คณะกรรมการนโยบายการเงิน (FOMC) มีมติเป็นเอกฉันท์ (10-0) คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 1.50%-1.75% ตามที่ตลาดคาด และยังคงมองว่าอัตราดอกเบี้ยในระดับดังกล่าวมีความเหมาะสมในการสนับสนุนให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจขยายตัวอย่างยั่งยืน
คณะกรรมการนโยบายการเงิน (FOMC) มีมติเป็นเอกฉันท์ (10-0) คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 1.50%-1.75% ตามที่ตลาดคาด และยังคงมองว่าอัตราดอกเบี้ยในระดับดังกล่าวมีความเหมาะสมในการสนับสนุนให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจขยายตัวอย่างยั่งยืน
คณะกรรมการนโยบายการเงิน (FOMC) มีมติเป็นเอกฉันท์ (10-0) คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Federal Funds Rate) ที่ 1.50%-1.75% ตามที่ตลาดคาด โดยมองอัตราดอกเบี้ยในระดับดังกล่าวมีความเหมาะสมในการสนับสนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจให้ขยายตัวอย่างยั่งยืน
ธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) มีมติ 7 ต่อ 2 คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.75% ตามที่ตลาดคาด และยังคงเป้าหมายการเข้าซื้อพันธบัตรไว้ที่ 4.35 แสนล้านปอนด์
ธนาคารกลางยุโรป (ECB) มีมติคงนโยบายการเงินเดิมตามการคาดการณ์ส่วนใหญ่ของตลาด หลังจากที่ในการประชุมรอบก่อน (12 ก.ย.) ECB ได้ลดดอกเบี้ย Deposit facility rate ลง 10bps
ธนาคารกลางยุโรป (ECB) มีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ย Deposit Facility Rate ลง -10bps เป็น -0.5% ตามที่ตลาดคาด และคงอัตราดอกเบี้ย Main Refinancing Rate ที่ 0.0%
ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) กล่าวในการประชุมประจำปีของ Fed ที่ Jackson Hole ในวันศุกร์ที่ 23 ส.ค.ว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังขยายตัวได้ดี จากการบริโภคภาคเอกชนที่แข็งแกร่ง โดยได้แรงหนุนจากตลาดแรงงานและค่าจ้างที่เพิ่มขึ้น ซึ่งช่วยชดเชยการลงทุนภาคเอกชนและภาคการผลิตที่อ่อนแอ และย้ำว่าจะดำเนินนโยบายการเงินอย่างเหมาะสมเพื่อรักษาการขยายตัวทางเศรษฐกิจดังกล่าว ขณะที่ยอมรับว่าการปรับขึ้นภาษีนำเข้าสินค้า เศรษฐกิจโลกที่ชะลอลงและปัจจัยอื่น ๆ กำลังฉุดให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ ชะลอตัวลง นอกจากนี้ เขายังกล่าวว่า นโยบายการเงินแม้ว่าจะหนุนการใช้จ่ายของผู้บริโภค การลงทุนภาคเอกชนและเพิ่มความเชื่อมั่น แต่ก็ไม่สามารถแก้ปัญหาเรื่องการค้าระหว่างประเทศได้ โดย Fed ทำได้เพียงประเมินสถานการณ์และผลกระทบต่อมุมมองเศรษฐกิจ และปรับเปลี่ยนโยบายให้มีความเหมาะสมเท่านั้นเพื่อหนุนให้ตลาดแรงงานและเงินเฟ้อเป็นไปตามเป้าหมาย
ทางด้านตัวเลขเศรษฐกิจของไทยที่ประกาศในเดือนนี้ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) รายงานเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 2 ปี 2019 ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงมาอยู่ที่ 2.3% YoY อัตราการขยายตัวดังกล่าวเท่ากับที่ตลาดคาดไว้ และเป็นการขยายตัวต่ำที่สุดนับตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 ปี 2014 ทั้งนี้ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน GDP ขยายตัว 0.6% QoQ sa* ต่ำกว่าที่ตลาดคาดไว้ที่ 0.7% QoQ sa และน้อยกว่าไตรมาสก่อนที่ขยายตัว 1.0% QoQ sa นอกจากนี้ สศช. ยังลดคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยปีนี้ลงจากประมาณการเดิม 3.3%-3.8% เหลือเพียง 2.7%-3.2%
คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติ 5 ต่อ 2 เสียงให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายมาอยู่ที่ระดับ 1.50% นับเป็นการลดดอกเบี้ยนโยบายครั้งแรกในรอบมากกว่า 4 ปี ซึ่งผิดจากที่ตลาดคาดว่าจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ ภายหลังจากที่มีมติขึ้นดอกเบี้ยนโยบายไปเมื่อเดือนธันวาคมปีที่ผ่านมา โดยกนง. ประเมินว่าเศรษฐกิจของไทยโดยรวมมีแนวโน้มอ่อนแอมากกว่าที่คาด ปัจจัยสำคัญคือ ผลกระทบของนโยบายกีดกันทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนส่งผลให้การส่งออกของไทยหดตัวต่อเนื่อง และเริ่มส่งผลกระทบต่ออุปสงค์ในประเทศ รายได้ของครัวเรือนนอกภาคเกษตรและการจ้างงานลดลง สินเชื่อเพื่อธุรกิจและครัวเรือนชะลอลง โดยเฉพาะเมื่อนโยบายกีดกันการค้ารุนแรงและขยายวงกว้างมากขึ้น การลดดอกเบี้ยนโยบายจะช่วยสนับสนุนเศรษฐกิจและเอื้อให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ แถลงข่าวบ่งชี้ว่า กนง. มีแนวโน้มคงดอกเบี้ยในระดับปัจจุบันไปอีกระยะหนึ่ง ร่วมกับการใช้มาตรการกำกับดูแลสถาบันการเงิน (Micro prudential) และมาตรการดูแลเสถียรภาพระบบการเงิน (Macro prudential) มากขึ้น ทั้งนี้ คณะกรรมการอีก 2 ท่านมองว่าการลดดอกเบี้ยในช่วงที่นโยบายการเงินผ่อนคลายอยู่แล้วอาจไม่ช่วยสนับสนุนเศรษฐกิจเท่าที่ควร และยังคงให้ความสำคัญของการสร้างขีดความสามารถในการดำเนินนโยบายการเงิน (Policy space) มากกว่า
ภาวะตลาดตราสารหนี้ไทยในเดือนนี้ โดยรวมเส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับลดลงทั้งระยะสั้นและระยะยาว 24-54 Bps พันธบัตรระยะสั้นปรับลดลงตามการปรับลดของอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ในขณะที่พันธบัตรระยะยาวปรับลดลงตามตลาดต่างประเทศเป็นหลัก โดยเฉพาะในช่วงปลายเดือนที่เกิดความตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีนรุนแรงขึ้น หลังจีนประกาศขึ้นภาษีนำเข้าตอบโต้สหรัฐฯ และทางสหรัฐฯ ก็ประกาศตอบโต้จีนด้วยการเพิ่มอัตราภาษีนำเข้าสำหรับสินค้าจีนในกลุ่มที่ถูกปรับขึ้นภาษีไปแล้ว จนทำให้เกิดภาวะ Inverted Yield Curve ระหว่าง US Treasury อายุ 2 ปีและ 10 ปี ทางด้านอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยในช่วงวันที่ 20 ส.ค. มีการปรับตัวขึ้นเล็กน้อย จากการที่ผู้ลงทุนประเภทกองทุนรวมได้เริ่มเสียภาษีของการลงทุนในตราสารหนี้ นอกจากนี้ ในเดือนนี้นักลงทุนต่างชาติยังคงขายสุทธิประมาณ 3.46 หมื่นล้าน และเป็นการขายสุทธิต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้า แบ่งเป็นการขายสุทธิทั้งพันธบัตรระยะสั้นและพันธบัตรระยะยาวประมาณ 2.1 หมื่นล้าน และ 1.1 หมื่นล้าน ตามลำดับ เมื่อหักพันธบัตรที่ครบกำหนดอายุแล้วคงเหลือยอดรวมถือครองสุทธิของนักลงทุนต่างชาติ 9.39 แสนล้านบาท ซึ่งลดลงจากสิ้นปี 2018 ที่ถือครองจำนวน 9.86 แสนล้านบาท
ตารางเปรียบเทียบอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยและสหรัฐ
หมายเหตุ:
* QoQ sa (Quarter on Quarter Seasonally Adjusted) เป็นการวัดการเปลี่ยนแปลงที่ปรับผลกระทบจากปัจจัยฤดูกาลออกแล้ว
ในเดือนนี้มีการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของหลายประเทศสำคัญ เช่น ธนาคารกลางยุโรป (ECB) มีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมนโยบายการเงิน โดยคงอัตราดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์ที่ 0.0% อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ 0.25% อัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่ -0.40% และคงขนาดงบดุลของธนาคารกลาง อย่างไรก็ตาม ECB ได้ส่งสัญญาณผ่อนคลายนโยบายการเงินในระยะต่อไป โดยส่งสัญญาณถึงทิศทางอัตราดอกเบี้ยในระยะข้างหน้าว่า จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับปัจจุบันหรือลดระดับของอัตราดอกเบี้ยลงไปอย่างน้อยถึงช่วงกลางปี 2020 นอกจากนี้ ยังได้ทบทวนความเป็นไปได้ที่จะนำมาตรการซื้อสินทรัพย์ (Quantitative Easing – QE) กลับมาใช้ ทางด้านเศรษฐกิจ ได้ให้ความเห็นว่าเศรษฐกิจยูโรโซนอ่อนแอลง แม้ว่าการจ้างงานและอัตราค่าจ้างแรงงานที่สูงขึ้นยังสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา แต่แนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระยะข้างหน้ายังถูกกดดันจากวัฏจักรการค้าโลกซึ่งอยู่ในขาลง โดยเฉพาะความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ และนโยบายกีดกันทางการค้าที่ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจในภูมิภาค โดยเฉพาะผู้ประกอบกอบการในภาคอุตสาหกรรม นอกจากนี้ อัตราเงินเฟ้อในปัจจุบันและอัตราเงินเฟ้อคาดการณ์จะยังคงอ่อนแอต่อเนื่อง
ทางด้านธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) มีมติ 7 ต่อ 2 ให้คงมาตรการผ่อนคลายทางการเงินในการประชุมนโยบายการเงิน และส่งสัญญาณการผ่อนคลายนโยบายการเงิน โดยมีสาระสำคัญ คือ คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ -0.1% และควบคุมอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นอายุ 10 ปี ใกล้ระดับ 0% รวมทั้งคงปริมาณมาตรการการซื้อพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นที่ 80 ล้านล้านเยนต่อไป คง Forward guidance ว่าอัตราดอกเบี้ยจะคงอยู่ในระดับต่ำอย่างน้อยไปจนถึงช่วงไตรมาส 2 ของปี 2020 และส่งสัญญาณว่า BOJ พร้อมที่จะดำเนินมาตรการผ่อนคลายนโยบายการเงินเพิ่มเติม หากแนวโน้มที่เงินเฟ้อจะเข้าสู่เป้าหมายนั้นมีความเป็นไปได้ลดน้อยลง
ส่วนธนาคารกลางสหรัฐฯ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (FOMC) ได้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% มาอยู่ที่ 2.00%-2.25% โดยเป็นการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายครั้งแรกตั้งแต่ปี 2008 ด้วยมติ 8 ต่อ 2 ตามที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดหมายไว้ นอกจากนี้ยังยุติมาตรการลดขนาดงบดุล (Quantitative Tightening – QT) ในเดือนสิงหาคมซึ่งเร็วกว่ากำหนดเดิม 2 เดือน นายเจอโรม โพเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ กล่าวว่าการลดดอกเบี้ยครั้งนี้เป็นการปรับนโยบายในช่วงกลางของวัฏจักรดอกเบี้ยขาขึ้น (Mid-cycle Adjustment) จึงมิใช่เป็นจุดเริ่มต้นของวัฏจักรดอกเบี้ยขาลงยาวนาน แต่ก็ไม่ได้ปิดกั้นการลดดอกเบี้ยเพิ่มเติมเช่นกัน การลดอัตราดอกเบี้ยครั้งนี้จึงถือเป็นการบริหารจัดการความเสี่ยงภายนอกประเทศ อาทิ สงครามการค้าและการชะลอลงของเศรฐกิจโลก ที่อาจส่งผลกระทบต่อเนื่องมายังเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ปัจจุบันยังอยู่ในภาวะแข็งแรง รวมทั้งความกังวลต่อแนวโน้มเงินเฟ้อสหรัฐฯ ที่ต่ำ นอกจากนี้ คณะกรรมการฯ ได้ประเมินว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังขยายตัวได้อย่างแข็งแรงโดยเฉพาะในตลาดแรงงานของสหรัฐฯ การจ้างงานที่เพิ่มขึ้นทำให้อัตราการว่างงานลดลงมาอยู่ระดับต่ำสุดในรอบเกือบ 50 ปี และค่าจ้างแรงงานปรับสูงขึ้นโดยเฉพาะกลุ่มแรงงานรายได้ต่ำ ขณะที่ยังคงเน้นย้ำว่าความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจที่สำคัญนั้นมาจากปัจจัยต่างประเทศที่ส่งผลกระทบต่อทั้งการผลิตและการลงทุนภาคธุรกิจ สรุปได้ว่า ถ้อยแถลงของเฟดที่ยังมองว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ ขยายตัวได้ดีทำให้แนวโน้มนโยบายการเงินของสหรัฐฯ ในระยะต่อไปมีความไม่แน่นอน แม้ความเสี่ยงจากต่างประเทศ โดยเฉพาะสงครามการค้าจะยังกดดันภาวะตลาดการเงินของโลก แต่ประเมินว่าการตัดสินใจนโยบายของเฟดในระยะต่อไปน่าจะขึ้นอยู่กับภาวะเศรษฐกิจในประเทศ
ทางด้านเศรษฐกิจของไทย ธนาคารโลก (World Bank) คาดการณ์ในปีนี้จะขยายตัว 3.5% จากระดับเติบโต 4.1% ในปี 2018 (และเทียบกับคาดการณ์เดิมที่ 3.8%) เป็นผลจากจีดีพีไตรมาสแรกที่ขยายตัวต่ำกว่าระดับ 3% จากการลดลงของการลงทุนภาครัฐ และผลกระทบจากปัจจัยภายนอกประเทศที่กดดันกิจกรรมเศรษฐกิจไทย นอกจากนี้ ยังประเมินว่าความไม่แน่นอนของภาวะการเมืองที่ยืดเยื้อ นับว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญสำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในระยะข้างหน้า ซึ่งเกิดจากการรวมตัวกันของพรรคร่วมรัฐบาลหลายพรรค ซึ่งจะทำให้กระทบต่อความเชื่อมั่นและส่งผลให้เกิดความล่าช้าในโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐ ส่วนประเด็นความขัดแย้งด้านการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน จะทำให้ความต้องการสินค้าส่งออกจากไทยอ่อนแอลงต่อเนื่อง และกระทบต่อการลงทุนภาคเอกชนในส่วนที่เกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมส่งออก
ทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทยในเดือนนี้ นักลงทุนต่างประเทศกลับมาขายสุทธิพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นประมาณ 4.23 หมื่นล้าน คาดว่าเป็นผลจากการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยออกมาตรการป้องปรามการเก็งกำไรค่าเงินบาท โดยให้สถาบันการเงินคุมบัญชีเงินบาทของผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศและปรับปรุงเงื่อนไขการรายงานยอดคงค้างการถือครองตราสารหนี้ที่ออกในประเทศไทยของผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริง อย่างไรก็ตามนักลงทุนต่างประเทศยังคงซื้อพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวประมาณ 1.72 หมื่นล้าน เมื่อหักพันธบัตรที่ครบกำหนด ทำให้ยอดการถือครองในเดือนก.ค. ลดลงประมาณ 2.55 หมื่นล้านบาท ส่วนความเคลื่อนไหวของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล ในเดือนนี้มีทิศทางแตกต่างไปจากตลาดสหรัฐฯ ที่อัตราผลตอบแทนกลับมาปรับตัวขึ้นจากความไม่แน่นอนในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายแบบต่อเนื่อง ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยยังคงลดลงต่อโดยเฉพาะพันธบัตรอายุมากกว่า 10 ปี จากการคาดการณ์ความเป็นไปได้ในการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยและแรงซื้อสุทธิจากนักลงทุนต่างชาติ
ตารางเปรียบเทียบอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยและสหรัฐ
ธนาคารกลางยุโรป (ECB) มีมติคงนโยบายการเงินเดิมตามคาด เนื่องจากยังต้องเผชิญความไม่แน่นอนจากหลายปัจจัย ประกอบกับเงินเฟ้อที่ยังมีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าเป้าหมายที่ 2% ทำให้ ECB ส่งสัญญาณชะลอการปรับขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกออกไปอีก จากเดิมที่กล่าวว่าอัตราดอกเบี้ย (Refinancing rate ที่ 0.0% และ Deposit facility rate ที่ -0.4%) จะคงอยู่ที่ระดับต่ำไปจนถึงสิ้นปีนี้เป็นอย่างน้อยเป็นกลางปีหน้าเป็นอย่างน้อย โดยในการประชุมรอบนี้ ECB ได้ปรับเพิ่มประมาณการเศรษฐกิจปีนี้ขึ้นเล็กน้อย +0.1% เป็น 1.2% YoY จาก GDP ไตรมาส 1 ที่ออกมาดีกว่าคาด และปรับเงินเฟ้อปีนี้ขึ้นเล็กน้อย +0.1% เป็น 1.3% YoY แต่ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจปี 2020 ลง -0.2% เป็น 1.4% YoY และปรับเงินเฟ้อของปี 2020 ลง -0.1% เป็น 1.4% YoY สะท้อนโมเมนตัมทางเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มอ่อนแอลงต่อ นาย Mario Draghi ประธาน ECB ระบุว่า ECB พร้อมใช้เครื่องมือที่มีเพื่อช่วยหนุนเศรษฐกิจ หากชะลอตัวลงมากกว่าที่คาดจากความไม่แน่นอนที่ยังคงอยู่ทั้งการเจรจา Brexit และนโยบายกีดกันการค้าของสหรัฐฯ โดยนาย Draghi ระบุว่าคณะกรรมการได้มีการพูดถึงการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงเพิ่มเติมรวมถึงการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลหรือทำ QE อีกครั้ง
คณะกรรมการนโยบายการเงิน (FOMC) มีมติ 9-1 คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 2.25-2.50% ตามที่คาด นาย Jerome Powell ประธาน Fed ระบุว่าคณะกรรมการ Fed พร้อมทำทุกวิถีทางเพื่อให้เศรษฐกิจยังขยายตัวได้ดีต่อไป และคณะกรรมการ Fed หลายท่านมองความจำเป็นที่จะต้องผ่อนคลายนโยบายการเงินมีมากขึ้น ท่ามกลางความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจที่สูงโดยเฉพาะจากการเจรจาการค้า ขณะที่แรงกดดันเงินเฟ้อได้อ่อนแอลง โดย Fed ได้นำคำว่า “จะอดทนรอเพื่อประเมินสถานการณ์” ออกจากแถลงการณ์การประชุมรอบนี้ สะท้อนว่า Fed พร้อมที่จะปรับลดดอกเบี้ยลงในระยะใกล้ทันทีหากเศรษฐกิจและเงินเฟ้อมีแนวโน้มอ่อนแอลงกว่าที่คาด นอกจากนี้ยังได้ปรับลดคาดการณ์เงินเฟ้อ Core PCE ปีนี้ (-0.2% เป็น 1.8%) และปีหน้า (-0.1% เป็น 1.9%) ลงจากประมาณการครั้งก่อนในเดือนมี.ค. ขณะที่คงคาดการณ์ GDP ปีนี้ไว้ที่ 2.1% และปรับเพิ่มคาดการณ์ GDP ปีหน้าขึ้นเล็กน้อย +0.1% เป็น 2.0% อย่างไรก็ดี มีคณะกรรมการ Fed จำนวน 8 จากทั้งหมด 17 ท่านที่มองว่าควรปรับลดดอกเบี้ยลงในปีนี้เลย ซึ่งสะท้อนถึงโอกาสเพิ่มขึ้นที่จะลดดอกเบี้ยลงในปีนี้
ธนาคารกลางอังกฤษมีมติเป็นเอกฉันท์คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.75% ตามคาด โดยมองความเสี่ยงเพิ่มขึ้นจากปัจจัยทั้งภายในและภายนอกประเทศ ขณะที่เศรษฐกิจมีแนวโน้มชะลอลง และแรงกดดันเงินเฟ้ออ่อนแอ อย่างไรก็ดีหากอังกฤษแยกตัวออกจาก EU ไปแบบราบรื่น ก็จะทยอยปรับขึ้นดอกเบี้ยอย่างค่อยเป็นค่อยไปในช่วง 2-3 ปีข้างหน้า BoE ระบุสถานการณ์เศรษฐกิจโลกมีความไม่แน่นอนสูง โดยเฉพาะจากความตึงเครียดทางการค้าที่เพิ่มขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งแม้ผลกระทบต่อเศรษฐกิจทางตรงจะมีจำกัด แต่ผลกระทบทางอ้อมจากความเชื่อมั่นและสภาวะทางเงินนั้นน่ากังวล ขณะที่การเจรจา Brexit มีความไม่แน่นอนสูง โดยโอกาสที่อังกฤษจะแยกตัวออกจาก EU แบบไร้ข้อตกลง (No Deal) ได้มีสูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมา เช่นเดียวกับธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) ที่มีมติ 7-2 คงนโยบายผ่อนคลายการเงินเดิมตามที่คาด ได้แก่ คงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นไว้ที่ -0.1% สำหรับเงินสำรองส่วนเกินของธนาคารพาณิชย์ (Excess Reserves) บางส่วน คงเป้าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี (Yield Curve Control) ไว้ที่ “ประมาณ 0%” และเคลื่อนไหวในกรอบ +/- 0.2% คงอัตราการเข้าซื้อสินทรัพย์ที่ 80 ล้านล้านเยนต่อปี นอกจากนี้ BoJ ยังย้ำว่าอัตราดอกเบี้ยจะคงอยู่ที่ระดับต่ำยาวไปจนถึงกลางปี 2020 เป็นอย่างน้อย
ทางด้านคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ของไทยมีมติเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.75% ตามคาด กนง. เห็นว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าที่ประเมินไว้จากการส่งออกสินค้าและบริการเป็นสำคัญ และแสดงความกังวลค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นในระยะสั้นซึ่งไม่สอดคล้องกับปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ในการประชุมรอบนี้ กนง. ได้ปรับลดคาดการณ์ GDP ปี 2019 ลงเป็นครั้งที่สามเหลือ +3.3%YoY (จาก +3.8% ในเดือนมี.ค.และ +4.0% ในเดือนธ.ค.) ตามการส่งออกที่อ่อนแรงและการลงทุนภาครัฐที่ล่าช้า อย่างไรก็ดี กนง. ยังมองว่าภาวะเศรษฐกิจไทยจะปรับตัวดีขึ้นในปี 2020 ทั้งนี้ กนง. ยังคงมีความกังวลต่อหนี้ครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะสินเชื่อรถยนต์ โดยระบุว่าเสถียรภาพระบบการเงินยังจำเป็นที่จะต้องได้รับการดูแลด้วยอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่เหมาะสม มาตรการกำกับดูแลสถาบันการเงิน (Microprudential) และมาตรการดูแลเสถียรภาพระบบการเงิน (Macroprudential) ที่จะให้ความสำคัญเพิ่มขึ้นกับความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้
ทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทยในเดือนนี้ ต่อเนื่องเป็นเดือนที่สองที่นักลงทุนต่างประเทศซื้อสุทธิพันธบัตรรัฐบาลไทย แบ่งเป็นการซื้อสุทธิพันธบัตรระยะสั้น 3.8 หมื่นล้านบาท ซื้อสุทธิพันธบัตรระยะยาว 3.4 หมื่นล้านบาท เมื่อหักพันธบัตรที่ครบกำหนดแล้ว คงเหลือการซื้อสุทธิ 5.4 หมื่นล้านบาท หรือถือครองพันธบัตรรัฐบาลไทย 9.84 แสนล้านบาท ส่วนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยในเดือนนี้ยังคงได้รับอิทธิพลจากการปรับลดลงอย่างต่อเนื่องของ US Treasury Yield จากความกังวลสงครามการค้าและความผันผวนของตลาดหุ้น โดยทางฝั่งสหรัฐฯ เส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรปรับลดลงมา 0.08%-0.29 % ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยอายุไม่เกิน 1 ปีปรับลดลงเล็กน้อย และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวอายุ 3 ปีขึ้นไปปรับลดลงตามตลาดต่างประเทศ 0.10%-0.30 %
ตารางเปรียบเทียบอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยและสหรัฐ
คณะกรรมการนโยบายการเงิน (FOMC) ของประเทศสหรัฐฯ มีมติเป็นเอกฉันท์ (10-0) ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 2.25-2.50% ตามที่คาด โดยรายงานการประชุมระบุว่า Fed มองเศรษฐกิจโดยรวมขยายตัวได้ดีและตลาดแรงงานแข็งแกร่ง ในขณะที่เงินเฟ้อขยายตัวในระดับ “ต่ำกว่าเป้าหมายที่ 2%” ซึ่งเปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อนที่ระบุว่าขยายตัว “ใกล้เป้าหมายที่ 2%” หลังจากเงินเฟ้อ Core PCE ล่าสุดเดือน มี.ค. ลดลงมาอยู่ที่ 1.6% YoY นอกจากนี้ ภาวะเศรษฐกิจโลกและตลาดการเงินที่ยังไม่แน่นอน ประกอบกับแรงกดดันเงินเฟ้อที่อ่อนแอ ทำให้ Fed รอประเมินสถานการณ์ในระยะข้างหน้าก่อนที่จะตัดสินใจปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกครั้ง โดยมองว่าอัตราดอกเบี้ยที่ระดับปัจจุบันยังมีความเหมาะสม ทั้งนี้ Fed ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินสำรองของธนาคารพาณิชย์ (Interest on Excess Reserves: IOER) ลง -5bps เป็น 2.35% เพื่อควบคุมไม่ให้อัตราดอกเบี้ยในตลาดเงิน (Effective Fed Funds rate) ขยับเข้าใกล้กรอบบนของดอกเบี้ยนโยบายมากเกินไป ทางด้านนาย Jerome Powell ประธาน Fed กล่าวว่าเงินเฟ้อที่อ่อนแอในช่วงที่ผ่านมาเป็นผลจากปัจจัยชั่วคราวและไม่ได้ชี้ถึงความจำเป็นที่จะต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง นอกจากนี้ นาย Powell ระบุว่านโยบายการเงินตอนนี้มีความเหมาะสมและไม่เห็นความจำเป็นที่จะต้องปรับเปลี่ยนในตอนนี้ และยังมองว่าตลาดแรงงานที่แข็งแกร่งและเศรษฐกิจที่ยังขยายตัวได้ดี จะหนุนให้เงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นกลับเข้าสู่เป้าหมายที่ 2% ในระยะข้างหน้า
ทางด้านธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) มีมติเป็นเอกฉันท์คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.75% ตามคาด และย้ำว่าการปรับเปลี่ยนนโยบายขึ้นอยู่กับผลการเจรจา Brexit โดยในการประชุมรอบนี้ BOE ได้ปรับเพิ่มคาดการณ์ GDP ปี 2019-2021 ขึ้นเป็น 1.5% YoY, 1.6% YoY และ 2.1% YoY ตามลำดับ จากการบริโภคเอกชนซึ่งได้รับแรงหนุนจากตลาดแรงงานที่แข็งแกร่ง ขณะที่ปรับลดคาดการณ์เงินเฟ้อปี 2019-2020 ลงเป็น 1.6% YoY และ 2.0% YoY ตามลำดับจากราคาน้ำมันขายปลีก แต่ยังคงคาดเงินเฟ้อปี 2021 ที่ 2.1% YoY นอกจากนี้ หากเศรษฐกิจและเงินเฟ้อเป็นไปตามที่ได้คาดการณ์ การปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายก็มีความเหมาะสม เพื่อให้เงินเฟ้อขยายตัวที่เป้าหมาย 2% โดย BOE จะทยอยปรับขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป ทั้งนี้ พัฒนาการทางเศรษฐกิจนั้น ยังคงขึ้นอยู่กับผลการเจรจา Brexit ว่าจะออกมาในรูปแบบใด นาย Mark Carney ผู้ว่าการ BOE ระบุว่าหากรัฐบาลสามารถได้ข้อตกลง Brexit และออกจาก EU ไปแบบราบรื่น อัตราดอกเบี้ยก็มีแนวโน้มที่จะต้องปรับเพิ่มขึ้น และอาจปรับเพิ่มขึ้นมากกว่าที่ตลาดได้คาดการณ์ไว้
คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ของไทย มีมติเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.75% ตามที่ตลาดคาด โดยกนง. ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าที่ประเมินไว้จากการส่งออกและการลงทุน อย่างไรก็ดี คาดว่าการบริโภคภาคเอกชนจะขยายตัวต่อเนื่อง แต่ยังได้รับแรงกดดันจากการจ้างงานในภาคก่อสร้างและภาคการผลิตเพื่อส่งออกที่เริ่มทรงตัว กนง. มีความกังวลต่อหนี้ครัวเรือนที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะสินเชื่อรถยนต์ ดังนั้นมาตรการดูแลเสถียรภาพทางการเงินในระยะถัดไปจะต้องให้ความสำคัญกับความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้
ทางด้านตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญของไทย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) รายงาน GDP ไตรมาส 1/2019 ชะลอตัวลงเป็น +2.8% YoY เท่ากับที่ตลาดคาด จาก +3.6% YoY ในไตรมาสก่อน โดยเศรษฐกิจได้รับแรงกดดันจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอ ภาคการท่องเที่ยวที่ยังไม่ฟื้นตัว ความตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน เงินบาทที่แข็งค่า และความไม่แน่นอนทางการเมืองภายในประเทศ ขณะที่อุปสงค์ในประเทศยังขยายตัวดี นำโดยการบริโภคเอกชน (+4.6% YoY) และการลงทุนภาคเอกชน (+4.4% YoY) อย่างไรก็ดี การลงทุนภาครัฐยังคงอ่อนแอ (-0.1% YoY) ทั้งนี้ สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (NESDB) ปรับลดเป้า GDP ปี 2019 ลงเป็น 3.3-3.8% (จากเดิมที่ 3.5-4.5%)
สำหรับความเคลื่อนไหวของตลาดตราสารหนี้ไทย ในเดือนนี้เป็นเดือนแรกนับตั้งแต่ต้นปีที่นักลงทุนต่างประเทศซื้อสุทธิพันธบัตรรัฐบาลไทย แบ่งเป็นการซื้อสุทธิพันธบัตรระยะสั้น 1.03 หมื่นล้านบาท ซื้อสุทธิพันธบัตรระยะยาว 8.6 พันล้านบาท เมื่อหักพันธบัตรที่ครบกำหนดแล้ว คงเหลือการซื้อสุทธิ 1.34 หมื่นล้านบาท หรือถือครองพันธบัตรรัฐบาลไทย 9.37 แสนล้านบาท ซึ่งน้อยกว่าการถือครอง ณ สิ้นปีที่ผ่านมาที่ 9.86 แสนล้านบาท ทางด้านอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยในเดือนนี้ได้รับอิทธิพลจากการปรับลดลงอย่างมากของ US Treasury Yield จากความกังวลสงครามการค้าและความผันผวนของตลาดหุ้น โดยทางฝั่งสหรัฐฯ เส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรปรับลดลงมา 6-32 Bps โดยเฉพาะพันธบัตรระยะยาวมีการปรับลดลงมากกว่าพันธบัตรระยะสั้น ส่วนพันธบัตรรัฐบาลไทยอายุไม่เกิน 1 ปีปรับขึ้น 1-5Bps ในขณะที่พันธบัตรระยะยาวอายุ 5 ปีขึ้นไปปรับลดลงตามตลาดต่างประเทศ 6-17Bps
ตารางเปรียบเทียบอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยและสหรัฐ
ในเดือนนี้ตลาดสหรัฐฯ มีการเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจที่สะท้อนว่าตลาดแรงงานยังแข็งแกร่ง ได้แก่ การจ้างงานนอกภาคเกษตร เดือนมี.ค. เพิ่มขึ้น +1.96 แสนราย ดีกว่าตลาดคาดไว้ที่ +1.77 แสนราย ขณะที่อัตราการว่างงานทรงตัวในระดับต่ำที่ 3.8% เท่ากับเดือนก่อนและเท่ากับที่ตลาดคาด ส่วนค่าจ้างเฉลี่ยเพิ่มขึ้น +0.1% MoM แต่ต่ำกว่าตลาดคาดไว้ที่ +0.3% MoM และเดือนก่อนที่ +0.4% MoM ส่งผลให้เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ค่าจ้างชะลอตัวลงเป็น +3.2% YoY นอกจากนี้ในช่วงปลายเดือน มีการประกาศ GDP ไตรมาส 1/2019 ในเบื้องต้นว่าขยายตัว +3.2% เร่งขึ้นจาก +2.2% ในไตรมาสก่อน และสูงกว่าที่ตลาดคาดไว้อย่างมากที่ +2.3% อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจที่ขยายตัวดีกว่าคาดในไตรมาสนี้ เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของสินค้าคงคลัง และยอดส่งออกสุทธิ เป็นสำคัญ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนกว่าครึ่งหนึ่งของการขยายตัวของเศรษฐกิจในไตรมาสนี้
ทางด้านธนาคารกลางยุโรป (ECB) มีมติคงนโยบายการเงินเดิมตามคาด และย้ำว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Refinancing rate ที่ 0.0% และ Deposit facility rate ที่ -0.4%) จะคงอยู่ที่ระดับต่ำนี้ยาวไปจนถึงสิ้นปีนี้เป็นอย่างน้อย และจะซื้อคืนพันธบัตรที่ครบกำหนดอายุ (Reinvest) ต่อไปจนกว่าอัตราดอกเบี้ยจะถูกปรับเพิ่มขึ้นเป็นอย่างน้อย นาย Mario Draghi ประธาน ECB กล่าวว่าโมเมนตัมทางเศรษฐกิจอ่อนแอลงและเศรษฐกิจยังมีความเสี่ยงที่จะชะลอตัวลงต่อจากนี้ ขณะที่เงินเฟ้อมีแนวโน้มชะลอตัวลงต่อในระยะข้างหน้า (เงินเฟ้อเดือน มี.ค. ขยายตัว 1.4% YoY ยังห่างไกลจากเป้า 2% ค่อนข้างมาก) ซึ่งนาย Draghi ยังคงย้ำว่า ECB พร้อมที่จะปรับเปลี่ยนเครื่องมือทางการเงินที่มีอยู่เพื่อหนุนเศรษฐกิจและให้เงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นเข้าสู่เป้าหมายที่ 2%
ในการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางญี่ปุ่นหรือ BOJ ยังคงนโยบายผ่อนคลายทางการเงินเดิมตามที่ตลาดคาด ได้แก่ คงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นไว้ที่ -0.1% สำหรับเงินสำรองส่วนเกินของธนาคารพาณิชย์ (Excess Reserves) บางส่วน, คงเป้าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี (Yield Curve Control) ไว้ที่ “ประมาณ 0%” และคงอัตราเข้าซื้อสินทรัพย์ที่ 80 ล้านล้านเยนต่อปี BOJ ยังคงย้ำว่าอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นและยาวจะคงอยู่ที่ระดับต่ำนี้ต่อไปอีกจนถึงกลางปี 2020 เป็นอย่างน้อย นอกจากนี้ BOJ ยังได้ปรับเปลี่ยนมาตรการบางส่วนเล็กน้อยในเชิงเทคนิคเพื่อสนับสนุนให้สามารถใช้นโยบายที่ผ่อนคลายต่อไปได้ ส่วนตัวเลขเศรษฐกิจ BOJ ได้ออกประมาณการเงินเฟ้อไม่นับรวมอาหารสด (Core CPI) ของปีงบประมาณปี 2021 ซึ่งคาดว่าจะขยายตัว 1.6% YoY ยังคงต่ำกว่าเป้าหมายที่ 2% และปรับลดคาดการณ์ GDP ของปีงบประมาณ 2019 และ 2020 ลง -0.1ppt เป็น 0.8% YoY และ 0.9% YoY ตามลำดับ
สำหรับตลาดตราสารหนี้ไทยในเดือนนี้ นักลงทุนต่างประเทศขายสุทธิพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นประมาณ 9 พันล้านบาท และขายสุทธิพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวประมาณ 8.8 พันล้านบาท เมื่อรวมกับพันธบัตรที่ครบกำหนดแล้วเป็นการถือครองลดลงประมาณ 2.1 หมื่นล้านบาท และเป็นการถือครองลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 โดยสรุปนักลงทุนต่างชาติลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลไทย ณ สิ้นเดือนเม.ย. คงเหลือ 9.29 แสนล้านบาท ลดลงจาก ณ สิ้นปี 2018 ที่ 9.86 แสนล้านบาท ทางด้านอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลโดยรวมไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลงมากนัก มีเพียงอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อย 2-5 Bps ส่วนการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยอายุ 14 วัน ถึง 6 เดือน อัตราผลตอบแทนเฉลี่ยจากการประมูล มีทิศทางปรับขึ้นมาแตะระดับ 1.70% โดยในสัปดาห์สุดท้ายอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยรุ่น 14 วันอยู่ที่ 1.7053%, 3 เดือนที่ 1.7085% และ 6 เดือนที่ 1.7658%
ตารางเปรียบเทียบอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยและสหรัฐ