสารหนี้ไทย – กุมภาพันธ์ 2564

ธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) มีมติเป็นเอกฉันท์คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับต่ำ 0.1% และคงวงเงินการเข้าซื้อสินทรัพย์ที่ 895 พันล้านปอนด์ ตามการคาดการณ์ของตลาด BOE มองเศรษฐกิจในระยะใกล้อ่อนแอลงจากประมาณการครั้งก่อนในเดือน พ.ย. จากการระบาดของ COVID-19 ที่รุนแรงขึ้นและนำไปสู่การกลับมาใช้มาตรการ Lockdown อีกครั้ง (เป็นครั้งที่ 3) ซึ่งส่งผลกดดันเศรษฐกิจในไตรมาส 4/2020 และต่อเนื่องมาสู่ไตรมาส 1/2021 ซึ่ง BOE คาดว่าจะหดตัว -4.2% QoQ อย่างไรก็ดีการแจกจ่ายวัคซีนคาดว่าจะทำให้มาตรการ Lockdown ผ่อนคลายลงในไตรมาส 2 รวมทั้ง ลดความกังวลของผู้คนในเรื่องไวรัส และจะทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวขึ้นกลับเข้าสู่ระดับก่อน COVID-19 อย่างรวดเร็วในช่วงที่เหลือของปี โดย BOE คาดว่าเศรษฐกิจปี 2021 จะขยายตัว 5.0% (vs.

ภาวะตลาดตราสารหนี้ไทย – มกราคม 2564

ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ส่งสัญญาณคงการผ่อนคลายนโยบายการเงินต่อเนื่องจนกว่าเสถียรภาพด้านราคาจะกลับเข้าสู่ระดับเป้าหมายที่ 2% โดยได้คงอัตราดอกเบี้ยและมาตรการซื้อสินทรัพย์ได้แก่คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ -0.1% และควบคุมอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปีใกล้ 0% รวมทั้งคงมาตรการซื้อสินทรัพย์ทั้งพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นแบบไม่จำกัดคงวงเงินการเข้าซื้อ ETFs ที่ 12 ล้านล้านเยนและ J-REITs ที่ 1.8 แสนล้านเยนซื้อตราสารหนี้เอกชนวงเงิน 20 ล้านล้านเยนถึงสิ้นเดือนกันยายน 2021 นอกจากนี้ยังขยายเวลามาตรการช่วยเหลือด้านสินเชื่อทั้งหมดออกไป 1 ปีเพื่อสนับสนุนสภาพคล่องแก่ครัวเรือนและธุรกิจBOJ มองเศรษฐกิจดีขึ้นในปี 2021 โดยขยายตัว 3.9% จากเดิมที่ 3.6% ณเดือนตุลาคมอีกทั้งปรับขึ้นคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อไม่รวมอาหารสดมาที่ 0.5% จาก 0.4% เนื่องจากมาตรการใช้จ่ายของภาครัฐที่ออกมาเพิ่มเติมเป็นรอบที่ 3 เมื่อเดือนธันวาคมมูลค่า 7.08 แสนล้านดอลลาร์ทำให้มีเม็ดเงินของภาครัฐเข้ากระตุ้นเศรษฐกิจแล้วทั้งสิ้นกว่า 3 ล้านล้านดอลลาร์และช่วยพยุงการบริโภคในประเทศขณะที่รัฐบาลส่งสัญญาณว่าจะออกมาตรการเพิ่มเติมหากมีความจำเป็น

ธนาคารกลางยุโรป (ECB) คงมาตรการผ่อนคลายทางการเงินโดยคงอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก (Deposit Facility) ที่ -0.5% อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ (Marginal Lending Facility) ที่ 0.25% และอัตราดอกเบี้ย Main Refinancing Operations ที่ 0.00% พร้อมทั้งคงวงเงินซื้อสินทรัพย์มาตรการ Asset Purchase Program ที่ 2 หมื่นล้านยูโรต่อเดือนและมาตรการ Pandemic Emergency Purchase Program (PEPP) ที่ 1.85 ล้านล้านยูโรโดย ECB ยืนยันว่าจะเข้าซื้อสินทรัพย์ตามมาตรการ PEPP อย่างน้อยจนถึงเดือนมีนาคม 2022นายคริสตินลาร์การ์ดประธาน ECB กล่าวว่าเศรษฐกิจยูโรโซนมีความเสี่ยงที่จะถดถอยซ้ำซ้อน (Double-dip Recession) ในไตรมาสที่ 4/2020 จากผลกระทบของการระบาดของโควิด-19 รอบใหม่ที่ส่งผลให้รัฐบาลของนานาประเทศในภูมิภาคกลับมาใช้มาตรการปิดเมืองอย่างเข้มขึ้นอย่างไรก็ตาม ECB ยังคงมีมุมมองเชิงบวกต่อแนวโน้มเศรษฐกิจในระยะข้างหน้าจาก (1) การกระจายวัคซีนของประเทศต่างๆซึ่งจะส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจค่อยๆฟื้นตัว (2) เม็ดเงินช่วยเหลือภายใต้กองทุนฟื้นฟูเศรษฐกิจ (3) การฟื้นตัวของภาคอุตสาหกรรมและ (4) ความไม่แน่นอนทางการเมืองสหรัฐฯลดลงทั้งนี้ลาร์การ์ดมองว่าเศรษฐกิจยูโรโซนยังมีแนวโน้มขยายตัวได้ตามเป้าที่ 3.9% ในปี 2021

ธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) มีมติเป็นเอกฉันท์ (11-0) คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับต่ำ 0-0.25% ตามการคาดการณ์ของตลาดด้านการเข้าซื้อสินทรัพย์ FED ยังคงระบุเช่นเดิมว่าจะเข้าซื้อที่อัตราปัจจุบัน 1.2 แสนล้านดอลลาร์ต่อเดือนเป็นอย่างน้อยแบ่งเป็นพันธบัตรรัฐบาลเดือนละ 8 หมื่นล้านดอลลาร์และตราสารหนี้ที่มีสินเชื่อที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกันเดือนละ 4 หมื่นล้านดอลลาร์และระบุจะเข้าซื้อจนกว่าจะเห็นพัฒนาการที่ชัดเจนว่าการจ้างงานจะกลับเข้าสู่ระดับที่คณะกรรมการประเมินว่าเป็นการจ้างงานเต็มอัตราและเงินเฟ้อเข้าสู่เป้าหมายFED ระบุแนวโน้มเศรษฐกิจโดยหลักขึ้นอยู่กับการระบาดของไวรัสรวมถึงความคืบหน้าของวัคซีนวิกฤตครั้งนี้จะยังคงกดดันกิจกรรมเศรษฐกิจการจ้างงานและเงินเฟ้อและยังคงเป็นความเสี่ยงสำคัญต่อแนวโน้มเศรษฐกิจสำหรับประเด็นการชะลอการเข้าซื้อสินทรัพย์ที่ตลาดให้ความสนใจอย่างมากโดยเฉพาะหลังการประกาศมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม 1.9 ล้านล้านดอลลาร์ของประธานาธิบดีโจไบเดนที่คาดว่าจะหนุนให้เศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างรวดเร็วจนหนุนให้เงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นแรงนั้นนายเจอโรมโพเวลประธาน FED กล่าวในแถลงการณ์หลังการประชุมว่ายังต้องใช้เวลาอีกสักระยะถึงจะเริ่มพิจารณาปรับเปลี่ยนการเข้าซื้อสินทรัพย์ได้โดยระบุว่าการมุ่งให้ความสนใจต่อประเด็นดังกล่าวนั้นเร็วเกินไป

ภาวะตลาดตราสารหนี้ไทยในเดือนนี้เส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับตัวขึ้น 1-10 Bps โดยรุ่นอายุ 15-21 ปีมีการปรับตัวขึ้นมากกว่ารุ่นอายุอื่นๆซึ่งคาดว่าได้รับผลกระทบจากการปริมาณเสนอขายพันธบัตรรัฐบาลในตลาดแรกที่มีการประมูลในเดือนนี้ในขณะที่พันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นที่มีอายุไม่เกิน 1 ปีอัตราผลตอบแทนปรับตัวขึ้นมา 3-5 Bps จากการที่นักวิเคราะห์และนักลงทุนสถาบันเริ่มมีมุมมองที่แตกต่างกันว่าผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินในเดือนกุมภาพันธ์จะคงดอกเบี้ยหรือลดดอกเบี้ยในขณะที่การซื้อขายพันธบัตรรัฐบาลของนักลงทุนต่างชาติในเดือนนี้ไม่เปลี่ยนแปลงมากนักแบ่งเป็นการขายสุทธิพันธบัตรระยะสั้น 1.9 พันล้านบาทซื้อสุทธิพันธบัตรระยะยาว 2 พันล้านบาทเมื่อหักพันธบัตรที่ครบกำหนดแล้วคงเหลือการถือครองพันธบัตรรัฐบาลรวมประมาณ 8.54 แสนล้านบาทหรือลดลงจากปีที่ผ่านมาประมาณ 3 พันล้านบาท

ตารางเปรียบเทียบอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยและสหรัฐ

ภาวะตลาดหุ้นไทย – มกราคม 2564

SET Index ปรับตัวขึ้น +1.2% สู่ระดับ 1,466.98 จุดเนื่องจากผลการเลือกตั้งวุฒิสภาชิกในสหรัฐฯและการประกาศงบการเงินไตรมาส 4 ของกลุ่มธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยแต่การระบาดของไวรัส COVID-19 รอบ 2 ในกลุ่มแรงงานต่างด้าวในประเทศไทยรวมถึงระดับหนี้ครัวเรือนที่สูงในปี 2563 และการหดตัวของดัชนี MPI เดือนธันวาคม 2563 ของประเทศไทยยังเป็นปัจจัยที่น่ากังวลนอกจากนี้ยังมีแรงกดดันจากการที่ตลาดหลักทรัพย์ฯกำลังทบทวนหลักเกณฑ์และมาตรการเพื่อแก้ปัญหาเกี่ยวกับหลักทรัพย์ที่มี Free Float ต่ำ

พรรค Democrat ได้รับชัยชนะทั้ง 2 ที่นั่งในการเลือกตั้งวุฒิสภาชิกในรัฐ Georgia ของสหรัฐฯทำให้พรรค Democrat ครองเสียงข้างมากทั้งในสภาผู้แทนราษฎรและครองเสียงกึ่งหนึ่งในวุฒิสภา (รองประธานาธิบดีจะเป็นผู้ชี้ขาดกรณีเสียงโหวตเท่ากัน) ทำให้เกิด Blue Wave อ่อนๆและเพิ่มความคาดหวังต่อการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจชุดใหญ่วงเงินกว่า 1.9 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯแต่มาตรการนี้มีความเสี่ยงที่จะไม่ได้รับอนุมัติจากวุฒิสภาเนื่องจากต้องใช้เสียงสนับสนุนขั้นต่ำ 60 เสียงจึงต้องใช้เสียงสนับสุนนจากสว.ของพรรค Republican ประกอบด้วยนอกจากนี้ในช่วงที่ผ่านมาสส.บางรายของพรรค Democrat เริ่มแสดงความกังวลต่อวงเงินของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่อาจจะสูงเกินไปทำให้เกิดความไม่แน่นอนในเรื่องวงเงินและความล่าช้าในการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจส่งผลให้มีเงินลงทุนเริ่มเข้าลงทุนในสินทรัพย์ปลอดภัยเห็นได้จาก US Bond Yield 10 ปีลดลงต่อเนื่องสู่ 1% และค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าสู่ 90.7 จุดซึ่งเป็นกดดันทำให้ Fund Flows ในเอเชียมีความผันผวนในขณะที่ปัจจัยภายในประเทศถูกกดดันจากตัวเลขผู้ติดเชื้อ COVID-19 ที่ยังอยู่ในระดับสูงโดยเฉพาะในกลุ่มแรงงานต่างด้าวจากการตรวจหาโรคเชิงรุกนอกจากนี้หนี้ครัวเรือนปี 2020 อยู่ที่ระดับ 4.8 แสนบาท/ครัวเรือนหรือขยายตัว 42% ซึ่งถือเป็นระดับสูงสุดในรอบ 12 ปีและดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (MPI) เดือนธันวาคมหดตัว -2.44%YoY ทำให้ทั้งปี 2020 ดัชนี MPI หดตัวถึง -8.8% บ่งชี้ว่าภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทยได้รับผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญอย่างไรก็ตามรัฐบาลเริ่มทยอยผ่อนคลายมาตรการ Lockdown อย่างค่อยเป็นค่อยไปในบางจังหวัดที่เริ่มควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดได้ดีขึ้นทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจทยอยกลับมาดำเนินได้นอกจากนี้ตลาดหุ้นไทยยังมีแรงกดดันจากการที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกำลังทบทวนหลักเกณฑ์ในการคำนวณดัชนีเพื่อแก้ปัญหาเกี่ยวกับหลักทรัพย์ที่มี Free Float ต่ำโดยจะปรับจากเกณฑ์การใช้มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดในการคำนวณ (Full Market Capitalization) เป็นการใช้มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดที่ปรับด้วย Free Float (Free Float Adjusted Market Capitalization) คาดว่าจะทำให้ดัชนี SET50 และ SET100 ผันผวนเชิงลบก่อนวันที่มีผลบังคับใช้

ในช่วงเดือนมกราคมที่ผ่านมาราคาหุ้น GameStop เป็นร้านขายวิดีโอเกมส์ซึ่งจดทะเบียนอยู่ใน New York Stock Exchange (NYSE) ปรับตัวขึ้นเกือบ 900% ในเวลาเพียง 2 สัปดาห์การปรับตัวขึ้นของหุ้น GameStop เกิดจากการที่นักลงทุนรายย่อยเห็นว่ากองทุนมีการทำ Short Sell ในหุ้น GameStop ในสัดส่วนที่สูงมากจึงเห็นโอกาสในการทำกำไรจึงเข้าซื้อหุ้นและ Stock Options ของหุ้น GameStop จากการได้รับการชักชวนจากเว็บบอร์ด WallStreetBets จนราคาหุ้น GameStop ปรับตัวสูงขึ้นขัดกับปัจจัยพื้นฐานและทำให้หองทุนที่ทำ Short Sell ไว้ต้องเข้าซื้อหุ้น GameStop เพื่อนำไปส่งมอบและตัดขาดทุนรวมทั้งต้องมีการขายหุ้นบริษัทอื่นเพื่อเอาผลกำไรไปกลบขาดทุนที่เกิดขึ้นส่งผลให้ตลาดมีความผันผวนในระยะสั้นอย่างไรก็ตามด้วยปริมาณเงินจำนวนมหาศาลที่ถูกอัดฉีดเข้ามาในระบบเศรษฐกิจจากการดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายของธนาคารกลางทั่วโลกรวมถึงอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำมากทำให้ค่า PER ที่เหมาะสมของตลาดถูกปรับขึ้นสูงกว่าในอดีตรวมทั้งการพัฒนาวัคซีนก็ยังดำเนินไปอย่างต่อเนื่องทำให้แม้ตลาดหุ้นจะถูกกดดันจากปัจจัยลบระยะสั้นแต่ในระยะกลางคาดว่าตลาดหุ้นน่าจะมีแนวโน้มปรับตัวขึ้นได้

สรุปภาวะตลาดหุ้นช่วงเดือนมกราคม 2564 SET Index ปิดที่ 1,466.96 จุดปรับตัวขึ้น 17.61 จุดหรือ 1.2% จากสิ้นเดือนธันวาคม 2563 นอกจากนี้ในเดือนมกราคม 2564 กลุ่มธนาคารพาณิชย์มีการประกาศงบการเงินโดยกำไรสุทธิในไตรมาส 4 ปี 2563 ของกลุ่มฯลดลง 25% YoY แต่เพิ่มขึ้น 8% QoQ ส่งผลให้ในปี 2563 กำไรสุทธิกลุ่มธนาคารลดลง 32% โดยคาดว่าผลประกอบการของธนาคารส่วนใหญ่ผ่านจุดตํ่าสุดไปแล้วในปี 2563 หลังจากตั้งสํารองเพิ่มขึ้นเพื่อเพิ่ม LLR coverage นอกจากนี้ Credit Cost ได้ทําจุดสูงสุดไปแล้วในปี 2563 โดยกลุ่มธนาคารพาณิชย์ปรับตัวขึ้นมากกว่าตลาดในเดือนมกราคม 2564โดยกลุ่มอุตสาหกรรมหลักที่ให้ผลตอบแทนสูงที่สุด (รวมเงินปันผล) ได้แก่กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ 11.9% กลุ่มธุรกิจการเกษตร 6.0% กลุ่มยานยนต์ 5.8%ในขณะที่กลุ่มอุตสาหกรรมหลักที่ให้ผลตอบแทนต่ำที่สุด (รวมเงินปันผล) ได้แก่กลุ่มบริการรับเหมาก่อสร้าง -2.6% กลุ่มขนส่งและโลจิสติกส์ -2.2% กลุ่มปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ -1.5% ซึ่งในเดือนมกราคมนี้นักลงทุนทั่วไปในประเทศซื้อหุ้นไทยสุทธิ 27,868.51 ล้านบาทขณะที่นักลงทุนสถาบันในประเทศบัญชีหลักทรัพย์และนักลงทุนต่างชาติขายหุ้นไทยสุทธิ 16,024.75 ล้านบาท 904.81 ล้านบาทและ 10,902.95 ล้านบาทตามลำดับนักลงทุนต่างชาติมีการเพิ่มสัดส่วนการถือครองในหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์พลังงานและวัสดุก่อสร้างแต่ลดการถือครองในกลุ่ม ICT ค้าปลีกปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์และขนส่งและโลจิสติกส์

ภาวะตลาดตราสารหนี้ไทย – ธันวาคม 2563

ธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) มีมติเป็นเอกฉันท์คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับต่ำ 0-0.25% ตามการคาดการณ์ของตลาด และระบุว่าจะคงอยู่ที่ระดับดังกล่าวจนกว่าตลาดแรงงานจะอยู่ในระดับที่คณะกรรมการประเมินว่าเป็นระดับการจ้างงานเต็มอัตราและเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นสู่ระดับ 2% และเกินระดับดังกล่าวพอสมควรเป็นระยะเวลาหนึ่ง โดยแนวโน้มของดอกเบี้ยหรือ Dot Plot ชี้ว่า FED จะคงดอกเบี้ยไว้ที่ระดับนี้ไปจนถึงปี 2023 เป็นอย่างน้อย ซึ่งไม่แตกต่างจาก Dot Plot ครั้งก่อนในเดือน ก.ย. ด้านการเข้าซื้อสินทรัพย์ จะเข้าซื้อที่อัตราปัจจุบัน USD120bn ต่อเดือน เป็นอย่างน้อย โดยแบ่งเป็นพันธบัตรรัฐบาล (Treasury) เดือนละ USD80bn และตราสารหนี้ที่มีสินเชื่อที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกัน ซึ่งออกโดยหน่วยงานภาครัฐ (MBS) เดือนละ USD40bn และจะเข้าซื้อจนกว่าจะเห็นพัฒนาการที่ชัดเจนว่าการจ้างงานจะกลับเข้าสู่ระดับที่คณะกรรมการประเมินว่าเป็นการจ้างงานเต็มอัตราและเงินเฟ้อเข้าสู่เป้าหมาย นอกจากนี้นาย Jerome Powell ประธาน FED กล่าวภายหลังการประชุมว่า ไม่สามารถระบุเป้าชัดเจนได้ว่าอัตราการว่างงานและอัตราเงินเฟ้อในระดับใดที่จะส่งผลให้ FED ปรับเปลี่ยนวงเงินการเข้าซื้อสินทรัพย์ต่อเดือน โดยนาย Powell ระบุเพียงว่า ยังห่างไกลจากจุดนั้น ด้านประมาณการเศรษฐกิจ FED มีมุมมองต่อเศรษฐกิจที่ดีขึ้น โดยคาดว่า GDP ปี 2020 จะหดตัว -2.4% ลดลงจากประมาณการครั้งก่อนในเดือน ก.ย. ที่คาด -3.7% และคาด GDP ปี 2021 จะพลิกกลับมาขยายตัว 4.2% เพิ่มขึ้นจาก 4.0% ในประมาณการครั้งก่อน และคาดอัตราการว่างงานจะลดลงอยู่ที่ 5.0% ณ สิ้นปี 2021 (เทียบกับ 6.7% เดือน พ.ย.)

ทางด้านคณะกรรมการนโยบายการเงินของไทย (กนง.) มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 0.50% ตามที่ตลาดคาด เพื่อช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่มีความไม่แน่นอนสูง และรักษาขีดความสามารถนโยบายการเงิน (Policy Space) ที่มีอยู่จำกัดเพื่อใช้ในยามที่เหมาะสม ทางด้านตัวเลขเศรษฐกิจ กนง. ปรับ GDP ปี 2020 ดีขึ้นเป็น -6.6% จาก -7.8% ผลจากการบริโภคและส่งออกที่ฟื้นตัว และมอง GDP ปี 2021 โตน้อยกว่าที่ประเมินไว้ในรอบก่อนที่ 3.2% จาก 3.6% เนื่องจากคาดการณ์จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าไทยที่ 5.5 ล้านคน ซึ่งน้อยกว่าประมาณการเดิม และประเมินว่าไทยจะสามารถเริ่มทยอยเปิดรับนักท่องเที่ยวได้ตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ในปี 2020 หลังมีการกระจายวัคซีน ขณะที่คาดว่าดุลบัญชีเดินสะพัดไทยในปี 2021 จะลดลงมาที่ 1.2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ จาก 1.62 หมื่นล้านดอลลาร์ในปี 2020 ซึ่งต่ำกว่าปี 2019 ที่อยู่ที่ 3.8 หมื่นล้านดอลลาร์อย่างมีนัยสำคัญ ทั้งนี้ กนง. มองว่าเศรษฐกิจไทยปี 2022 จะขยายตัวได้ 4.8% ในเบื้องต้น ธปท. ประเมินผลกระทบจากการระบาดของโควิดรอบใหม่ว่าจะส่งกระทบต่อเศรษฐกิจบ้างแต่ไม่นานนัก เนื่องจากสถานการณ์ยังควบคุมได้ แต่ยังมีความไม่แน่นอนสูงมาก นอกจากนี้ยังแสดงความกังวลต่อเงินบาทที่แข็งค่า โดยจะพิจารณามาตรการลดการแข็งค่าของเงินบาทเพิ่มเติม

ภาวะตลาดตราสารหนี้ไทยในเดือนนี้ เส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลตลอดทั้งเส้นปรับลดลงจากเดือนก่อนหน้า แม้ว่านักลงทุนต่างชาติจะเริ่มกลับมาขายสุทธิในเดือนนี้ โดยอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นทั้งในตลาดแรกและตลาดรองปรับลดลงต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้า สาเหตุหลักมาจากการคาดการณ์ของนักลงทุนในตลาดว่าคณะกรรมการนโยบายการเงินมีโอกาสปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลงอีกครั้ง เนื่องจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่กลับมารุนแรงขึ้นในไทยและในอีกหลายประเทศ ทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกมีความไม่แน่นอน โดยในสัปดาห์สุดท้ายของเดือนธันวาคม ผลการประมูลพันธบัตรรัฐบาลอายุ 14 วัน, 3 เดือน และ 6 เดือน อัตราผลตอบแทนเฉลี่ยอยู่ที่ 0.24849%, 0.18690% และ 0.23614% ตามลำดับ ลดลงจากช่วงสิ้นเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 0.36447%, 0.39705% และ 0.49629% ตามลำดับ การซื้อขายพันธบัตรรัฐบาลของนักลงทุนต่างชาติในเดือนนี้เป็นการขายสุทธิประมาณ 1.8 หมื่นล้านบาท โดยแบ่งเป็นการขายสุทธิพันธบัตรระยะสั้น 5.6 พันล้านบาท ขายสุทธิพันธบัตรระยะยาว 10.9 พันล้านบาท เมื่อหักพันธบัตรที่ครบกำหนดแล้ว คงเหลือการถือครองพันธบัตรรัฐบาลรวมประมาณ 8.6 แสนล้านบาท หรือลดลงจากปีที่ผ่านมาประมาณ 6 หมื่นล้านบาท

ตารางเปรียบเทียบอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยและสหรัฐ

ภาวะตลาดหุ้นไทย – ธันวาคม 2563

SET Index ปรับตัวขึ้น +2.9% สู่ระดับ 1,449.35 จุด เนื่องจากปัจจัยสนับสนุนหลักจากต่างประเทศ ประกอบด้วย การอนุมัติวัคซีนต้านไวรัส COVID-19 การลงนามของประธานาธิบดี Trump ในมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเฟส 4 วงเงิน 9 แสนล้านเหรียญฯ และการลงนามในงบประมาณรายจ่ายวงเงิน 1.4 ล้านล้านเหรียญฯ รวมถึงการบรรลุข้อตกลงทางการค้าระหว่าง EU และ UK กรณี Brexit แต่การระบาดของไวรัส COVID-19 รอบ 2 ในประเทศไทยยังคงเป็นปัจจัยที่น่ากังวล

การอนุมัติวัคซีนต้านไวรัส COVID-19 อย่างต่อเนื่องในหลายประเทศ โดยประเทศสหรัฐฯ ประเทศอังกฤษ ประเทศสิงคโปร์ ประเทศแคนาดา สหภาพยุโรป และประเทศบาห์เรน ได้ทำการอนุมัติให้สามารถใช้วัคซีนต้านไวรัส COVID-19 เป็นกรณีฉุกเฉินในประเทศแล้ว และหลายประเทศเริ่มกระบวนการแจกจ่าย โดยเฉพาะในประเทศสหรัฐฯ ที่ได้มีการฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชนกว่า 1 ล้านคนแล้ว และตั้งเป้าจะฉีดอีก 2 ล้านคน/วัน เพื่อบรรลุเป้าหมาย 200 ล้านคนภายในปีนี้ นอกจากนี้การที่ประธานาธิบดี Trump ลงนามในมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเฟส 4 วงเงิน 9 แสนล้านเหรียญฯ ทำให้มาตรการช่วยเหลือคนว่างงานดำเนินต่อไปได้ รวมถึงลงนามในงบประมาณรายจ่ายวงเงิน 1.4 ล้านล้านเหรียญฯ ทำให้หลีกเลี่ยงการเกิด Government Shutdown เป็นการปลดล๊อค Overhang 2 เรื่องใหญ่ นอกจากนี้ ประเทศอังกฤษและสหภาพยุโรปสามารถบรรลุข้อตกลงการค้าระหว่างกันได้สำเร็จ โดยข้อตกลงนี้ถือว่าเป็นข้อตกลงที่สมดุลและเป็นธรรม จะทำให้ประเทศอังกฤษออกจากการเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปแบบมีข้อตกลงในวันที่ 1 มกราคม (Brexit with Deals) จากปัจจัยที่กล่าวข้างต้นสะท้อนปัจจัยภายนอกที่ค่อนข้างเป็นบวก แต่ปัจจัยภายในประเทศยังคงมีความน่ากังวล เนื่องจากเกิดการระบาดรอบ 2 ของ COVID-19 ในประเทศ ที่เริ่มจากตลาดกลางกุ้งที่จังหวัดสมุทรสาคร และปัจจุบันพบแหล่งแพร่ระบาดเพิ่มอีก 2 แห่ง ได้แก่ งานบิ๊กไบค์ที่จังหวัดกระบี่ และบ่อนที่จังหวัดระยอง ทำให้การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ลุกลามไปกว่า 48 จังหวัด และยอดผู้ติดเชื้อในประเทศยังเร่งตัวขึ้นต่อเนื่อง ทำให้หลายจังหวัดดำเนินมาตรการป้องกันที่เข้มงวด แต่ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อตลาดค่อนข้างมาก คือ มาตรการต่อกรุงเทพมหานคร ซึ่งปัจจุบันมีคำสั่ง Partial Lockdown แล้ว จึงควรติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพื่อประเมินความเสี่ยงต่อการออกมาตรการเพิ่มเติมของภาครัฐ ซึ่งหากกลับมา Lockdown เต็มรูปแบบจะทำให้เศรษฐกิจมีแนวโน้มชะลอตัวลง ส่วนการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยตามที่ตลาดคาดการณ์ แต่คณะกรรมการนโยบายการเงินยังคงส่งสัญญาณ Dovish อย่างต่อเนื่อง อีกทั้งพร้อมที่จะออกมาตรการผ่อนคลายเพิ่มเติมหากจำเป็น ขณะที่คณะกรรมการนโยบายการเงินมีการปรับคาดการณ์ GDP ปี 2020 ขึ้นสู่ -6.6% จาก -7.8% จากการบริโภคภาคเอกชน และการส่งออกที่ฟื้นตัวดีกว่าคาด แต่ปรับคาดการณ์ GDP ปี 2021 ลงสู่ 3.2% จากเดิม 3.6% เนื่องจากเหตุผลหลักคือการปรับลดคาดการณ์จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในปี 2021 ลงเหลือ 5.5 ล้านคน จากการคาดการณ์เดิมที่ 9 ล้านคน และปรับลดคาดการณ์การลงทุนภาครัฐเหลือ 7.9% จากการคาดการณ์เดิมที่ 11.4% นอกจากนี้ คณะกรรมการนโยบายการเงินยังมีการประเมินว่าอาจมี Downside ต่อประมาณการจากการเกิดการะบาดของไวรัส COVID-19 รอบใหม่ ทำให้คณะกรรมการนโยบายการเงินมีแนวโน้มจะปรับดอกเบี้ยลงได้อีกในปี 2021 ทำให้ดอกเบี้ยอาจจะลดลงไปสู่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 0%

อย่างไรก็ตาม ด้วยปริมาณเงินจำนวนมหาศาลที่ถูกอัดฉีดเข้ามาในระบบเศรษฐกิจ จากการดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายของธนาคารกลางทั่วโลก รวมถึงอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำมาก ทำให้ค่า PER ที่เหมาะสมของตลาดถูกปรับขึ้นสูงกว่าในอดีต รวมทั้งการพัฒนาวัคซีนก็ยังดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง ทำให้แม้ตลาดหุ้นจะถูกกดดันจากปัจจัยลบระยะสั้น แต่ในระยะกลาง คาดว่าตลาดหุ้นน่าจะมีแนวโน้มปรับตัวขึ้นได้

สรุปภาวะตลาดหุ้นช่วงเดือนธันวาคม 2563 SET Index ปิดที่ 1,449.35 จุด ปรับตัวขึ้น 41.04 จุด หรือ 2.9% จากสิ้นเดือนพฤศจิกายน 2563 ตลาดหุ้นไทยปรับขึ้นด้วยความคาดหวังที่ล่วงหน้าไปมาก ขณะที่ปัจจัยพื้นฐานและประมาณการกำไรตลาดยังไม่ได้มีพัฒนาการเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญมากนัก ประกอบกับการเผชิญกับปัจจัยลบจากการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 รอบใหม่ และการปรับตัวขึ้นอย่างมากของหุ้น DELTA ที่ทำให้กลายเป็นหุ้นที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 3 ของตลาดหุ้นไทย ส่งผลให้ SET Index เกิดความผันผวนอย่างรุนแรงในเดือนธันวาคมโดยกลุ่มอุตสาหกรรมหลักที่ให้ผลตอบแทนสูงที่สุด (รวมเงินปันผล) ได้แก่ กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ 77.2% กลุ่มเงินทุนและหลักทรัพย์ 11.2% กลุ่มปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ 7.7% ในขณะที่กลุ่มอุตสาหกรรมหลักที่ให้ผลตอบแทนต่ำที่สุด (รวมเงินปันผล) ได้แก่ กลุ่มบริการรับเหมาก่อสร้างและกลุ่มพาณิชย์ -4.0% เท่ากัน กลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม -3.7% นอกจากนี้ ในเดือนธันวาคม นักลงทุนต่างชาติและนักลงทุนทั่วไปในประเทศซื้อหุ้นไทยสุทธิ 2,520.67 ล้านบาท และ 18,305.44 ล้านบาท ตามลำดับ โดยนักลงทุนต่างชาติมีการเพิ่มสัดส่วนการถือครองในหุ้นกลุ่มธนาคารและปิโตรเคมี แต่ลดการถือครองในกลุ่มพลังงาน อสังหาริมทรัพย์ และขนส่ง ขณะที่นักลงทุนสถาบันในประเทศและบัญชีหลักทรัพย์ขายหุ้นไทยสุทธิ 18,497.25 และ 2,328.85 ล้านบาท ตามลำดับ ทำให้ยอดการซื้อขายสะสมของปี 2563 นักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อหุ้นไทยสุทธิ 33,455.77 ล้านบาท บัญชีหลักทรัพย์ซื้อหุ้นไทยสุทธิ 14,221.33 ล้านบาท นักลงทุนต่างชาติขายหุ้นไทยสุทธิ 264,385.79 ล้านบาท และนักลงทุนทั่วไปในประเทศซื้อหุ้นไทยสุทธิ 216,708.69 ล้านบาท

ภาวะตลาดหุ้นไทย – พฤศจิกายน 2563

SET Index ปรับตัวขึ้น +17.9% สู่ระดับ 1,408.31 จุด เนื่องจากการประกาศผลการเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการของสหรัฐฯและความคืบหน้าของวัคซีนป้องกัน COVID-19 ขณะที่ความเสี่ยงหลายประเด็นยังคงอยู่ ประกอบด้วยการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ที่ยังคงลุกลามจนเป็นการแพร่ระบาดรอบที่ 2 หรือ Second Wave ในหลายประเทศ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเฟส 4 ของสหรัฐฯที่ยังไม่ชัดเจน และปัญหาการเมืองภายในประเทศ

ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐฯอย่างไม่เป็นทางการ บ่งชี้ว่านาย Joe Biden ได้เป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯคนที่ 46 และพรรค Democrat ครองเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร ในขณะที่พรรค Republican ที่ครองเสียงข้างมากในวุฒิสภา ในกรณีนี้จะทำให้การออกนโยบายที่เข้มงวดของ Biden เป็นไปได้ยากมากขึ้น และก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อขนาดของนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ เฟส 4 ซึ่งอาจลดลงมาอยู่ที่ 1 ล้านล้านเหรียญฯ (ต่ำกว่ากรณี Blue Wave หรือ Democrat ชนะการเลือกตั้งทั้งหมด ที่น่าจะมีวงเงิน 2.2 ล้านล้านเหรียญฯ) อย่างไรก็ตาม นโยบายของ Biden ค่อนข้างเป็นบวกต่อเอเชีย ในเชิงของนโยบายการค้าที่เข้มงวดน้อยกว่า และเป็นระเบียบแบบแผนมากกว่าในสมัยของ Trump ประกอบกับนโยบายของ Biden อาจทำให้เศรษฐกิจของสหรัฐฯฟื้นตัวช้านั้น จะเพิ่มความน่าสนใจต่อการลงทุนในเอเชีย นอกจากนี้ การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 รุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่องในหลายประเทศ โดยเฉพาะสหรัฐฯและหลายประเทศในทวีปยุโรป ซึ่งเห็นได้จากยอดผู้ติดเชื้อรายวันในสหรัฐฯ และยุโรปที่อยู่ในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง ทำให้หลายประเทศได้มีการประกาศใช้มาตรการป้องกันที่เข้มงวดอีกครั้ง ส่งผลให้ยอดผู้ติดเชื้อรายวันในยุโรปชะลอตัวลง แต่ปัจจุบันประเทศในแถบยุโรปและสหรัฐฯเข้าสู่ช่วงฤดูหนาวและเทศกาลหยุดยาวช่วงปลายปีที่จะมีการเดินทางและจัดงานรื่นเริงมากขึ้น ซึ่งอาจส่งผลให้ยากต่อการควบคุมการระบาด อย่างไรก็ตาม ในเดือนที่ผ่านมามีความคืบหน้าของวัคซีนป้องกัน COVID-19 อย่างมาก ประกอบด้วยวัคซีนของบริษัท Pfizer ที่พัฒนาร่วมกับ BioNTech ที่มีประสิทธิภาพป้องกัน COVID-19 ถึง 95% และได้ยื่นต่อ FDA เพื่อพิจารณาใช้เป็นกรณีฉุกเฉินแล้ว วัคซีนของบริษัท Moderna มีประสิทธิภาพป้องกัน COVID-19 ถึง 94.5% และสามารถจัดเก็บได้ที่อุณหภูมิ 2 ถึง 8 องศาเซลเซียส ได้ถึง 30 วัน ทำให้สะดวกต่อการขนส่ง และบริษัท AstraZeneca ที่พัฒนาวัคซีนร่วมกับมหาวิทยาลัย Oxford เปิดเผยผลการทดลองวัคซีนมีประสิทธิภาพต้าน COVID-19 ได้ 90% และสามารถป้องกัน COVID-19 ได้ในทุกช่วงอายุ ความคืบหน้าของวัคซีนที่กล่าวข้างต้นเพิ่มความคาดหวังต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ทำให้ค่าเงินดอลล่าร์ ในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยอ่อนค่าลง ส่งผลให้ Fund Flows ไหลเข้าเอเชียอย่างมากในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา โดยมีเงินไหลเข้าทวีปเอเชีย 14,651 ล้านเหรียญฯ และการกลับมาซื้อสุทธิในไทย 1,225 ล้านเหรียญฯ หลังจากมีการขายสุทธิ 15 เดือนติดต่อกัน ทว่า ปัจจัยภายในประเทศยังคงมีแรงกดดันจากความเสี่ยงทางการเมือง หลังรัฐสภาไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน และยังมีการชุมนุมทางการเมืองอย่างต่อเนื่อง สะท้อนอุณหภูมิทางการเมืองสูงขึ้น กดดันจิตวิทยาการลงทุน

อย่างไรก็ตาม ด้วยปริมาณเงินจำนวนมหาศาลที่ถูกอัดฉีดเข้ามาในระบบเศรษฐกิจจากการดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายของธนาคารกลางทั่วโลก รวมถึงอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำมาก ทำ ให้ค่า PER ที่เหมาะสมของตลาดถูกปรับขึ้นสูงกว่าในอดีต รวมทั้งการพัฒนาวัคซีนก็ยังดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง ที่ทำให้มีโอกาสจะเห็นการผลิตวัคซีนได้ในหลายประเทศในช่วงปลายปีนี้ถึงต้นปีหน้า ทำให้แม้ตลาดหุ้นจะถูกกดดันจากปัจจัยลบระยะสั้น แต่ในระยะกลาง ตลาดหุ้นน่าจะมีแนวโน้มปรับตัวขึ้นได้

สรุปภาวะตลาดหุ้นช่วงเดือนพฤศจิกายน 2563 SET Index ปิดที่ 1,408.31 ปรับตัวขึ้น 213.36 จุด หรือ 17.9% จากสิ้นเดือนตุลาคม 2563 โดยกลุ่มอุตสาหกรรมหลักที่ให้ผลตอบแทนสูงที่สุด (รวมเงินปันผล) ได้แก่ กลุ่มปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ 37.4% กลุ่มธนาคาร 28.9% กลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ 28.2% กลุ่มพลังงานและสาธารณูปโภค 25.0%และกลุ่มยานยนต์ 22.4% ในขณะที่กลุ่มธุรกิจการเกษตร -9.9% ให้ผลตอบแทนติดลบเพียงกลุ่มเดียวในเดือนพฤศจิกายน นอกจากนี้ ในเดือนพฤศจิกายน บัญชีหลักทรัพย์และนักลงทุนต่างชาติซื้อหุ้นไทยสุทธิ 12,347.98 ล้านบาทและ 32,643.75 ล้านบาท ตามลำดับ  ขณะที่นักลงทุนสถาบันในประเทศและนักลงทุนทั่วไปในประเทศ ขายหุ้นไทยสุทธิ 3,104.28 และ 41,887.45 ล้านบาท ตามลำดับ ทำให้ยอดการซื้อขายสะสมตั้งแต่ต้นปี 2563 ถึงปัจจุบัน นักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อหุ้นไทยสุทธิ 51,953.03 ล้านบาท บัญชีหลักทรัพย์ซื้อหุ้นไทยสุทธิ 16,550.19 ล้านบาท นักลงทุนต่างชาติขายหุ้นไทยสุทธิ 266,906.46 ล้านบาท และนักลงทุนทั่วไปในประเทศซื้อหุ้นไทยสุทธิ 198,403.25 ล้านบาท

ภาวะตลาดตราสารหนี้ไทย – พฤศจิกายน 2563

ธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) มีมติเป็นเอกฉันท์คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย Federal Funds Rate ไว้ที่ 0-0.25% และระบุว่าจะคงอยู่ที่ระดับดังกล่าวจนกว่าประเมินว่าตลาดแรงงานอยู่ในระดับการจ้างงานเต็มอัตรา เงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นสู่ระดับ 2% และเกินระดับดังกล่าวพอสมควรเป็นระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งแนวโน้มของดอกเบี้ยหรือ Dot Plot ล่าสุด (เดือน ก.ย.) ชี้ว่า FED จะคงดอกเบี้ยไว้ที่ระดับดังกล่าวไปจนถึงปี 2023 เป็นอย่างน้อย นอกจากนี้ยังคงระดับการเข้าซื้อสินทรัพย์อย่างน้อยในอัตราปัจจุบันที่ USD120bn ต่อเดือน แบ่งเป็นพันธบัตรรัฐบาลเดือนละ USD80bn และตราสารหนี้ที่มีสินเชื่อที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกันซึ่งออกโดยหน่วยงานภาครัฐเดือนละ USD40bn ถ้อยแถลงในรายงานการประชุมครั้งนี้ไม่แตกต่างจากการประชุมรอบก่อนในเดือน ก.ย. นัก โดยระบุว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจและตลาดแรงงานได้ฟื้นตัวต่อเนื่อง แต่ยังคงต่ำกว่าระดับตอนต้นปีก่อน COVID-19 ส่วนอุปสงค์ที่อ่อนแอและราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลงก่อนหน้านี้ได้กดดันอัตราเงินเฟ้อ ด้านสภาวะทางการเงินยังคงมีความผ่อนคลาย ส่วนหนึ่งสะท้อนผลดีของการดำเนินนโยบายต่าง ๆ ที่ช่วยหนุนเศรษฐกิจและการเข้าถึงเงินกู้ของภาคธุรกิจและครัวเรือน โดยแนวโน้มของเศรษฐกิจต่อจากนี้ยังคงขึ้นอยู่กับพัฒนาการของ COVID-19 เป็นสำคัญ ซึ่งปัจจัยดังกล่าวจะยังกดดันกิจกรรมทางเศรษฐกิจ การจ้างงาน รวมทั้งเงินเฟ้อในระยะใกล้ และนับเป็นความเสี่ยงต่อแนวโน้มเศรษฐกิจในระยะกลาง

ทางด้านคณะกรรมการนโยบายการเงินของไทย (MPC) มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 0.50% ตามที่ตลาดคาด โดยแสดงความเห็นว่า GDP ไตรมาส 3 ขยายตัวดีกว่าคาด แต่มีแนวโน้มฟื้นตัวช้าและแตกต่างกันมากระหว่างภาคเศรษฐกิจต่าง ๆ ซึ่งประเมินว่าจะต้องใช้เวลาอีกไม่ต่ำกว่า 2 ปีจึงจะทำให้เศรษฐกิจกลับเข้าสู่ภาวะปกติ โดยมีประเด็นสำคัญที่ต้องติดตามคือ สินเชื่อภาคธุรกิจที่ยังกระจายตัวไม่ทั่วถึง เงินบาทที่แข็งค่าอย่างรวดเร็วจากเงินลงทุนต่างชาติไหลเข้ามายังภูมิภาคหลังการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ และข่าวดีของการพัฒนาวัคซีน และรายได้แรงงานยังอยู่ในระดับต่ำและเปราะบางโดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบอาชีพอิสระในภาคบริการ หลังจากนั้นในช่วงปลายสัปดาห์ ธปท. ได้ประกาศมาตรการผ่อนคลายเกณฑ์การลงทุนในต่างประเทศและการฝากเงินในบัญชีเงินตราต่างประเทศ (FCD) จากเดิมที่มีแผนประกาศในช่วงต้นปี 2021 เพื่อลดแรงกดดันเงินบาทแข็งค่า และจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างในระยะยาวมากกว่า

ทางด้านตัวเลขเศรษฐกิจของไทย เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 3 หดตัว -6.4% yoy ดีกว่าที่ตลาดคาดไว้ที่ -8.8% yoy และหดตัวในอัตราที่ชะลอลงจากไตรมาสก่อน (-12.1% ไตรมาสก่อน) ซึ่งเป็นผลจากการผ่อนปรนมาตรการ Lockdown อย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ต้นเดือนพ.ค. นอกจากนี้ สศช. ได้มีการปรับประมาณการเศรษฐกิจไทยในปีนี้ขึ้น จากเดิมคาด GDP หดตัวในช่วง -7.8% ถึง -7.3% ดีขึ้นเป็น -6.0% จากการคาดการณ์การบริโภคภาคเอกชนที่ดีขึ้นจากเดิมมาก ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากมาตรการกระตุ้นการบริโภคในประเทศที่เริ่มดำเนินการตั้งแต่ช่วงปลายเดือน ต.ค. นอกจากนี้ สศช. ยังได้คาดการณ์ว่า GDP ปี 2021 จะขยายตัวในช่วง 3.5%- 4.5%

ภาวะตลาดตราสารหนี้ไทยในเดือนนี้ ภาพรวมเส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลตลอดทั้งเส้นมีการเปลี่ยนแปลงทั้งขึ้นและลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นทั้งในตลาดแรกและตลาดรองปรับลดลงมากจากเดือนก่อนสืบเนื่องมาจากการเข้ามาซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติ โดยในสัปดาห์สุดท้ายของเดือน ผลการประมูลพันธบัตรรัฐบาลอายุ 14 วัน, 3 เดือน และ 6 เดือน อัตราผลตอบแทนเฉลี่ยอยู่ที่ 0.3645%, 0.3971% และ 0.4963% ต่อปี ตามลำดับ ลดลงจากช่วงสิ้นเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 0.50%, 0.4894% และ 0.5478% ต่อปี ตามลำดับ การซื้อขายพันธบัตรรัฐบาลของนักลงทุนต่างชาติในเดือนนี้เป็นการซื้อสุทธิประมาณ 31.8 พันล้านบาท โดยแบ่งเป็นการซื้อสุทธิพันธบัตรระยะสั้น 10.4 พันล้านบาท ซื้อสุทธิพันธบัตรระยะยาว 24.9 พันล้านบาท เมื่อหักพันธบัตรที่ครบกำหนดแล้ว คงเหลือการถือครองพันธบัตรรัฐบาลรวมประมาณ 8.83 แสนล้านบาท หรือลดลงจากปีที่ผ่านมาประมาณ 3.4 หมื่นล้านบาท

ตารางเปรียบเทียบอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยและสหรัฐ

ภาวะตลาดตราสารหนี้ไทย – ตุลาคม 2563

การประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) มีมติให้คงนโยบายการเงินเดิมทั้งเป้าอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นและยาว ได้แก่ มีมติ 8 ต่อ 1 ในการคงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นไว้ที่ -0.1% สำหรับเงินสำรองส่วนเกินของธนาคารพาณิชย์ (Excess Reserve) คงเป้าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี (Yield Curve Control: YCC) ไว้ที่ประมาณ “0%” และเคลื่อนไหวในกรอบ +/-0.2% และคงเป้าการเข้าซื้อสินทรัพย์ต่าง ๆ ที่ประกาศก่อนหน้านี้ ได้แก่ วงเงินการเข้าซื้อ ETFs และ REITs ต่อปีที่ JPY12trn และ JPY180bn ตามลำดับ และยังระบุจะเข้าซื้อในอัตราที่เหมาะสมตามสภาวะของตลาด วงเงินการเข้าซื้อตราสารหนี้เอกชนระยะสั้น (Commercial Paper) และยาว (Corporate Bonds) รวมกันต่อปีที่ JPY20trn จนถึงเดือน มี.ค. 2021 ยกเลิกเพดานการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลจากเดิมที่กำหนด JPY80trn ต่อปี และวงเงินโครงการเงินกู้ปลอดดอกเบี้ย (Special Funds-Supplying Operations) ที่ให้สถาบันการเงินนำไปปล่อยกู้ให้กับภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 มูลค่า JPY90trn ในส่วนของเศรษฐกิจ BOJ คาดว่า GDP ปีงบประมาณ 2020F จะหดตัวเพิ่มขึ้นเป็น -5.5% จากประมาณการครั้งก่อนในเดือนก.ค. ที่ -4.7% จากอุปสงค์ในภาคบริการที่อ่อนแอกว่าที่คาด ขณะที่คาด GDP ปีงบประมาณ 2021F จะขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็น 3.6% จากเดิมที่คาด 3.3% ทางด้านเงินเฟ้อประมาณการไม่เปลี่ยนแปลงจากรอบก่อนนัก โดยคาดว่าเงินเฟ้อจะหดตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเป็น -0.6% ในปีงบประมาณ 2020F จากการประมาณการครั้งก่อนที่ -0.5% และจะฟื้นตัวขึ้นเป็น 0.4% ในปีงบประมาณ 2021F แต่ยังคงห่างไกลเป้าหมายเงินเฟ้อที่ 2% อย่างมาก สะท้อนได้ว่านโยบายการเงินจะยังคงผ่อนคลายเป็นระยะเวลานาน

ทางด้านการประชุมนโยบายการเงินในช่วงปลายเดือนของธนาคารกลางยุโรป (ECB) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ได้แก่ อัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่ -0.5% อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ Marginal Lending Facility ที่ 0.25% และอัตราดอกเบี้ย Main Refinancing Operations ที่ 0.00% พร้อมทั้งคงวงเงินมาตรการซื้อสินทรัพย์ Pandemic Emergency Purchase Program (PEPP) ที่ 1.35 ล้านล้านยูโร และยืนยันว่าจะเข้าซื้อสินทรัพย์ตามมาตรการ PEPP อย่างน้อยจนถึงเดือนมิถุนายน 2021 ด้านมุมมองต่อเศรษฐกิจ ประธาน ECB แถลงว่า GDP ยูโรโซนในไตรมาส 3 จะออกมาดีกว่าที่ตลาดคาด แต่แนวโน้ม GDP ไตรมาส 4 มีความเสี่ยงที่จะอ่อนแอลง เนื่องจากเศรษฐกิจส่งสัญญาณอ่อนแอลงมาตั้งแต่เดือนกันยายน และมีแนวโน้มย่ำแย่ลงมากในเดือนพฤศจิกายนจากมาตรการควบคุมการระบาดที่เข้มงวดขึ้นในยุโรป นอกจากนี้ยังส่งสัญญาณผ่อนคลายมาตรการเพิ่มเติมในการประชุมครั้งต่อไปในเดือนธันวาคม และจะพิจารณาเครื่องมือต่าง ๆ ที่เหมาะสมในการขยายมาตรการผ่อนคลายเพิ่มเติม เพื่อลดทอนผลกระทบจากการระบาดของ Covid-19

ภาวะตลาดตราสารหนี้ไทยในเดือนนี้ เส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลตลอดทั้งเส้นมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า จากการคลายความกังวลต่อปริมาณพันธบัตรรัฐบาลที่จะเสนอขายซึ่งสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะได้เปิดเผยแผนการออกประมูลพันธบัตรรัฐบาลไตรมาส 1 ปีงบประมาณ 2021 ในเบื้องต้นที่มีปริมาณน้อยกว่าที่ตลาดคาด ทางด้านปริมาณการซื้อขายพันธบัตรรัฐบาลของนักลงทุนต่างชาติในเดือนนี้เป็นการขายสุทธิเล็กน้อย คิดเป็นประมาณ 4.8 พันล้านบาท โดยแบ่งเป็นการขายสุทธิพันธบัตรระยะสั้น 3.3 พันล้านบาท ซื้อสุทธิพันธบัตรระยะยาว 1.5 พันล้านบาท เมื่อหักพันธบัตรที่ครบกำหนดแล้ว คงเหลือการถือครองพันธบัตรรัฐบาลรวมประมาณ 8.44 แสนล้านบาท หรือลดลงจากปีที่ผ่านมาประมาณ 7.3 หมื่นล้านบาท

ตารางเปรียบเทียบอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยและสหรัฐ

ภาวะตลาดหุ้นไทย -ตุลาคม 2563

SET Index ปรับตัวลดลง -3.4% สู่ระดับ 1,194.95 จุด ซึ่งเป็นระดับต่ำที่สุดในรอบกว่า 6 เดือน นับตั้งแต่เดือน เมษายน 2563 เป็นต้นมา เนื่องจากตลาดยังขาดปัจจัยสนับสนุนใหม่ๆ ท่ามกลางความเสี่ยงหลายประเด็นที่ยังคงอยู่ ประกอบด้วยการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ที่ยังคงลุกลามจนเป็นการแพร่ระบาดรอบที่ 2 หรือ Second Wave ในหลายประเทศ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเฟส 4 ของสหรัฐฯ ที่ยังไม่ชัดเจน และปัญหาการเมืองภายในประเทศ

การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 รุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่องในหลายประเทศ โดยเฉพาะสหรัฐฯ และหลายประเทศในทวีปยุโรป เห็นได้จากยอดผู้ติดเชื้อรายวันในสหรัฐฯ และยุโรปที่เพิ่มขึ้นทำสถิติสูงสุดใหม่ ทำให้หลายประเทศประกาศใช้มาตรการป้องกันที่เข้มงวดอีกครั้ง เช่น ประเทศฝรั่งเศสประกาศเคอร์ฟิวคิดเป็นประชากรกว่า 70% จากประชากรทั้งหมด ประเทศอังกฤษประกาศยกระดับการเตือนภัยในกรุงลอนดอนและเมืองลิเวอร์พูลสู่ระดับสูงจากระดับปานกลาง ประเทศเยอรมนีกำลังพิจารณาการ Lockdown อีกครั้ง โดยจะสั่งปิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจทุกอย่าง ยกเว้นโรงเรียนและร้านค้าที่จำเป็น ซึ่งเป็นการ Lockdown ในระดับใกล้เคียงกับการระบาดครั้งแรก นอกจากนี้ ประเทศสเปนได้ออกมายอมรับการเข้าสู่การแพร่ระบาดรอบที่ 2 โดยสมบูรณ์ ซึ่งปัจจุบันประเทศในแถบยุโรปและสหรัฐฯ กำลังเข้าสู่ช่วงฤดูหนาว ซึ่งจะส่งผลให้ยากต่อการควบคุมการระบาด ประกอบกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเฟส 4 ของสหรัฐฯ ที่ยังไม่ชัดเจน แม้ทำเนียบขาวได้ยื่นข้อเสนอครั้งใหม่ เพื่อเพิ่มวงเงินสู่ระดับ 1.8 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่ยังคงต่ำกว่าวงเงินที่พรรค Democrat ต้องการที่ 2.2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งทั้งสองฝ่ายยังคงเจรจากันอย่างต่อเนื่องแต่ยังไม่ได้ข้อสรุปที่ชัดเจน ขณะที่ FED ยังคงเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการใช้มาตรการทางการคลัง หากต้องการให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ ฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้น ความเร็วในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะขึ้นอยู่กับกรอบเวลาและวงเงินของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์ว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเฟส 4 จะถูกอนุมัติหลังการเลือกตั้งประธานาธิบดีที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 3 พฤศจิกายน 2563 ทั้งสองปัจจัยที่กล่าวข้างต้นส่งผลทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกได้รับผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ ทำให้กดดันตลาดสินทรัพย์เสี่ยง รวมถึงราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวลงอย่างต่อเนื่องในเดือนที่ผ่านมา เป็นผลมาจาก Demand ที่มีแนวโน้มชะลอตัว ส่งผลให้หุ้นในกลุ่มพลังงานปรับตัวลดลง ส่วนปัจจัยภายในประเทศ ความไม่แน่นอนทางการเมืองเพิ่มขึ้นจากการชุมนุมเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีลาออกจากตำแหน่งและการเรียกร้องให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน ทำให้เงินลงทุนไหลออกจากประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง

อย่างไรก็ตาม ด้วยปริมาณเงินจำนวนมหาศาลที่ถูกอัดฉีดเข้ามาในระบบเศรษฐกิจจากการดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายของธนาคารกลางทั่วโลก รวมถึงอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำมาก ทำให้ค่า PER ที่เหมาะสมของตลาดถูกปรับขึ้นสูงกว่าในอดีต รวมทั้งการพัฒนาวัคซีนก็ยังดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีโอกาสจะเห็นการผลิตวัคซีนได้ในหลายประเทศในช่วงปลายปีนี้ถึงต้นปีหน้า ทำให้แม้ตลาดหุ้นจะถูกกดดันจากปัจจัยลบระยะสั้น แต่ในระยะกลาง ตลาดหุ้นน่าจะมีแนวโน้มปรับตัวขึ้นได้

สรุปภาวะตลาดหุ้นช่วงเดือนตุลาคม 2563 SET Index ปิดที่ 1,194.95 ปรับตัวลดลง 42.09 จุด หรือ -3.4% จากสิ้นเดือนกันยายน 2563 โดยกลุ่มอุตสาหกรรมหลักที่ให้ผลตอบแทนสูงที่สุด (รวมเงินปันผล) ได้แก่ กลุ่มธุรกิจการเกษตร 20.9% กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ 14.5% และเงินทุนและหลักทรัพย์ 5.7% ในขณะที่กลุ่มอุตสาหกรรมหลักที่ให้ผลตอบแทนต่ำที่สุด ได้แก่ กลุ่มการท่องเที่ยวและสันทนาการ -10.8% กลุ่มบริการรับเหมาก่อสร้าง -8.5% และกลุ่มพาณิชย์ -8.2% นอกจากนี้ ในเดือนตุลาคม บัญชีหลักทรัพย์และนักลงทุนทั่วไปในประเทศซื้อหุ้นไทยสุทธิ 1,891.02 ล้านบาทและ 33,100.23 ล้านบาท ตามลำดับ ขณะที่นักลงทุนสถาบันในประเทศและนักลงทุนต่างชาติขายหุ้นไทยสุทธิ 13,115.03 และ 21,876.22 ล้านบาท ตามลำดับ ทำให้ยอดการซื้อขายสะสมตั้งแต่ต้นปี 2563 ถึงปัจจุบันนักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อหุ้นไทยสุทธิ 55,057.30 ล้านบาท บัญชีหลักทรัพย์ซื้อหุ้นไทยสุทธิ 4,202.21 ล้านบาท นักลงทุนต่างชาติขายหุ้นไทยสุทธิ 299,550.21 ล้านบาท และนักลงทุนทั่วไปในประเทศซื้อหุ้นไทยสุทธิ 240,290.70 ล้านบาท